ผลการบริโภคนมอัลมอนด์สกัดเย็นต่อความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระในผู้มีน้ำหนักเกินและอ้วน

ผู้แต่ง

  • ฉัตรภา หัตถโกศล ภาควิชาโภชนวิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • มณีรัตน์ เตชะวิเชียร ภาควิชาโภชนวิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ญาณิศา ทับเจริญ ภาควิชาโภชนวิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • สุวิมล ทรัพย์วโรบล ภาควิชาโภชนาการและการกำหนดอาหาร คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • เนตรนภา อุ่นทิ ภาควิชาโภชนวิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • พร้อมลักษณ์ สรรพ่อค้า ภาควิชาโภชนวิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

นมอัลมอนด์สกัดเย็น, การถนอมอาหารโดยใช้ความดันสูง, ความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระ, ผู้ที่มีน้ำหนักเกินและอ้วน

บทคัดย่อ

โรคอ้วนและน้ำหนักเกินนำไปสู่โรคไม่ติดต่อเรื้อรังและทำให้สูญเสียคุณภาพชีวิต ในผู้ที่อ้วนปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระในร่างกายจะต่ำกว่าผู้ที่มีน้ำหนักตัวปกติ เนื่องจากปริมาณไขมันที่สะสมมากบริเวณกลางลำตัว การบริโภคอาหารที่อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระตามธรรมชาติสามารถเพิ่มระดับสารต้านอนุมูลอิสระในเลือดได้จึงช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคเรื้อรังต่างๆ อัลมอนด์จัดเป็นถั่วเปลือกแข็งที่อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระในกลุ่มสารประกอบฟีนอลิก โพลีฟีนอล รวมทั้งฟลาโวนอยด์ กระบวนการผลิตนมอัลมอนด์ร่วมกับกรรมวิธีสกัดเย็นและฆ่าเชื้อด้วยแรงดันสูงช่วยรักษาคุณค่าของสารอาหารไว้ ดังนั้นวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของบริโภคนมอัลมอนด์สกัดเย็นเทียบกับนมชนิดต่าง ๆ ต่อการเปลี่ยนแปลงของค่าความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระในผู้ที่มีน้ำหนักเกินและอ้วน รูปแบบการศึกษาเป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบ randomized control trial, parallel study ผู้ที่มีน้ำหนักเกินและโรคอ้วนจำนวน 62 คน ถูกแบ่งเป็น 5 กลุ่ม ได้รับนมวัวผ่านความร้อน นมอัลมอนด์ผ่านความร้อน นมมะม่วงหิมพานต์และข้าวโอ๊ตสกัดเย็น นมอัลมอนด์สกัดเย็น และนมถั่วเหลืองผ่านความร้อน ทุกกลุ่มดื่มนมทุกวัน วันละ 500 มิลลิลิตร เป็นเวลา 4 สัปดาห์ ประเมินผลโดยการตรวจค่าความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระในเลือดด้วยวิธี oxygen radical absorbance capacity (ORAC) และ ferric reducing antioxidant power (FRAP) ในสัปดาห์ที่ 0 และ 4 ผลการศึกษาเปรียบเทียบภายในกลุ่มพบว่ากลุ่มที่บริโภคนมมะม่วงหิมพานต์และข้าวโอ๊ตสกัดเย็น และนมอัลมอนด์สกัดเย็นมีค่า ORAC เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ส่วนค่า FRAP ทั้ง 5 กลุ่มมีค่าเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบก่อนและหลังการทดลอง สำหรับการเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มพบว่าหลังการทดลองกลุ่มที่บริโภคนมสกัดเย็นทั้ง 2 ชนิด มีค่า ORAC สูงกว่ากลุ่มที่บริโภคนมผ่านความร้อน 3 ชนิด ดังนั้นการบริโภคนมสกัดเย็นสามารถเพิ่มค่าความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระในเลือดของผู้มีน้ำหนักเกินและอ้วนได้

References

ฤทธิชัย อัศวราชันย์. (2559). ผลของการใช้ความดันสูงในการทำลายจุลินทรีย์และสปอร์ของจุลินทรีย์ในอาหาร [ฉบับออนไลน์]. วารสารสมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทย, 22(2), 41-48
วิชัย เอกพลากร, หทัยชนก พรรคเจริญ, กนิษฐา ไทยกล้า, & วราภรณ์ เสถียรนพเก้า. (2559). การสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 5 พ.ศ.2557. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.
Chen, C. Y., Lapsley, K., & Blumberg, J. (2006). A nutrition and health perspective on almonds. Journal of the Science of Food and Agriculture, 86(14), 2245-2250.
Davis, L., Stonehouse, W., Mukuddem-Petersen, J., van der Westhuizen, F. H., Hanekom, S. M., & Jerling, J. C. (2007). The effects of high walnut and cashew nut diets on the antioxidant status of subjects with metabolic syndrome. European journal of nutrition, 46(3), 155-164.
Hodzic, Z., Pasalic, H., Memisevic, A., Srabovic, M., Saletovic, M., & Poljakovic, M. (2009). The influence of total phenols content on antioxidant capacity in the whole grain extracts. European Journal of Scientific Research, 28(3), 471-477.
Kornsteiner, M., Wagner, K.-H., & Elmadfa, I. (2006). Tocopherols and total phenolics in 10 different nut types. Food chemistry, 98(2), 381-387.
Li, S.-C., Liu, Y.-H., Liu, J.-F., Chang, W.-H., Chen, C.-M., & Chen, C.-Y. O. (2011). Almond consumption improved glycemic control and lipid profiles in patients with type 2 diabetes mellitus. Metabolism, 60(4), 474-479.
Milbury, P. E., Chen, C.-Y., Dolnikowski, G. G., & Blumberg, J. B. (2006). Determination of flavonoids and phenolics and their distribution in almonds. Journal of Agricultural and Food Chemistry, 54(14), 5027-5033
Patras, A., Brunton, N. P., Da Pieve, S., & Butler, F. (2009). Impact of high pressure processing on total antioxidant activity, phenolic, ascorbic acid, anthocyanin content and colour of strawberry and blackberry purées. Innovative Food Science & Emerging Technologies, 10(3), 308-313.
Raman, R. (2018). 12 Healthy Foods High in Antioxidants. ค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2563 จาก https://www.healthline. com/nutrition/foods-high-in-antioxidants
Sakpal, T. (2010). Sample size estimation in clinical trial. Perspectives in Clinical Research, 1(2), 67.
Savini, I., Catani, M. V., Evangelista, D., Gasperi, V., & Avigliano, L. (2013). Obesity-associated oxidative stress: strategies finalized to improve redox state. International journal of molecular sciences, 14(5), 10497-10538.
Zhang, Y., Liu, X., Wang, Y., Zhao, F., Sun, Z., & Liao, X. (2016). Quality comparison of carrot juices processed by high-pressure processing and high-temperature short-time processing. Innovative Food Science & Emerging Technologies, 33, 135-144.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-18