การจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ในมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • สง่า ทับทิมหิน วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • ปวีณา ลิมปิทีปราการ
  • ฐิติรัช งานฉมัง
  • ลักษณีย์ บุญขาว
  • กิตติ เหลาสุภาพ

คำสำคัญ:

การจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์, อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร, มหาวิทยาลัย

บทคัดย่อ

มหาวิทยาลัยเป็นแหล่งที่มีขยะอิเล็กทรอนิกส์เกิดขึ้นจำนวนมากซึ่งจำเป็นต้องมีการจัดการอย่างเหมาะสมเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจปริมาณและชนิดของขยะอิเล็กทรอนิกส์กลุ่มอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร รวมถึงหาแนวทางในการจัดการที่เหมาะสมสำหรับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จากข้อมูลทั้งหมด 6,422 รายการ พบว่ามีการชำรุดเสื่อมสภาพและใช้งานไม่ได้ จำนวน  1,564  รายการ คิดเป็นร้อยละ 24.35 โดยส่วนใหญ่เป็นคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะและจอภาพ ร้อยละ 84.08 รองลงมาคือเครื่องพิมพ์ ร้อยละ 5.75 และเครื่องฉายภาพ ร้อยละ 5.37 ในการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ของแต่ละหน่วยงานพบว่ายังไม่มีแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน จากผลการศึกษานี้ได้เสนอแนวทางในการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์โดยใช้หลักการในเชิงป้องกันซึ่งเริ่มจากการสนับสนุนนโยบายมหาวิทยาลัยสีเขียว ให้เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อลดปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์ และควรให้มีหน่วยงานรับผิดชอบในการจัดเตรียมศูนย์รวมและให้บริการเก็บขน โดยแต่งตั้งเป็นคณะทำงานร่วมกันจากตัวแทนแต่ละหน่วยงานเพื่อตรวจสอบและจำหน่ายพัสดุ รวมถึงกำกับดูแลการกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์ให้ถูกต้องเหมาะสม

 

References

กรมควบคุมมลพิษ. (2558). ยุทธศาสตร์การจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เชิงบูรณาการ ปี พ.ศ. 2557-2564. กรุงเทพฯ: กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.

กรมควบคุมมลพิษ. (2559). แผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ (พ.ศ. 2559-2564). กรุงเทพฯ: กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.

กรมควบคุมมลพิษ. (2561). รายงานสถานการณ์มลพิษของประเทศไทย ปี 2560. กรุงเทพฯ: กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.

ประทีป เลิศชัยประเสริฐ, & ณมน จีรังสุวรรณ. (2557). การศึกษาสภาพการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ในสถานศึกษา. วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม พระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 5(1), 81–90.

สุจิตรา วาสนาดำรงดี, ปัณฑิตา ตันวัฒนะ, & ศิลาวุธ ดำรงศิริ. (2558). การสำรวจผลกระทบสิ่งแวดล้อมของชุมชนแออัดในกรุงเทพมหานครที่ประกอบอาชีพถอดแยกชิ้นส่วนขยะอิเล็กทรอนิกส์. วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม, 11(2), 4–23.

อรวรรณ พู่พิสุทธิ์, & ศุลีพร แสงกระจ่าง. (2553). ความเป็นพิษของขยะอิเล็กทรอนิกส์. วารสารพิษวิทยาไทย, 25(1), 67–76.

Awasthi, A. K., & Li, J. (2017). Management of electrical and electronic waste: A comparative evaluation of China and India. Renewable and Sustainable Energy Reviews, 76, 434-447.

Gomes, A. S., Souza, L. A., Yamane, L. H., & Siman, R. R. (2017). Quantification of E-Waste: A Case Study in Federal University of Espírito Santo, Brazil. World Academy of Science, Engineering and Technology, International Journal of Environmental, Chemical, Ecological, Geological and Geophysical Engineering, 11(2), 185-193.

Ikhlayel, M. (2018). An integrated approach to establish e-waste management systems for developing countries. Journal of Cleaner Production, 170, 119-130.

Sivaramanan, S. (2013). E-Waste Management, Disposal and Its Impacts on the Environment. Universal Journal of Environmental Research & Technology, 3(5), 531-537.

Vats, M. C., & Singh, S. K. (2014). E-Waste characteristic and its disposal. International Journal of Ecological Science and Environmental Engineering, 1(2), 49-61.

Zoeteman, B. C. J., Krikke, H. R., & Venselaar, J. (2010). Handling WEEE waste flows: On the effectiveness of producer responsibility in a globalizing world. The International Journal of Advanced Manufacturing Technology, 47(5–8), 415–436.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-26

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ