ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการป่วยเป็นโรคมาลาเรีย ในอำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา

ผู้แต่ง

  • ทรงเกียรติ ยุระศรี
  • เลิศชัย เจริญธัญรักษ์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

โรคมาลาเรีย, ปัจจัยเสี่ยง

บทคัดย่อ

ปัจจุบันโรคมาลาเรียยังเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขทั่วโลกและประเทศไทย แม้ว่าจะมีการดำเนินการเพื่อกำจัดโรคมาลาเรียให้หมดภายในปี พ.ศ. 2569 แต่ก็ยังคงพบผู้ป่วยต่อเนื่องในจังหวัดฉะเชิงเทรา การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบ Case-control ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อหาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับโรคไข้มาลาเรียในพื้นที่อำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยใช้ฐานข้อมูลผู้ป่วยออนไลน์จากศูนย์ควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงที่ 6.1 ศรีราชา ที่เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2559 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2562 เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์กลุ่มผู้ป่วยโรคมาลาเรียจำนวน 102 คน และกลุ่มควบคุมที่ไม่เป็นโรคมาลาเรียจำนวน 102 คน วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยต่างๆของการป่วยเป็นโรคไข้มาลาเรียด้วย multiple logistic regression และนำเสนอด้วยค่า ORadj ที่ระดับช่วงความเชื่อมั่นที่ 95%

ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการป่วยเป็นโรคไข้มาลาเรีย ได้แก่ เพศชาย (ORadj=3.37, 95% CI=1.54-9.02), ผู้ที่มีอายุน้อยกว่าหรือเท่ากับ 45 ปี (ORadj=3.03, 95% CI= 1.30-7.07), กลุ่มที่มีระดับการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า (ORadj=4.25, 95% CI=1.69-10.67), การไม่ได้ใช้มุ้งชุบสารเคมี (ORadj=9.28, 95% CI=3.69-23.30), การทายากันยุงบางครั้ง (น้อยกว่า 5 วันต่อสัปดาห์) หรือไม่ทาเลย (ORadj=3.06, 95% CI=1.33-7.03), การสวมใส่เสื้อผ้าปกปิดร่างกายมิดชิดบางครั้ง (น้อยกว่า 5 วันต่อสัปดาห์) หรือไม่ปฏิบัติเลย (ORadj=3.36, 95% CI= 1.39-8.11), และการไม่ได้รับการพ่นสารเคมีชนิดมีฤทธิ์ตกค้างจากเจ้าหน้าที่ (ORadj=11.53, 95% CI= 4.83-27.54)

ข้อเสนอแนะที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้ ควรส่งเสริมให้ประชาชนที่อาศัยในพื้นที่เสี่ยงมีการปฏิบัติตัวที่เหมาะสมในการป้องกันโรคไข้มาลาเรีย ได้แก่ การทายากันยุง การใช้มุ้งชุบสารเคมี การสวมเสื้อผ้าปกปิดร่างกายมิดชิด และส่งเสริมให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของการชุบมุ้ง และการพ่นสารเคมีชนิดมีฤทธิ์ตกค้างตลอดจนให้ความร่วมมือในการคัดกรอง การค้นหาผู้ป่วยเชิงรุก โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีกลุ่มอาชีพที่ต้องเข้าไปในป่า

 

 

References

กองโรคติดต่อนำโดยแมลง. (2562ก). แนวทางการปฏิบัติงานกำจัดโรคไข้มาลาเรียสำหรับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขประเทศไทย. กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.

กองโรคติดต่อนำโดยแมลง. (2562ข). รายงานประจำปี 2562 กองโรคติดต่อนำโดยแมลง. ค้นเมื่อ 26 มิถุนายน 2563, จาก https://drive.google.com/file/d/1vtmSOp60uLinIBm3XUFmUv-h5vpJznOB/view

จตุพร พงศ์ศิริ. (2551). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อไข้มาลาเรียของประชาชนในชุมชนพื้นที่ชายแดนไทย–พม่า อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ประมวล สะภา. (2559). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการป่วยโรคมาลาเรียระหว่าง พ.ศ.2555-2557 อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการระบาด บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ประยุทธ สุดาทิพย์. (2541). ปัจจัยเสี่ยงของการป่วยเป็นไข้มาลาเรียชนิดพลาสโมเดียมฟัลซิปารัมซ้ำในผู้ป่วยมาลาเรียที่มารับการรักษา ณ มาลาเรียคลินิก จังหวัดกาญจนบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการระบาด

บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล

ยุทธศิลป์ คุ้มบ้านชาติ, ชนัญญา จิระพรกุล, & เนาวรัตน์ ตั้งศรีทอง. (2559). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อมาลาเรียในอำเภอ

ภูพาน จังหวัดสกลนคร. วารสารวิจัยสาธารณสุข ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 8(4), 57-64.

รัศมี ศรีชื่น. (2548). ปัจจัยเสี่ยงของการติดเชื้อมาลาเรียในพื้นที่ชายแดนไทย-สหภาพเมียนมาร์ จังหวัดระนอง. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยของแก่น.

ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงที่ 6.1 ศรีราชา. (2562). การสำรวจความชุกยุงพาหะ. เอกสารประกอบการประชุมประจำเดือนศูนย์ควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงที่ 6.1 ศรีราชา, ชลบุรี, ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงที่ 6.1 ศรีราชา.

สะใบทอง หาญบุ่งคล้า, & เลิศชัย เจริญธัญรักษ์. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อมาลาเรียที่เป็นโรคประจำถิ่นในจังหวัดราชบุรี ปี พ.ศ. 2558. วารสารควบคุมโรค, 43(4), 423-435.

สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 2. (2562). โครงการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่าพื้นที่รอยต่อ 5 จังหวัด ภาคตะวันออก เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน. ค้นเมื่อ 5 สิงหาคม 2562, จาก http://royal.dnp.go.th/paro2/portfolio-item/

สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง. (2552). แนวทางการปฏิบัติงานควบคุมโรคมาลาเรียสำหรับบุคลากรสาธารณสุข พ.ศ. 2552

(พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: เรดิเอชั่น.

สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง. (2555). ความรู้เรื่องไข้มาลาเรียสำหรับอาสาสมัครสาธารณสุข. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง. (2558). แนวทางการวินิจฉัยและดูแลรักษาโรคไข้มาลาเรีย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง. (2561). แนวทางการทำงานเพื่อกำจัดโรคไข้มาลาเรีย สำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและเครือข่ายสุขภาพ. กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.

สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง. (2562). โครงการกำจัดโรคไข้มาลาเรียประเทศไทย. ค้นเมื่อ 5 สิงหาคม 2562, จาก http://malaria.ddc.moph.go.th/malariaR10/report/report_mod2.php

Essendi, W. M., Vardo-Zalik, A. M., Lo, E., Machani, M. G., Zhou, G., Githeko, A. K., Yan, G., & Afrane, Y. A. (2019). Epidemiological risk factors for clinical malaria infection in the highlands of Western Kenya. Malaria Journal, 18(1), 1–7.

Girum, T., Hailemikael, G., & Wondimu, A. (2017). Factors affecting prevention and control of malaria among endemic areas of Gurage zone: An implication for malaria elimination in South Ethiopia, 2017. Tropical Diseases, Travel Medicine and Vaccines, 3(1), 1–9.

Herdiana, H., Cotter, C., Coutrier, F. N., Zarlinda, I., Zelman, B. W., Tirta, Y. K., et al. (2016). Malaria risk factor assessment using active and passive surveillance data from Aceh Besar, Indonesia, a low endemic, malaria elimination setting with Plasmodium knowlesi, Plasmodium vivax, and Plasmodium falciparum. Malaria Journal, 15(1), 1–15.

Hsieh, F. Y., Block, D., & Larsoen, M. D. (1998). A sample method of sample size calculation for linear and logistic regression. Statistics in Medicine, 17(4), 1623-1634.

Kazembe, L. N., & Mathanga, D. P. (2016). Estimating risk factors of urban malaria in Blantyre, Malawi: A spatial regression analysis. Asian Pacific Journal of Tropical Biomedicine, 6(5), 376–381.

Mutegeki, E., Chimbari, M. J., & Mukaratirwa, S. (2017). Assessment of individual and household malaria risk factors among women in a South African village. Acta Tropica, 175(2017), 71–77.

Schlesselman, J. J. & Stolley, P. D. (1982). Case-control studies, design, conduct, analysis. New York: Oxford University Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-09-10

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ