การสำรวจเส้นทางหนีไฟ และคำนวณระยะเวลาในการอพยพหนีไฟของอาคาร 9 มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
คำสำคัญ:
การสำรวจอาคาร, การคำนวณระยะเวลาอพยพหนีไฟบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจเส้นทางหนีไฟ และคำนวณระยะเวลาอพยพโดยอาศัย การเคลื่อนที่แบบไฮดรอลิค ณ อาคาร 9 มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา กรุงเทพมหานคร ซึ่งมีความสูง 10 ชั้น โดยมีโครงสร้างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก พื้นที่ใช้สอย 8,497 ตารางเมตร ซึ่งต้องเป็นไปตามกฎกระทรวงฉบับที่ 33 (พ.ศ. 2535) และ NFPA 101
ผลการศึกษาพบว่าเส้นทางหนีไฟยังไม่สอดคล้องตามกฎหมายฉบับดังกล่าว โดยเฉพาะในประเด็น บันไดหนีไฟ และเส้นทางหนีไฟ ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ ระบบป้องกันเพลิงไหม้ เป็นต้น อย่างไรก็ตามผลการคำนวณระยะเวลาอพยพโดยใช้บันได 1 และบันได 2 พบว่ามีระยะเวลาเป็น 19.9 และ 23 นาที ตามลำดับ ดังนั้นระยะเวลาในการอพยพของอาคาร 9 จากชั้น 10 ซึ่งเป็นชั้นสูงสุดมายังชั้น 1 และเป็นจุดปล่อยออกจากอาคารใช้ระยะเวลาระหว่าง 19.31-23.58 นาที (95% CI) โดยมีอัตราการไหลสูงสุด (Fc) เป็น 0.898 คนต่อวินาที มีความเร็วในการอพยพลงบันได (S) เป็น 0.535 เมตรต่อวินาที มีระยะทางอพยพระหว่างชั้น (TD) เป็น 13.39 เมตร และมีระยะเวลาอพยพต่อชั้น (TT) 25 นาทีตามลำดับ ซึ่งเป็นไปตามกฎกระทรวงฉบับที่ 33 (พ.ศ. 2535) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 หมวดที่ 2 ว่าด้วย ระบบระบายอากาศ ระบบไฟฟ้าและระบบป้องกันไฟไหม้ นอกจากนี้จะเห็นได้ว่าปัจจัยที่มีผลต่อการคำนวณระยะเวลาอพยพหนีไฟคือ จำนวนผู้ใช้อาคาร ขนาดความกว้างของส่วนประกอบบนเส้นทางหนีไฟ ได้แก่ ช่องทางผ่าน ประตูหนีไฟ และบันไดหนีไฟ รวมถึงขนาดลูกตั้งลูกนอนของบันไดหนีไฟ เป็นต้น
References
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย. (2559). สถิติการเกิดเพลิงไหม้. ค้นเมื่อ 19 มีนาคม 2561, จาก http://www.disaster.go.th/th/content-disaster.
กฎกระทรวง ฉบับที่ 33. (2535). ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522. ราชกิจจานุเบกษา, 109(11), 1-15.
กิจจา จิตรภิรมย์. (2560). การควบคุมและป้องกันอัคคีภัย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เกชา ธีระโกเมน. (2545). ปัญหาในการจัดระบบการป้องกันอัคคีภัยสาหรับอาคาร. กรุงเทพฯ: อีอีซี เอ็นจิเนียริ่ง เน็ทเวิร์ค.
เกียรติรัตน์ ชัยสกุลวงศ์. (2562). ไฟพิโรธ ม.ราชภัฏอุบลฯ 1 ปีเกิดไฟไหม้แล้ว 3 ครั้ง. ค้นเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2562,จาก https://www.77kaoded.com/content/311574
ขนิษฐา ส่งสกุลชัย, ปรณัฐ วิสุวรรณ, & สุภัทร พัฒน์วิชัยโชติ. (2555). การศึกษาระยะเวลาการอพยพออกจากโรงภาพยนตร์ประเภทรวมหลายโรง ในเขตกรุงเทพมหานคร. วิศวกรรมสาร มก., 25(81), 74-85.
ณัฐกรณ์ เสฏฐัตต์. (2546). โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อช่วยจำลองสถานการณ์การหนีไฟ ภายในอาคารโดยการใช้บันไดหนีไฟ. วิทยานิพนธ์สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ทวีศักดิ์ วิรุณพันธ์, & สุภัทร พัฒน์วิชัยโชติ. (2560). การประเมินประสิทธิภาพการอพยพหนีไฟบนแท่นขุด. วารสารเกษมบัณฑิต, 18(2), 51-63.
ธนายุทธ สิรินุตานนท์, & อภิชาต แจ้งบำรุง. (2557). การวิเคราะห์เส้นทางหนีไฟและการคำนวณระยะเวลาอพยพหนีไฟโดยวิธี Hydraulic flow calculations กรณีศึกษา : อาคารสูงและขนาดใหญ่พิเศษ. วิศวกรรมสาร มก, 90(7), 77-92.
แนวหน้า. (2562). ไฟไหม้ ห้องเก็บเอกสาร ราชภัฏสวนสุนันทา ควบคุมเพลิงได้แล้ว. ค้นเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2562,จาก https://www.naewna.com/local/402962.
บุษกร แสนสุข. (2553). การวิเคราะห์เส้นทางหนีไฟ และการคำนวณระยะเวลาอพยพโดยวิธี Hydraulic Analogy อาคารใหม่ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกลมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมป้องกันอัคคีภัย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ฝ่ายอาคารและสถานที่ มหาลัยวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. (2561). ข้อมูลด้านอาคาร 9. สัมภาษณ์ โดย กาญจนา จีระออน. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.
รัตน์ปราณี พันมานิมิตร, กาญจนา จีระออน, & อารยาวดี ทองสีนวล. (2561). โครงการการสำรวจอาคารด้านความปลอดภัย มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. กรุงเทพฯ: สาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย.
วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์, วสท. (2555). มาตรฐานการป้องกันอัคคีภัย (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์.
สำนักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม. (2548). คู่มือการป้องกันและระงับอัคคีภัยในโรงงานอุตสาหกรรม โรงงานผลิตแป้งจากพืช. กรุงเทพฯ: ไฟร์เทคอินโนเวชั่น.
National Fire Protection Association. (2003). NFPA 101 Life Safety Code. (2003 ed). USA: NFPA.
Yang, P., Chao, L., & Dehun, C. (2013). Fire emergency evacuation simulation based on integrated fire–evacuation model with discrete design method. Retrieved April 25, 2018, from: http://www.elsevier.com/locate/advengsoft.