ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการกลับเป็นซ้ำของโรคเหา ในเด็กนักเรียนหญิง ระดับประถมศึกษาตอนต้น จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • เจษฎาภรณ์ แสนวัง คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ชนัญญา จิระพรกุล คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • เนาวรัตน์ มณีนิล คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

Head lice, relapsing, primary school female students

บทคัดย่อ

          โรคเหายังคงเป็นปัญหาที่สำคัญในกลุ่มเด็กนักเรียน หากติดเชื้อนานและกลับเป็นซ้ำจะทำให้ขาดประสิทธิภาพในการเรียน การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการกลับเป็นซ้ำของโรคเหาในเด็กนักเรียนหญิง

          การศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบ Case-Control study กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดจำนวน 246 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่กลุ่มศึกษา คือ ผู้ปกครองของนักเรียนหญิงที่ตรวจสอบพบประวัติการได้รับยาฆ่าเหา (Benzyl benzoate) แล้วพบการกลับมาเป็นโรคเหาซ้ำ ภายในระยะเวลา 1 ปี หลังจากการได้รับการรักษา จำนวน 123 คน และกลุ่มควบคุม คือ ผู้ปกครองของนักเรียนหญิงที่ตรวจสอบพบประวัติการได้รับยาฆ่าเหา (Benzyl benzoate) แล้วไม่พบการกลับมาเป็นโรคเหาซ้ำ ภายในระยะเวลา 1 ปี หลังจากการได้รับการรักษา จำนวน 123 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ วิเคราะห์หาความสัมพันธ์โดยใช้สถิติพหุถดถอยแบบโลจิสติก (Multiple Logistic regression) นำเสนอขนาดความสัมพันธ์ด้วยค่า Adjusted Odds Ratio (ORadj) และช่วงความเชื่อมั่น 95% และค่า p-value

          ผลการศึกษาพบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการกลับเป็นซ้ำของโรคเหาในเด็กนักเรียนหญิงประถมศึกษาตอนต้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ได้แก่ เด็กนักเรียนที่มีระดับผมยาว (ORadj = 9.79, 95% CI = 2.47-38.80, P-value = 0.002) เด็กนักเรียนที่ไม่เคยมีประวัติการใช้แชมพูฤทธิ์กำจัดเหา (ORadj = 31.71, 95% CI = 11.7-85.95, P-value < 0.001) ผู้ปกครองที่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ต่ำกว่าหรือเท่ากับ 8,000 บาท (ORadj = 5.97, 95% CI = 2.44-14.61, P-value < 0.001) และผู้ปกครองที่มีพฤติกรรมการป้องกันการกลับเป็นซ้ำของโรคเหาที่ไม่ดี (ORadj = 7.25, 95% CI = 3.25-16.14, P-value < 0.001)

          ดังนั้นผู้ปกครองและคุณครูประจำชั้นควรมีส่วนร่วมในการดูแลสุขวิทยาส่วนบุคคลของเด็กนักเรียนทุกคน การตรวจเส้นผมและหนังศีรษะทุกสัปดาห์ การให้ใช้แชมพูฤทธิ์กำจัดเหาในกลุ่มที่ติดเชื้อ โดยเฉพาะนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนต้นที่มีระดับผมยาว

 

คำสำคัญ: โรคเหา การกลับเป็นซ้ำ นักเรียนหญิงระดับประถมศึกษาตอนต้น

References

นิศาชล อนุสัย, นิภาพร สมประสงค์, เกศิณี หาญจังสิทธิ์, & แก้วใจ มาลีลัย. (2559). ระบาดวิทยาของโรคเหาในนักเรียนชั้นประถมศึกษา อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาสารคามวิจัย ครั้งที่ 12; 8-9 กันยายน 2559; มหาสารคาม.

ปรีณากร ดอมนิน. (2552). ผลของโปรแกรมสุขศึกษาที่มีต่อการป้องกันการเป็นเหาสำหรับนักเรียนประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พรรณพร ศรีเจริญล่ำชำ. (2561). โครงการพัฒนาเครือข่ายและสร้างแกนนำในการกำจัดเหาอย่างยั่งยืน. ค้นเมื่อ 20 กันยายน 2562, จาก http://203.155.220.238/csc/attachments/article/159/doctor610601.pdf

อรจุฑา ชยางศุ. (2562). โรคเหา การติดต่อ และการดูแลรักษา. ค้นเมื่อ 19 กันยายน 2562, จาก http://inderm.go.th/news/ myfile/183255ae6801b20347_louse.pdf

สกล สุนันทราภรณ์. (2557). การวิเคราะห์ความผันแปรของยีน Cytochrome C Oxidase subunit I ในไมโตคอนเดรียดีเอ็นเอของเหาศีรษะ (Pediculus humanus capitis) ในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Burgess, I. F. (2016). Head lice: Resistance and treatment options. The Pharmaceutical Journal, 297.

Dagne, H., Biya, A. A., Tirfie, A., Yallew, W. W., & Dagnew, B. (2019). Prevalence of pediculosis capitis and associated factors among schoolchildren in Woreta town, northwest Ethiopia. BMC Research Notes, 12(1), 1-6.

Di Campli, E., Di Bartolomeo, S., Pizzi, P. D., Di Giulio, M., Grande, R., Nostro, A., & Cellini, L. (2012). Activity of tea tree oil and nerolidol alone or in combination against Pediculus capitis (head lice) and its eggs. Parasitology Research, 111(5), 1985-1992.

Meister, L., & Ochsendorf, F. (2016). Head lice. Deutsches Arzteblatt International, 113(45), 763–772.

Government of South Australia, (2016). Head lice prevention and treatment. Retrieved October 2, 2019, from https://www.sahealth.sa.gov.au/wps/wcm/connect/2d290f80458f949a927eff4ba88a01d5/15076.6+Head+Lice+A4+Brochurev7WebS.PDF?MOD=AJPERES&CACHEID=ROOTWORKSPACE2d290f80458f949a927eff4ba88a01d5-mMFyCRy

Gulgun, M., Balcı, E., Karaoğlu, A., Babacan, O., & Türker, T. (2013). Pediculosis capitis: prevalence and its associated factors in primary Schoolchildren living in rural and urban areas in Kaiseri, Turkey. Central European journal of public health, 21(2), 104-108.

Hsieh, F. Y. (1989). Sample size tables for logistic regression. Statistics in medicine, 8(7), 795-802.

Moradiasl, E., Habibzadeh, S., Rafinejad, J., Abazari, M., Ahari, S. S., Saghafipour, A., et al. (2018). Risk factors associated with head lice (pediculosis) infestation among elementary school students in Meshkinshahr county, North West of Iran. International Journal of Pediatrics, 6(3), 7383-7392.

Saghafipour, A., Nejati, J., Zahraei Ramazani, A., Vatandoost, H., Mozaffari, E., & Rezaei, F. (2017). Prevalence and risk factors associated with head louse (Pediculus humanus capitis) in Central Iran. International Journal of Pediatrics, 5(7), 5245-5254.

Schlesselman, J. J. (1982). Case-control studies: Design, conduct, analysis. Oxford: Oxford University Press.

Yingklang, M., Sengthong, C., Haonon, O., Dangtakot, R., Pinlaor, P., Sota, C., et al. (2018). Effect of a health education program on reduction of pediculosis in school girls at Amphoe Muang, Khon Kaen Province, Thailand. PloS one, 13(6), e0198599.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-09-23

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ