การประเมินความเสี่ยงและปรับปรุงสภาพการทำงานเพื่อลดความเสี่ยงด้านการยศาสตร์ ในขั้นตอนการทำลวดลายบนผืนผ้าไหมด้วยวิธีมัดหมี่ กรณีศึกษาหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ในจังหวัดบุรีรัมย์

ผู้แต่ง

  • กฤษดา เพ็งอารีย์ สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย สำนักวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
  • ลลิตา ชัยคำจันทร์ สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย สำนักวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
  • ปริดาลัก ศิริจันทร์ สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย สำนักวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
  • ชวาลา ตีตรา สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย สำนักวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

คำสำคัญ:

การยศาสตร์, ความเมื่อยล้าส่วนของร่างกาย, การปรับปรุงสภาพการทำงาน

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินอาการปวดเมื่อยล้าตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย 2) ประเมินความเสี่ยงด้านการยศาสตร์ท่าทางการมัดหมี่ และ 3) ปรับปรุงสภาพการทำงานเพื่อลดปัญหาความเสี่ยงด้านการยศาสตร์ของการมัดหมี่ ณ หมู่บ้านแห่งหนึ่งในจังหวัดบุรีรัมย์ กลุ่มตัวอย่างกรณีศึกษาจำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้วิเคราะห์ได้แก่ แบบประเมินอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย แบบประเมินความเสี่ยงด้านการยศาสตร์(RULA) และแบบประเมินความคิดเห็นและความพึงพอใจการก่อนและหลังปรับปรุงสภาพการทำงาน ผลการศึกษาพบว่า ในส่วนของร่างกายด้านซ้ายที่มีความรู้สึกเมื่อยล้ามากที่สุด 3 อันดับแรก คือ หลังส่วนล่างรองลงมา คอ สะโพกและต้นขา ตามลำดับ และด้านขวาส่วนที่มีความรู้สึกเมื่อยล้ามากที่สุด คือ หลังส่วนล่าง และสะโพกและต้นขา รองลงมา คอ ไหล่ ตามลำดับ จากสภาพการทำงานก่อนการปรับปรุงพบว่า ผู้ปฏิบัติงานจะนั่งกับพื้นในลักษณะการนั่งขัดสมาธิ ท่าทางการนั่งอยู่ในท่าเดิมเป็นระยะเวลานานส่วนมากนั่งหลังงอ และโน้มตัวไปด้านหน้า ก่อให้เกิดความเมื่อยล้า ผลการประเมินความเสี่ยงโดยวิธี RULA ทั้งด้านซ้ายและด้านขวามีระดับความเสี่ยงอยู่ในช่วง 5-6 คะแนน(ร้อยละ 100) หมายถึง งานนั้นเริ่มเป็นปัญหา ควรทำการศึกษาเพิ่มเติม และควรรีบปรับปรุง และหลังจากการปรับปรุงสภาพการทำงานโดยใช้โฮงมัดหมี่ที่สามารถปรับระดับขึ้น-ลงได้ จัดมีการใช้เก้าอี้ ตาข่ายพิงหลัง เบาะรองนั่ง และเบาะรองหลัง พบว่า ระดับความเสี่ยงทั้งด้านซ้ายและด้านขวามีระดับความเสี่ยงลดลง ซึ่งมีระดับความเสี่ยงอยู่ในช่วง 3-4 คะแนน (ร้อยละ 100) หมายถึง งานนั้นควรมีการศึกษาเพิ่มเติมและติดตามวัดผลอย่างต่อเนื่อง อาจจะจำเป็นที่จะต้องมีการออกแบบงานใหม่ สรุปได้ว่าการปรับปรุงสภาพการทำงานทำให้ความเสี่ยงด้านการยศาสตร์ลดลง และความเมื่อยล้าลดลงด้วย

References

จีรนันท์ ธีระธารินพงศ์, & วีระพร ศุทธากรณ์. (2557). ความชุกของกลุ่มอาการผิดปกติทางระบบโครงร่าง กล้ามเนื้อและปัจจัยด้านท่าทางการทำงานในกลุ่มอาชีพสานตะกร้าไม้ไผ่. วารสารสาธารณสุขศาสตร์, 44(3), 273-287.

นัชรี จิระนคร. (2555). ผ้าไหมยกทอง 1000 ตระกอ: กรณีศึกษากลุ่มผ้ายกทอง “จันทร์ โสมา” จังหวัดสุรินทร์. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณทิต บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

น้ำเงิน จันทรมณี, สสิธร เทพตระการพร, & ผกามาศ พิริยะประสาธน์. (2555). ปัญหาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อจากการทำงานของกลุ่มอาชีพการทอผ้าด้วยมือในเขตภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย. วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ, 7(24), 29-40.

พงศกร สุรินทร์, มนินทรา ใจคำปัน, กิตติพงษ์ ประสงค์การ, วุฒิไกร กันทะหมื่น, & อจลวิชญ์ แสนป่ง. (2559). การประเมินปัจจัยเสี่ยงท่าทางการทำงานในกระบวนการผลิตเส้นขนมจีน. วารสารวิชาการอคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาลัยราชภัฎลำปาง, 9(2), 59-70.

เพชรรัตน์ แก้วดวงดี, รุ้งทิพย์ พันธุเมธากุล, วัณทนา ศิริธราธิวัตร, ยอดชาย บุญประกอบ, สาวิตรี วันเพ็ญ, ภาณี ฤทธิ์มาก, และคณะ. (2554). ความชุกและปัจจัยด้านท่าทางการทำงานที่สัมพันธ์กับอาการปวดหลังส่วนล่างในกลุ่มอาชีพอุตสาหกรรมสิ่งทอ (แหอวน) จังหวัดขอนแก่น. ศรีนครินทร์เวชสาร, 26(4), 317-324.

ยุวดี จอมพิทักษ์, & สายใจ พินิจเวชการ. (2560). การประเมินความเสี่ยงด้านการยศาสตร์ในสถานที่ทำงานของผู้ปฏิบัติงานกับคอมพิวเตอร์. ค้นจาก https://bkkthon.ac.th/home/user_files/department/department-24/files/30.การประเมินความเสี่ยงด้านการยศาสตร์ในสถานที่ทำงานของผู้ปฏิ.pdf

วีรชัย มัฎฐารักษ์. (2554). การประเมินภาวะทางการยศาสตร์ของเกษตรกรชาวสวนยางพาราที่นวดยางแผ่นด้วยแรงงานคน และเครื่องนวดยางแผ่น. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา, 4(1), 654-663.

ศิริพร บุญชู, & นันทวรรณ รักพงษ์. (2555). ภูมิปัญญาการผลิตเส้นไหมไทยพื้นบ้านอีสาน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย

สุนิสา ชายเกลี้ยง, & ธัญญาวัฒน์ หอมสมบัติ. (2554). การประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์การทำงานโดยมาตรฐาน RULA ในกลุ่มแรงงานทำไม้กวาดร่มสุข. ศรีนครินทร์เวชสาร, 26(1), 35-40.

อรณิชา ยมเกิด, ปิยะวัฒน์ ตรีวิทยา, & นิวิท เจริญใจ (2558). การปรับปรุงท่าทางการนั่งทำงานของพนักงานในอุตสาหกรรมตีมีดด้วยหลักการยศาสตร์. วารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 22(3), 10-20.

Cameron, J. A. (1996). Assessing work-related body-part discomfort: current strategies and a behaviorally oriented assessment tool. International Journal of Industrial Ergonomics, 18(5-6), 389-398.

Choobineh, A. R., Soleimani, E., Daneshmandi, H., Mohamadbeigi, A., & Izadi, K. (2012). Prevalence of musculoskeletal disorders and posture analysis using RULA method in Shiraz general dentists in 2010. The Journal of Islamic Dental Association of IRAN, 24(4), 310-317.

Kumar, P., Chakrabarti, D., Patel, T., & Chowdhuri, A. (2016). Work-related pains among the workers associated with pineapple peeling in small fruit processing units of North East India. International Journal of Industrial Ergonomics, 53, 124-129.

Massaccesi, M., Pagnotta, A., Soccetti, A., Masali, M., Masiero, C., & Greco, F. (2003). Investigation of work-related disorders in truck drivers using RULA method. Applied ergonomics, 34(4), 303-307.

McAtamney, L., & Corlett, E. N. (1993). RULA: a survey method for the investigation of work-related upper limb disorders. Applied ergonomics, 24(2), 91-99.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-01-20