ปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อการบริโภคผักผลไม้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา โรงเรียนกาฬสินธุ์พิทยาสรรพ์ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • ธิดาวรรณ สุวรรณมาลี คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ณิตชาธร ภาโนมัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • พรพิมล ชูพานิช คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

นักเรียนมัธยม, การบริโภคผักและผลไม้

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการบริโภคผักและผลไม้ของกลุ่มวัยรุ่น ระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนกาฬสินธุ์พิทยาสรรพ์ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 279 คน ทำการสุ่มกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลด้วยการใช้แบบสอบถาม และแบบบันทึกการบริโภคอาหาร 3 วัน วิเคราะห์พลังงานและปริมาณสารอาหารที่ได้รับจากการบริโภคอาหาร โดยโปรแกรมสำเร็จรูป INMUCAL Version 4.0 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคผักผลไม้ โดยใช้สถิติการถดถอยพหุแบบโลจิสติกส์ (Multiple Logistic Regression)

ผลการศึกษา พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีอายุเฉลี่ย 15.27±1.79 ปี โดยมีความรู้เกี่ยวกับการบริโภคผักและผลไม้ในระดับดี ร้อยละ 58.78 มีทัศนคติเกี่ยวกับการบริโภคผักและผลไม้ในระดับปานกลาง ร้อยละ 50.18 มีปัจจัยเอื้อต่อการบริโภคผักและผลไม้ในระดับสูง ร้อยละ 83.51 และ มีปัจจัยเสริมต่อการบริโภคผักและผลไม้ในระดับปานกลาง ร้อยละ 49.10 จากการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคผักและผลไม้ พบว่า เพศชายจะมีการบริโภคผักและผลไม้ที่ไม่เพียงพอคิดเป็น 2.14 เท่า ของเพศหญิง (95%CI 1.24-3.71) อายุต่ำกว่าหรือเท่ากับ 15 ปีจะมีการบริโภคผักและผลไม้ที่ไม่เพียงพอคิดเป็น 3.23 เท่าของอายุมากกว่า 15 ปี (95% CI 1.94–5.40) กลุ่มตัวอย่างที่มีโรคประจำตัวจะมีการบริโภคผักและผลไม้ที่ไม่เพียงพอคิดเป็น 2.29 เท่าของกลุ่มตัวอย่างที่ไม่มีโรคประจำตัว (95% CI 1.10–4.77) และปัจจัยเสริมในระดับปานกลาง-ไม่ดี จะมีการบริโภคผักและผลไม้ที่ไม่พียงพอ คิดเป็น 1.72 เท่าของกลุ่มตัวอย่างที่มีปัจจัยเสริมในระดับดี (95% CI 1.02–2.88)

ดังนั้น ควรมีการจัดกิจกรรมส่งเสริม และรณรงค์ให้มีการเพิ่มปริมาณการบริโภคผักและผลไม้ โดยเฉพาะในนักเรียนมัธยมต้น รวมถึงให้นักเรียนได้ตระหนักถึงความสำคัญและประโยชน์ในการบริโภคผักผลไม้

References

กริช เรืองไชย. (2557). ความสัมพันธ์ของความเชื่อมั่นในความสามารถแห่งตนกับการบริโภคผักผลไม้และอาหารว่างที่มีพลังงานสูงของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนกาฬสินธุ์พิทยาสรรพ์. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต

บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

เฉลิมพร ศรีธรณ์. (2551). การรับรู้ประโยชน์และการปฏิบัติในการบริโภคผักและผลไม้ของนักเรียนวัยรุ่นในโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น (มอดินแดง). วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาโภชนาการชุมชน

บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ชนิพรรณ บุตรยี่. (2561). ผักผลไม้ 400 กรัมเพื่อสุขภาพ. ใน การประชุมวิชาการโภชนาการแห่งชาติ ครั้งที่ 12 ประจำปี 2561. (หน้า 8-15). กรุงเทพฯ: ปัญญมิตรการพิมพ์.

นันทวัน บุณยะประภัศร. (2557). คุณค่าทางโภชนาการและคุณสมบัติเชิงสุขภาพของผลไม้ไทย. ผักและผลไม้เพื่อความมั่นคงทางโภชนาการ. ใน การประชุมวิชาการแห่งชาติด้านอาหารและโภชนาการเพื่อสุขภาพ ครั้งที่ 1 ประจำปี 2557. (หน้า 29–30). กรุงเทพฯ: สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล และภาคีเครือข่ายด้านอาหารและโภชนาการ.

เพียงทิฆัมพร นิลเพชร์. (2555). การประเมินความถูกต้องของแบบสอบถามความถี่ในการบริโภคอาหารกึ่งปริมาณ เพื่อประเมินแบบแผนการบริโภคอาหารของนักเรียนวัยรุ่นตอนต้น โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น(มอดินแดง). วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาโภชนศาสตร์เพื่อสุขภาพ บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น.

มนฑิญา กงลา. (2554). การบริโภคผักผลไม้พื้นบ้านของนักเรียนวัยรุ่นตอนต้นในชนบท อำเภอศรีธาตุ จังหวัดอุดรธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาโภชนศาสตร์เพื่อสุขภาพ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วิชัย เอกพลากร, หทัยชนก พรรคเจริญ, กนิษฐา ไทยกล้า, & วราภรณ์ เสถียรนพเก้า. (2559). การสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.

วิชัย เอกพลากร. (2560). สถานการณ์การบริโภคผักผลไม้และภาวะสุขภาพของคนไทย. ใน สมศรี เจริญเกียรติกุล (บรรณาธิการ).

การประมวลองค์ความรู้จากการประชุมวิชาการ กินผักผลไม้ปลอดภัย 400 กรัมเพื่อสุขภาพ. (หน้า 8-14). กรุงเทพฯ:

ปัญญมิตรการพิมพ์.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2555). แผน 10 ปี สสส. ค้นเมื่อ 2 ตุลาคม 2562, จาก http://resource.thaihealth.or.th/taxonomy/term/8115

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2561). แผนหลัก สสส. 2561-2563. ค้นเมื่อ 2 ตุลาคม 2562, จาก https://www.thaihealth.or.th/Books/509/ /แผนหลัก+สสส.+2561-2563.html

สุทัศนา ขันแข็ง. (2556). การบริโภคผักผลไม้และทัศนคติในการบริโภคผักผลไม้ของนักเรียนวัยรุ่นที่มีภาวะ โภชนาการเกินในโรงเรียนธานีพัฒนาศึกษา อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา

โภชนศาสตร์เพื่อสุขภาพ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

อรุณ จิรวัฒน์กุล และคณะ. (2542). ชีวสถิติ (พิมพ์ครั้งที่ 4). ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา.

อรุณ จิรวัฒน์กุล. (2548). ชีวสถิติสำหรับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. ขอนแก่น: ภาควิชาชีวสถิติและประชากรศาสตร์

คณะสาธารณสุขสาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Aune, D., Giovannucci, E., Boffetta, P., Fadnes, L. T., Keum, N., Norat, T., et al. (2017). Fruit and vegetable intake and the risk of cardiovascular disease, total cancer and all-cause mortality: A systematic review and dose-response meta-analysis of prospective studies. International Journal of Epidemiology, 46(3), 1029-1056.

Pearson, N., Biddle, S. J., & Gorely, T. (2009). Family correlates of fruit and vegetable consumption in children and adolescents: a systematic review. Public Health Nutrition, 12(2), 267-283.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-27

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ