ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือดของเกษตรกร ในเขตพื้นที่ตำบลยางอู้ม อำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์
คำสำคัญ:
เอนไซม์โคลีนเอสเตอเรส, สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชบทคัดย่อ
การศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติตนในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรในพื้นที่ ตำบลยางอู้ม อำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์ รวมทั้งระดับความเสี่ยงการตกค้างของสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือด โดยศึกษาในกลุ่มเกษตรกร จำนวน 132 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือแบบสอบถาม และการตรวจคัดกรองหาระดับความเสี่ยงของสารเคมีตกค้างในเลือดเกษตรกร โดยการใช้กระดาษทดสอบ (Reactive Paper) ตรวจสอบคุณภาพแบบสอบถาม ด้านความตรงเชิงเนื้อหา โดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน และด้านความเที่ยง โดยการหาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.82 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสด้วยวิธีการพหุถดถอยโลจีสติก (Multiple logistic Regression) นำเสนอขนาดความสัมพันธ์ด้วยค่า Adjusted odds ratio (ORadj) และช่วงความเชื่อมั่น 95%
ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างเกษตรกร เป็นเพศหญิง ร้อยละ 56.8 อายุเฉลี่ย 50.4± 10.6 ปี มีสถานภาพสมรส ร้อยละ 76.5 สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 62.9 ระยะเวลาในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม เฉลี่ย 19.8±16.2 ปี และในช่วงระยะหนึ่งปี เกษตรกร ส่วนใหญ่ใช้เวลาประกอบอาชีพเกษตรกรรม เฉลี่ย 7.1±3.5 เดือน โดยทำการเกษตรที่ประเภทปลูกพืชไร่และทำนาเป็นส่วนใหญ่ ร้อยละ 68.2 ผู้ฉีดพ่นสารเคมีส่วนใหญ่ร้อยละ 46.2 เป็นแรงงานจากครอบครัวและแรงงานรับจ้าง การรับสัมผัสสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช คือ ร้อยละ 59.8 เป็นผู้ผสมสารเคมี และฉีดพ่นเอง และร้อยละ 28.0 มีการใช้ชนิดสารเคมีส่วนใหญ่ คือ พาราควอต ร้อยละ 67.6 เกษตรกรส่วนใหญ่จากการตรวจคัดกรอง ร้อยละ 37.1 มีระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือดอยู่ในระดับปลอดภัย รองลงมา มีระดับไม่ปลอดภัย ร้อยละ 35.6 ระดับมีความเสี่ยง ร้อยละ 22.7 และมีระดับปกติ ร้อยละ 4.6 เมื่อพิจารณาระดับเอนไซม์โคลีนเอสเคอเรสในเลือด เป็น 2 ระดับ คือ ระดับปกติ (ระดับปลอดภัย+ระดับปกติ) และระดับผิดปกติ (ระดับความเสี่ยง+ระดับไม่ปลอดภัย) พบว่า เกษตรกรมีระดับเอนไซด์โคลีนเอสเตอเรสในเลือดอยู่ในระดับผิดปกติ ร้อยละ 58.3 และระดับปกติ ร้อยละ 41.7 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรส ในเลือดของเกษตรกร พบว่า เกษตรกรที่เป็นเพศชาย มีโอกาสเสี่ยงที่ระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรส ในระดับผิดปกติ เป็น 2.46 เท่า เมื่อเทียบกับเกษตรกรที่เป็นเพศหญิง (ORadj=2.46, 95% CI: 1.06 5.68; p-value=0.036) เกษตรกรที่ใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชมีโอกาสเสี่ยงที่ระดับเอนไซม์ โคลีนเอสเตอเรสในระดับผิดปกติ เป็น 2.82 เท่า เมื่อเทียบกับกลุ่มเกษตรกรที่ไม่ใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช (ORadj=2.82, 95% CI: 1.09-7.29; p-value=0.032) และเกษตรกรมีการปฏิบัติตนในการใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชในระดับไม่ดีมีโอกาสเสี่ยงที่ระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในระดับผิดปกติ เป็น 5.25 เท่า เมื่อเทียบกับกลุ่มที่มีการปฏิบัติตนในการใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชในระดับปานกลางและระดับดี(ORadj=5.25, 95% CI: 2.24-12.33; p-value<0.001) ดังนั้น เจ้าหน้าที่สาธารณสุขควรมีการจัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชให้กับเกษตรกรในชุมชน ตามแนวทางของกองโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข
References
จารุวรรณ ไตรทิพยสมบัติและคณะ.การศึกษาความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร บ้านห้วย
สามขา ตำบลทัพรั้ง อำเภอพระทองคำ จังหวัดนครราชสีมา. ศรีนครินทร์เวชสาร 2557; 29(5) : 429-34
นิภา มนุญปิจุ. (2528). วิธีวิจัยทางสุขศึกษา.พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: อักษรบัณฑิต.
ประภารัตน์ วิจิตรจันทร์และเลิศชัย เจริญธัญรักษ์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสของกลุ่มเกษตรกรทำนา
ที่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ตำบลค้อใต้ อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร.วารสารโรงพยาบาลสกลนคร 2560; 20(1):13-32
วรรณา อินทรพิชัย. ความรู้ และทัศนคติในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรผู้ปลูกสับปะรดในเขตอำเภอปลวกแดง จังหวัด
ระยอง รายงานการศึกษาอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.;2551.
สายสนีย์ พันธุ์พานิช. ปัจจัยที่มีผลต่อระดับสารพิษในเลือดของเกษตรกร เทศบาลตำบลทุ่งโฮ้ง อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่.วิทยา
ศาสตรมหาบัณฑิต(การจัดการสิ่งแวดล้อม) สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์; 2554.
สมพร ศรีโปกฎ. ปัจจัยเสี่ยงจากการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรที่ทำนาแห้ว อำเภอศรีประจันต์ จังหวัด
สุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2543.
สิริภัณฑ์กัญญา เรืองไชย. ผลกระทบของงการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชต่อสุขภาพของเกษตรกรผู้ปลูกยาสูบ ในเขตพื้นที่ตำบลลำห้วย
หลัว อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2553.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์, (2558). การเฝ้าระวังผลกระทบรอบเขื่อนลำปาว พ.ศ. 2558. พิมพ์ครั้งที่ 1.นครปฐม: พริ้นเทอ
รี่ จำกัด.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์. (2560). การเฝ้าระวังผลกระทบรอบเขื่อนลำปาว พ.ศ. 2560. พิมพ์ครั้งที่ 1.นครปฐม: พริ้น
เทอรี่ จำกัด.
สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม. รายงานสถานการณ์โรคและภัยสุขภาพจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวด ล้อมปี
2560 (ออนไลน์) 2560 (อ้างเมื่อ 20 ตุลาคม 2561) จาก https://envocc.ddc.moph.go.th
อนุวัฒน์ เพ็งพุฒ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างโดยการตรวจระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรส
ในเลือดเกษตร ตำบลสงเปือย อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์.วารสารวิจัยสาธารณสุขมหาวิทยาลัยขอนแก่น2557;10(1):47-62