การสัมผัสโทลูอีน อาการแสดง และความเสี่ยงต่อสุขภาพของพนักงานในสภาวะแวดล้อมที่เป็นสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงหรือในมลภาวะที่ใกล้เคียงกัน : การทบทวนงานวิจัยอย่างมีระบบ
คำสำคัญ:
การสัมผัสโทลูอีน, ความเสี่ยงต่อสุขภาพ, พนักงาน, สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง, การทบทวนงานวิจัยอย่างมีระบบบทคัดย่อ
โทลูอีน เป็นซึ่งสารทำละลายที่พบได้ในอุตสาหกรรมและในมลพิษในบรรยากาศ ผ่านไอควัน ก๊าซต่างๆ หลายชนิดจากท่อไอเสีย ไอระเหยน้ำมันเชื้อเพลิง ความเสี่ยงต่อการสัมผัสผ่านหายใจเอาอากาศที่ปนเปื้อนอาจเกิดขึ้นในกลุ่มทำงานนอกอาคารหรือการจราจร วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้เพื่อทบทวนงานวิจัยเกี่ยวข้องกับการสัมผัสโทลูอีน อาการแสดงผลกระทบต่อสุขภาพ และการประเมินความเสี่ยงในภาวะแวดล้อมที่เป็นสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงหรือสัมผัสกับมลภาวะที่ใกล้เคียงกันในประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ.2542-2562 โดยการสืบค้นจากฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ได้แก่ Science direct และ Google scholar โดยมีงานวิจัยที่ผ่านเกณฑ์คัดเข้าจำนวน 11 เรื่อง พบว่าโทลูอีนมีความเข้มข้นในบรรยากาศการทำงานอยู่ในช่วง (ค่าต่ำสุด-สูงสุด) 0.87-1,099.14 ppb ซึ่งไม่เกินมาตรฐานความปลอดภัยที่กำหนดคือไม่เกิน 20,000 ppb ผลการประเมินระดับกรดฮิปพูริค (Hippuric acid) ซึ่งเป็นค่าดัชนีทางชีวภาพเพื่อชี้วัดการสัมผัสสารโทลูอีนในปัสสาวะพบความเข้มข้นอยู่ในช่วง (ค่าต่ำสุด-สูงสุด) 10-10,889.47 mg/g Creatinine (Cr) โดยพบว่ามีค่าที่เกินมาตรฐานแนะนำ (>1,600 mg/g Cr) ในกลุ่มของพนักงานสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งเป็นพนักงานคิดเงินและพนักงานเติมน้ำมัน นอกจากนั้นอาการแสดงจากงานวิจัยที่ผ่านมาการสัมผัสโทลูอีน พบอาการ ปวดศีรษะ เหนื่อยล้า ระคายเคืองต่อจมูก ระคายเคืองผิวหนัง ระคายเคืองคอ ไอ และผลการประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพพบว่า มีค่าดัชนีความปลอดภัย (Hazard Quotient, HQ) อยู่ในช่วง 0.001-0.01 ซึ่งอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ แม้ว่าการศึกษาที่ผ่านมาพบโทลูอีนในอากาศที่ความเข้มข้นต่ำกว่ามาตรฐานกำหนดที่อาจสัมผัสได้ผ่านทางการหายใจ แต่พบว่ามีสารบ่งชี้ทางชีวภาพของการสัมผัสสารโทลูอีนนี้พบในพนักงานสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงสูงกว่าค่าแนะนำ จึงควรมีการเฝ้าระวังการสัมผัสโทลูอีนผ่านเส้นทางการสัมผัสอื่นร่วมด้วย เช่น การสัมผัสผ่านทางผิวหนัง เพื่อทำการศึกษาต่อไปด้านการประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพจากการสัมผัสสารโทลูอีนทางอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน
References
กองโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม. (2557). โรคจากโทลูอีน. ค้นเมื่อ 9 ตุลาคม 2562, จาก http://envocc.ddc.moph.go.th/ contents/view/58
รัชนี นันทนุช, สุนิสา ชายเกลี้ยง. (2556). ความเสี่ยงด้านสุขภาพต่อการได้รับอันตรายจากการสัมผัสน้ำมันเชื้อเพลิงของพนักงานสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงในเขตเทศบาลนครขอนแก่น: การศึกษานำร่อง. ศรีนครินทร์เวชสาร, 28(4), 506–515.
ศรีรัตน์ ล้อมพงศ์. (2559). การประเมินการรับสัมผัสสารโทลูอีนและรูปแบบการใช้ชีวิตของ พนักงานเก็บกวาดขยะของสำนักงานเขตแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา, 11(2), 13–21.
ศรีรัตน์ ล้อมพงศ์, อรวรรณ แก้วบุญชู, & มริสสา กองสมบัติสุข. (2560). การประเมินการรับสัมผัสสาร Organic solvent และระดับไนตริคออกไซด์ของลมหายใจออกที่มีผลต่อความสามารถในการทำงานของพนักงานเก็บเงินที่ด่านเก็บเงินในเขตกรุงเทพมหานคร. ชลบุรี: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
ศศิธร เรืองตระกูล, ทรรศนีย์ พฤกษาสิทธิ์, & เดซี่ หมอกน้อย. (2556). การประเมินความเสี่ยงจากการสัมผัสสารบีเทคผ่านทางการหายใจของพนักงานเก็บค่าผ่านทางพิเศษ ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม, 9(1), 1–22.
สายชล แปรงกระโทก, & สุนิสา ชายเกลี้ยง. (2556). การประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพด้านการสัมผัสสารเคมีในสภาพแวดล้อมการทำงานของพนักงานสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงในเขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 4(1), 6–12.
สุนิสา ชายเกลี้ยง. (2557). พิษวิทยาสาธารณสุข. ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สุนิสา ชายเกลี้ยง. (2562). การเฝ้าระวังสุขภาพในสถานที่ทำงาน. ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สุนิสา ชายเกลี้ยง, อุมากร ธงสันเทียะ, & พรนภา ศุกรเวทย์ศิริ. (2562). การประเมินการสัมผัสสารโทลูอีนของพนักงานสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง. วารสารความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม, 6(4), 80-89.
มาริสา กองสมบัติสุข, ศรีรัตน์ ล้อมพงศ์, & อรวรรณ แก้วบุญชู. (2556) ปริมาณการรับสัมผัสสารตัวทำละลายอินทรีย์ที่ส่งผลต่อระดับไนตริคออกไซด์ของลมหายใจออกของตำรวจจราจรในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 20(3), 16-24
ACGIH. (2019). TLVs and BEIs based on the documentation of the threshold limit values for chemical substances and physical agents & biological exposure indices. Ohio: Cincinnati.
Agency for toxic substances and disease registry. (2015). Public health statement toluene. Retrieved October 10, 2019, from https://www.atsdr.cdc.gov/phs/phs.asp?id=159&tid=29
Bahrami, A., Jafari, A. J., Folladi, B., Mahjub, H., Sadri, Q., & Zadeh, M. M. (2005). Comparison of Urinary o-Cresol and Hippuric Acid in Drivers, Gasoline Station Workers and Painters Exposed to Toluene in West of Iran. Pakistan Journal of Biological Sciences, 8(7), 1001–1005.
Chimplee, T., & Taneepanichskul, N. (2015). Benzene and toluene exposure in relation to their health effects among sky-train station guards in Bangkok, Thailand. Journal of Health Research, 29(Suppl. 2), S177–S184.
Cruz, L. P. S., Alves, L. P., Santos, A. V. S., Esteves, M. B., Gomes, Í. V. S., & Nunes, L. S. S. (2017). Assessment of BTEX concentrations in air ambient of gas stations using passive sampling and the health risks for workers. Journal of Environmental Protection, 8, 12–25.
Kitwattanavong, M., Prueksasit, T., Morknoy, D., Tunsaringkarn, T., & Siriwong, W. (2013). Health risk assessment of petrol station workers in the inner city of Bangkok, Thailand, to the exposure to BTEX and carbonyl compounds by inhalation. Human and Ecological Risk Assessment: An International Journal, 19(6), 1424–1439.
Loonsamrong, W., Taneepanichskul, N., Puangthongthub, S., & Tungsaringkarn, T. (2015). Health risk assessment and BTEX exposure among car park workers at a parking structure in Bangkok, Thailand. Journal of Health Research, 29(4), 285–292.
NIOSH. (2019). U.S. Dept. of Health and Human Services, Public Health Service, Centers for Disease Control and Prevention, National Institute for Occupational Safety and Health. Washington, DC: NIOSH.
Majumdar Neé Som, D., Dutta, C., Mukherjee, A. K., & Sen, S. (2008). Source apportionment of VOCs at the petrol pumps in Kolkata, India; exposure of workers and assessment of associated health risk. Transportation Research Part D: Transport and Environment, 13(8), 524–530.
Taneepanichsku, N., Loonsamrong, W., Tungsaringkarn, T., Gelaye, B., & Williams, M. A. (2018). Occupational exposure to BTEX compounds among enclosed multi-storey car park workers in central Bangkok area. Indoor and Built Environment, 27(5), 622–629.
Tohon, H. G., Fayomi, B., Valcke, M., Coppieters, Y., & Bouland, C. (2015). BTEX air concentrations and self-reported common health problems in gasoline sellers from Cotonou, Benin. International Journal of Environmental Health Research, 25(2), 149–161.
Tunsaringkarn, T., Prueksasit, T., Morknoy, D., Siriwong, W., Kanjanasiranont, N., & Semathong, S., et al. (2014). Health Risk Assessment and Urinary Biomarkers of VOCs exposures among outdoor workers in urban area, Bangkok, Thailand. Columbia International Publishing, 2(1), 32–46.
Tunsaringkarn, T., Siriwong, W., Rungsiyothin, A., & Nopparatbundit, S. (2012). Occupational exposure of gasoline station workers to BTEX compounds in Bangkok, Thailand. Int J Occup Environ Med (The IJOEM), 3(3), 117–125.
US EPA. (2019). Hazard quotient (HQ). Retrieved October 15, 2019, from https://www.epa.gov/
Yimrungruang, D., Cheevaporn, V., Boonphakdee, T., Watchalayann, P., & Helander, H. F. (2008). Characterization and health risk assessment of volatile organic compounds in gas service station workers. EnvironmentAsia, 2, 21–29.