ความชุกของภาวะโลหิตจางและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการบริจาคโลหิตได้ในนักศึกษาหญิงระดับอุดมศึกษา จังหวัดนครราชสีมา
คำสำคัญ:
ภาวะโลหิตจาง, การบริจาคโลหิตได้, นักศึกษาหญิงระดับอุดมศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาความชุกภาวะโลหิตจางและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการบริจาคโลหิตได้ ในนักศึกษาหญิง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาหญิงที่สมัครใจบริจาคโลหิตให้กับสภากาชาดไทย จำนวน 279 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ประกอบด้วย 4 ส่วน ดังนี้ 1) ข้อมูลทั่วไปปัจจัยส่วนบุคคล 2) ปัจจัยด้านสุขภาพ 3) ปัจจัยด้านการบริโภคอาหาร 4) ค่าความเข้มข้นของสารสีแดงในเลือด (ฮีโมโกลบิน) และผลการบริจาคโลหิต โดยผู้มีภาวะโลหิตจางกำหนดให้ Hb<12 g/dl และผู้ที่สามารถบริจาคหิตได้ Hb ตั้งแต่ 12.5 g/dl วิเคราะห์หาความสัมพันธ์เพื่อหาปัจจัย ที่มีความสัมพันธ์กับการบริจาคโลหิตได้ ด้วยสถิติทดสอบไคสแคว์ สถิติ Fisher exact test และวิเคราะห์ถดถอย แบบ Multiple logistic regression ด้วยเทคนิคการวิเคราะห์แบบขจัดออกทีละตัวแปร (Backward elimination) โดยคัดเลือกตัวแปรจาก การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ ตัวแปรที่มีค่า p-value<0.05 นำเสนอค่า adjusted OR และช่วงเชื่อมั่น 95% CI
ผลการศึกษาพบความชุกของภาวะโลหิตจางในนักศึกษาหญิงระดับอุดมศึกษาเท่ากับร้อยละ 25.4 อัตราการบริจาคโลหิตได้ ร้อยละ 64.5 จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ พบว่า ดัชนีมวลกาย (Body Mass Index: BMI) และการบริโภคเมล็ดงามีความสัมพันธ์กับการบริจาคโลหิตได้ในนักศึกษาหญิงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value=0.010, p-value=0.024, ตามลำดับ) โดยผู้ที่มีน้ำหนักเกิน (BMI 23 กก./ตร.ม ขึ้นไป) มีโอกาสบริจาคเลือดได้ 1.99 เท่า (ORadj=1.99, 95% CI; 1.18–3.38) เมื่อเทียบกับผู้ที่มีดัชนีมวลกายน้อยกว่า 23 กก./ตร.ม และ ผู้ที่รับประทานเมล็ดงามากกว่าหรือเท่ากับ 1–3 ครั้ง/สัปดาห์ มีโอกาสบริจาคโลหิตได้เป็น 2.59 เท่า (ORadj=2.59, 95% CI; 1.13–5.91) เมื่อเทียบกับผู้ที่รับประทานเมล็ดงาน้อยกว่า 1–3 ครั้ง/สัปดาห์ จากผลการศึกษาครั้งนี้ชี้ว่า หนึ่งในสี่ของนักศึกษาหญิงมีภาวะโลหิตจาง สองในสามสามารถบริจาคโลหิตได้ โดยดัชนีมวลกาย (Body Mass Index: BMI) และการรับประทานเมล็ดงามีความสัมพันธ์กับการบริจาคโลหิตได้ ดังนั้น เพื่อลดภาวะโลหิตจาง และเพิ่มจำนวนผู้ที่สามารถบริจาคโลหิตได้ มากขึ้นควรสนับสนุนการให้ความรู้ด้านสุขภาพ และการเลือกบริโภคอาหาร รวมถึงให้ความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง อาหารที่ช่วยในการดูดซึมธาตุเหล็ก และอาหารที่ขัดขวางการดูดซึมธาตุเหล็ก นอกจากนี้ ควรให้ยาเสริมธาตุเหล็กกับนักศึกษาที่มีภาวะโลหิตจาง ซึ่งนอกจากช่วยลดอัตราการเกิดภาวะโลหิตจางแล้วยังเพิ่มจำนวนผู้ที่สามารถบริจาคโลหิตได้มากขึ้น ส่งผลให้โอกาสรอดชีวิตของผู้ป่วยมีเพิ่มขึ้น
References
กฤตกรณ์ ประทุมวงษ์, รุ่งโรจน์ พุ่มริ้ว, & ปรีชา ลอเสรีวานิช. (2558). ปัจจัยพฤติกรรมและการตัดสินใจ ในการบริจาคโลหิตของบุคลากร มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี. ค้นจาก https://bkkthon.ac.th/home/user_files/department/department-24/files/3-57.pdf
คณะกรรมการจัดทำข้อกำหนดสารอาหารที่ควรได้รับประจำวันของคนไทย. (2546). ปริมาณสารอ้างอิงที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคนไทย พ.ศ. 2546. กรุงเทพฯ: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
คณะทำงานพัฒนาสุขภาวะนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. (2561). รายงานการประชุมคณะทำงานพัฒนาสุขภาวะนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ครั้งที่ 4/2561. นครราชสีมา: ส่วนกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. (เอกสารอัดสำเนา)
คณะอนุกรรมการสังเคราะห์องค์ความรู้ด้านอาหารและโภชนาการสำหรับผู้บริโภค. (2559). องค์ความรู้ด้านอาหารและโภชนาการสำหรับทุกช่วงวัย. นนท์บุรี: สำนักอาหารสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา.
ธนารีย์ มีมุข, วิลิวัลย์ แซกรัมย์, นิภาวรรณ ยุทธยศ, พิชชานันท์ คำสว่าง, เกรียง-ศักดิ์ ไชยวงค์, & สิณีนาฏ อุทา. (2559). ผลการตรวจสุขภาพของผู้บริจาคโลหิตที่เข้ารับบริการที่งาน Donor Care ณ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติสภากาชาดไทย ประจำปีงบประมาณ 2558. ใน การประชุมวิชาการงานบริการโลหิตแห่งชาติ ครั้งที่ 24 ประจำปี พ.ศ. 2559. (หน้า 266) กรุงเทพฯ: ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย.
ธนิดา บุตรคล้าย . (2544). ทัศนคติต่อการบริจาคโลหิตและพฤติกรรมเสี่ยงของนิสิต นักศึกษาระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยในส่วนภูมิภาคที่เกี่ยวข้องกับการบริจาคโลหิต. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปฏิชญา ชัยศรี, กิ่งแก้ว พิมพ์ดี, อรวรรณ พรามดิ่ง, มัทนา จุลท่าหว้า, & วิราศิณี ชัยมณี. (2559). การศึกษาเปรียบเทียบผู้บริจาคโลหิตที่มีความเข้มข้นโลหิตต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ปี 2556-2558 ภาคบริการโลหิตแห่งชาติที่ 6 จังหวัดขอนแก่น. วารสารโลหิตวิทยาและเวทศาสตร์โลหิต, 26(3), 267.
พนารัตน์ บุญฤทธิการ. (2542). ปริมาณวิตามินซีที่มีผลต่อการเพิ่มธาตุเหล็กที่ดูดซึมได้ในอาหารที่มีเส้นใยและไฟเตท โดยการศึกษาในหลอดทดลอง. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาโภชนวิทย. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.
พรชนิตว์ ตั้งสุวรรณโสภิณ. (2557). ความชุกและปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะเลือดจางในนักศึกษาหญิงระดับอุดมศึกษา จังหวัดขอนแก่น. ขอนแก่น: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
พิมล เชี่ยวศิลป์. (2012). มาตรฐานการเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวกับการบริจาคโลหิต. วารสารโลหิตวิทยาและเวชศาสตร์บริการโลหิต, 22(3), 161-164.
ศุภิสรา วรโคตร, ผ่องศรี เถิงนำมา, นันทา ศรีนา, & ปราณี ธีรโสภณ. (2554). ผลการพัฒนาแบบคัดกรองภาวะโลหิตจางเบื้องต้นในหญิงวัยเจริญพันธุ์โดยอาสาสมัครสาธารณสุข ตำบลจันท์เพ็ญ อำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร. การพยาบาลและการศึกษา, 4(2), 2-9.
ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย. (2557). รายงานการปฏิบัติงานและผลงานประจำปี 2556 ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย. กรุงเทพฯ: ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย.
ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย. (2559). คู่มือการประชาสัมพันธ์ โครงการและกิจกรรมรณรงค์จัดหาผู้บริจาคโลหิต ประจำปี 2559. ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย.
อรุณ จิรวัฒน์กุล. (บรรณาธิการ). (2557). สถิติในงานวิจัยเลือกใช้อย่างไรให้เหมาะสม. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.
Kraemer, K. (Ed.). (2007). Nutritional anemia. Switzerland: Sign and life.
National Blood Centre, Thai Red Cross society. (2008). Standards for blood and transfusion services. 2nd ed. New Delhi: National AIDS Control Organization.
World Health Organization. (2008). Worldwide prevalence of anemia 1993-2005: WHO global database on anaemia. Geneva: WHO Press.
World Health Organization. (2012). Global database on blood safety: Summary report 2011. Geneva: WHO.