การประเมินความเสี่ยงต่อความผิดปกติทางระบบกระดูกโครงร่างและกล้ามเนื้อในพนักงานอุตสาหกรรมรีดขึ้นรูปหลังคาเหล็กเพื่อโปรแกรมการจัดการทางการยศาสตร์
คำสำคัญ:
การจัดการทางการยศาสตร์, เมตริกความเสี่ยงต่อสุขภาพ, รีบ้าร์, การวิเคราะห์งานยกบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional analytical study) มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความเสี่ยงต่อความผิดปกติทางระบบกระดูกโครงร่างและกล้ามเนื้อ (Musculoskeletal disorders: MSDs) ของพนักงานฝ่ายผลิตที่ทำงานในอุตสาหกรรมรีดขึ้นรูปหลังคาเหล็กเพื่อเสนอแนะโปรแกรมการจัดการทางการยศาสตร์ในการลดความเสี่ยงต่อ MSDs ทำการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ การรับรู้อาการผิดปกติทางระบบกระดูกโครงร่างและกล้ามเนื้อ สังเกตการทำงานและประเมินปัจจัยทางการยศาสตร์โดยแบบประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ คือแบบประเมินร่างกายทั้งหมดอย่างรวดเร็ว (Rapid Entire Body Assessment : REBA) แบบประเมินท่าทางรยางค์ส่วนบนอย่างรวดเร็ว (Rapid Upper Limb Assessment : RULA) ประเมินความเสี่ยงต่อความผิดปกติทางระบบกระดูกโครงร่างและกล้ามเนื้อจากการทำงาน โดยใช้เมตริกของความเสี่ยงทางสุขภาพ (5x4) ของการพิจารณาความรุนแรงของผลกระทบทางด้าน MSDs จากการรายงานด้วยตนเองของความรู้สึกไม่สบาย และโอกาสสัมผัสปัจจัยทางการยศาสตร์ ผลการศึกษาพบว่า พนักงานมีความเสี่ยงต่อ MSDs ที่ระดับที่ 4 คือ มีความเสี่ยงสูงมากต้องปรับปรุงแก้ไขเร่งด่วน ร้อยละ 37.11 รองลงมาคือความเสี่ยงระดับ 2 คือ ความเสี่ยงปานกลางที่ต้องเฝ้าระวัง ร้อยละ 35.04 และความเสี่ยงระดับ 3 คือมีความเสี่ยงสูงที่ต้องปรับปรุงแก้ไข ร้อยละ 17.52 งานที่ต้องได้รับการปรับปรุงแก้ไขโดยเร่งด่วน คือส่วนการพับแผ่นเหล็ก คัดโค้งและรีด ซึ่งต้องมีออกแรงกายจากการยกเคลื่อนย้าย ผลการประเมินเสนอแนะให้จัดการทางการยศาสตร์ด้วยโปรแกรมลดความเสี่ยงต่อ MSDs ที่ดำเนินการโดยฝึกฝนท่าทางการยก การจัดทำคู่มือในการทำงานกับสถานีงานที่เหมาะสมกับลักษณะงานในแต่ละตำแหน่งหรือตามปรับปรุงพื้นที่ปฏิบัติงานให้มีความสะดวกในการทำงานโดยลดการเอี้ยวตัวหรือก้มตัวที่มากเกินไป ซึ่งจากการได้รับการจัดการทางการยศาสตร์นั้นพบว่า ทั้งคะแนนและระดับความเสี่ยงทางการยศาสตร์ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ จึงเสนอแนะให้มีการเฝ้าระวังความผิดปกติของระบบกระดูกโครงร่างและกล้ามเนื้อของพนักงานโดยนำเมตริกประเมินความเสี่ยงต่อ MSDs ที่สามารถเสนอแนะการปรับปรุงแก้ไขจากผลระดับความเสี่ยง และการใช้วิธีการจัดการทางการยศาสตร์เบื้องต้นนี้เป็นแนวทางปฏิบัติในพนักงานอุตสาหกรรมชนิดการผลิตอื่นๆ ได้ต่อไป
References
จันจิราภรณ์ วิชัย, & สุนิสา ชายเกลี้ยง. (2557). การประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ ในพนักงานที่มีการยกเคลื่อนย้ายวัสดุ. วารสารวิจัย มข., 19(5), 708-719.
จันทิมา ดรจันทร์ใต้, & สุนิสา ชายเกลี้ยง. (2560). การประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพต่อการปวดไหล่ของพนักงานในกระบวนการผลิตมันฝรั่งทอดกรอบ. วารสารสาธารณสุข, 29(2), 138-150.
จุรีภรณ์ แก้วจันดา, & สุนิสา ชายเกลี้ยง. (2562). การประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพด้านความผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อของพนักงานที่ปฏิบัติงานในกระบวนการผลิตเยื่อและระดาษ. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 12(1), 72-85
โรจกร ลือมงคล, & สุนิสา ชายเกลี้ยง. (2557). ความผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อและความเครียดจากการทำงานของพยาบาลอุบัติเหตุและฉุกเฉินในโรงพยาบาลศูนย์เขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารศรีนครินทร์เวชสาร, 29(6), 516-523.
สำนักงานกองทุนเงินทดแทน สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน. (2561). รายงานสถานการณ์ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงานปี 2557 -2561. ค้นเมื่อ 22 มกราคม 2563, จาก https://www.sso.go.th/wpr/assets/upload/ files_storage/_th/110b4f37a38dc8c4d5f21908bfc898d3.pdf
สุนิสา ชายเกลี้ยง, & อาริยา ปานนาค. (2560). การประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพต่อการปวดไหล่ในพนักงานผลิตและประกอบชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์. วารสารสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, 2(47), 1-10.
สุนิสา ชายเกลี้ยง, ธวัชชัย คำป้อง, & วรวรรณ ภูชาดา (2560). การประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพด้านการสัมผัสการยศาสตร์ของแรงงานนอกระบบกลุ่มเย็บผ้าสำเร็จรูป. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา, 12(1), 99-111.
สุนิสา ชายเกลี้ยง, พรนภา ศุกรเวทย์ศิริ, & วรวรรณ ภูชาดา. (2561). ปัจจัยเสี่ยงที่ความสัมพันธ์ต่อการปวดไหล่ของพนักงานผลิตและประกอบชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์. วารสารเทคนิคการแพทย์และกายภาพบำบัด, 30(2), 141-158.
สุนิสา ชายเกลี้ยง, พรนภา ศุกรเวทย์ศิริ, & วิภารัตน์ โพธิ์ขี. (2558). รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ปัจจัยเสี่ยงความเสี่ยงทางการยศาสตร์ และความชุกของการปวดหลังของพนักงานในโรงงานอุตสาหกรรมอิเลคทรอนิกส์. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สุนิสา ชายเกลี้ยง, อาริยา ปานนาค, & นภานันท์ ดวงพรม. (2559). การประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ต่อความผิดปกติของรยางค์ส่วนบนในพนักงานผลิตและประกอบชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์. วารสารศรีนครินทร์เวชสาร, 31(2), 202-209.
สุนิสา ชายเกลี้ยง. (2562). การเฝ้าระวังสุขภาพในสถานที่ทำงาน. ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
อรุณ จิรวัฒน์กุล. (2551). ชีวสถิติ. พิมพ์ครั้งที่ 3. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา.
Chaiklieng, S. (2019). Health risk assessment on musculoskeletal disorders among potato-chip processing workers. PLoS ONE, 14(12), e0224980
Chaiklieng, S., & Krusun, M. (2015). Health risk assessment and incidence of shoulder pain Among office workers. Precedia Manufacturing, 3(1), 4941-4947.
Hignett, S., & McAtamney, L. (2000). Rapid Entire Body Assessment (REBA) in the health care industry. In: IEA’97 Proceedings of the 13th Triennial Congress of the International Ergonomics Association FIOH. Tampere Finland, 4, 162-164.
McAtamney, L., & Corlett, E.N. (1993). RULA: a survey method for the investigation of work- related upper limb disorders. Appl Ergon, 24(1993), 91-99.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2020 คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.