ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเป็นโรคความดันโลหิตสูงในกลุ่มพนักงานของรัฐ เมืองคำเกิด แขวงบอลิคำไซ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

ผู้แต่ง

  • Anousak Lorvansay คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • เบญจา มุกตพันธุ์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

ความชุก, โรคความดันโลหิตสูง, พนักงานของรัฐ สปป. ลาว

บทคัดย่อ

โรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ ข้อมูลทางระบาดวิทยาของโรคความดันโลหิตสูงของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ยังมีน้อย การศึกษาเชิงพรรณนาภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคความดันโลหิตสูง ในกลุ่มพนักงานของรัฐในเมืองคำเกิด แขวงบอลิคำไซ สปป.ลาว กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานของรัฐ อายุ 35-60 ปี จำนวน 285 คน ภาวะความดันโลหิตสูงกำหนดโดยค่าความดันซีสโตลิก ≥140 mmHg หรือความดันไดแอสโตลิก ≥ 90 mmHg หรือมีการใช้ยาลดความดันโลหิตเป็นประจำ เก็บข้อมูลปัจจัยต่าง ๆ โดยใช้แบบสอบถามแบบให้ตอบเอง วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยต่าง ๆ กับการเป็นโรคความดันโลหิตสูงด้วยสถิติถดถอยพหุโลจิสติก ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศชายร้อยละ 63.9 มีอายุเฉลี่ย 42.8±7.2 ปี อัตราความชุกโรคความดันโลหิตสูงของกลุ่มตัวอย่างพบร้อยละ 26.7 เพศชายมีความชุกร้อยละ 31.9 และเพศหญิงร้อยละ 17.5 ปัจจัยที่พบมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคความดันโลหิตสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติได้แก่ อายุ ≥45 ปี (ORAdj=2.4, 95% CI: 1.32, 4.24, p=0.004) ภาวะอ้วน (BMI ≥25 kg/m2) (ORAdj=3.1, 95% CI: 1.71, 5.58, p=0.001) การชอบรับประทานอาหารรสจัด (ORAdj=2.8, 95% CI: 1.48, 5.21, p<0.001) โดยสรุปหนึ่งในสี่ของพนักงานรัฐที่ศึกษามีภาวะความดันโลหิตสูง ควรมีโครงการคัดกรองและการส่งเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันและควบคุมโรคความดันโลหิตสูงในพนักงานอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ที่มีอายุมากกว่า 45 ปีขึ้นไปและในคนอ้วน

Author Biography

เบญจา มุกตพันธุ์, คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

บัณฑิตวิทยาลัย และประธานหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

References

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2561). แบบประเมินความเครียด (ST5). ค้นเมื่อ 21 สิงหาคม 2019, จาก https://www.dmh.go.th/test/qtest5/
กระทรวงสาธารณสุข ประเทศไทย. (2557). รายงาน การสำรวจสุขภาพประชาชนไทย โดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 5. สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.)
จันทนา รณฤทธิวิชัย. (2530). นิตยสารหมอชาวบ้าน. ค้นเมื่อ 12 เมษายน 2020, จากhttps://www.doctor.or.th/article/detail/4930
ทรงศักดิ์ กุณฑลกิติเดช. (2557). ความชุกและปัจจัยเสี่ยงของโรคความดันโลหิตสูงในพระภิกษุและสามเณรอำเภอเมืองจังหวัดแม่ฮ่องสอน. วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ปุญญพัฒน์ ไชยเมล์ และ สมเกียรติยศ วรเดช. (2559). ความชุกของการควบคุมความดันโลหิตในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงจังหวัดพัทลุง. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 9(1), 103-110.
รังสรรค์ วรวงศ์, ชยันตร์ธร ปทุมมานนนท์ และ ชไมพร ทวิชศริ. (2542). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะความดันโลหิตสูงของผู้สูงอายุในชนบท. วารสารกรมการแพทย์, 24(8), 469-476.
สถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล. (2560). โรคอ้วนกับโรคความดันโลหิตสูง. ค้นเมื่อ 28 เมษายน 2020, จาก https://amprohealth.com/obesity/high-blood-pressure-and-obesity-reveal/
สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้ากระทรวงพาณิชย์. (2515). สำรวจการบริโภค และเมืองต่างๆในโลกที่ทำให้เห็นภาพชัดเจน ในนครหลวงเวียงจันทน์. ค้นเมื่อ 31 กรกฎาคม 2019, จากhttps://www.tpso.moc.go.th/sites/default/files/vientiane_low2.pdf
อาจินต์ ส่งทับ. (2016). ความชุก ปัจจัยเสี่ยงและปัจจัยที่มีผลต่อโรคความดันโลหิตสูงของประชาชนเขตชนบทภาคใต้ กรณีศึกษา ตำบลควนธานี อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง.วารสารวิชาการมหาวิทยาลัย อินเทอร์เน็ตเอเชีย, 10(30), 104-117.
Bloom, B. S., Madaus, G. F., & Hastings, T. J. (1971). Handbook on formative and summative evaluation of student learning. New York: McGraw Hill.
Donnaya Suvetwethin. (2561). ลด ‘หวาน มัน เค็ม’ 3 ตัวร้ายก่อโรค NCDs. Retrieved september 4, 2019, from https://www.thaihealth.or.th/Content/45514-NCDs.html
Honest Docts. (2018). ความดันสูงกินอะไรดี อาหารสำหรับคนความดันสูง. Retrieved October 1, 2019, from https://www.honestdocs.co/high-pressure-eat-well-2
Meiqari, L., Essink, D., Wright, P., & Scheele, F. (2019). Prevalence of Hypertension in Vietnam: A Systematic Review and Meta-Analysis. Asia Pac J Public Health, 31(2), 101-112.
Ministry of Health and Sports The Republic of the Union of Myanmar. (2017). National Strategic Plan for Prevention and Control of NCDs Myamar (2017-2021). Retrieved September 27, 2019, from http://www.searo.who.int/entity/ncd_tobacco_surveillance/monitoring_fw/mmr_ncd_action_plan_2017_2021.pdf?ua=1
Ministry of Health Malaysia. (2019). National Strategic Plan for Non-Communicable Disease Prevention and Control Program in Malaysia. Retrieved September 27, 2019, from https://www.iccp-portal.org/system/files/plans/MYS_B3_NSP %20NCD%202016-2025%2C%20FINAL.pdf
MION, Jr. D., et al (2004). Hypertension in employees of a University General Hospital. Rev Hosp Clín Fac Med S Paulo. 59(6): 329-336.
Monakali, S., Ter Goon, D., Seekoe, E., & Owolabi, E. O. (2018). Prevalence, awareness, control and determinants of hypertension among primary health care professional nurses in Eastern Cape, South Africa. Afr J Prim Health Care Fam Med, 10(1), 1-5.
Peltzer, K., Pengpid, S., Sychareun, V., Ferrer, A. J. G., Low, W. Y., Huu, T. N., . . . Turnbull, N. (2017). Prehypertension and psychosocial risk factors among university students in ASEAN countries. BMC Cardiovasc Disord, 17(1), 230.
Pengpid S, Vonglokham, M., Kounnavong, S., Sychareun, V., & Peltzer, K. (2019). The prevalence, awareness, treatment, and control of hypertension among adults: the first cross-sectional national population-based survey in Laos. Vasc Health Risk Manag, 15, 27-33.
Roshan, N., & Tulsi, R. (2017). Prevalence of Non-Communicable Diseases and its Associate Factors among Government Employees in Biratnagar, Nepal. J Nepal Med, 56(209), 497-503.
Sutradhar, P., et al. (2020). Prevalence and Risk Factors of Hypertension among Government Employees Serving in Rangpur City, Bangladesh. Mymensingh Medical Journal, 20(1), 142-148.
Tairea, K., Kool, B., Harries, A.D. et al. (2014). Characteristics of government workers and association with diabetes and hypertension in the Cook Islands. Public Health Action, 4(1), 34-38.
Vang C, Melanie C, Phoxay C, et al. (2018). Report on STEPS Survey on Non Communicable Diseases Rick Factors in Vientiane Capital city, Lao PDR, 2010. Retrieved June 12, 2018, from www.who.int/ncds/surveillance/ steps/2008_STEPS_Report_Laos
Wang, J., Zhang, L., Wang, F., Liu, L., Wang, H., & China National Survey of Chronic Kidney Disease Working, Group. (2014). Prevalence, awareness, treatment, and control of hypertension in China: results from a national survey. Am J Hypertens, 27(11), 1355-1361.
World Health Organization. (2016). Global NAC target: reduce high blood pressure. Retrieved June 26, 2019, from https://www.ncbi.nlm.nih.gov › pmc › articles › PMC2721729
World Health Organization. (2018a). Noncommunicable Diseases (NCD) Country Profiles Cambodia, 2018. 2018, Retrieved September 9, 2019, from https://www.who.int/nmh/countries/khm_en.pdf?ua=1
World Health Organization . (2018b). Noncommunicable Diseases (NCD) Country Profiles Sri Lanka, 2018. Retrieved September 9, 2019, from https://www.who.int/beat-ncds/countries/sri-lanka/en/
World Health Organization. (2019a). Hypertension. Retrieved July 3, 2019, from https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/hypertension
World Health Organization. (2019b). Global Physical Activity Questionnaire (GPAQ). Retrieved September 6, 2019, from http://www.who.int/chp/steps/GPAQ_AR.pdf?ua=1

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-18