การจัดทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กรของคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
คำสำคัญ:
การปล่อยก๊าซเรือนกระจก, คาร์บอนฟุตพริ้นท์, มหาวิทยาลัยขอนแก่นบทคัดย่อ
มหาวิทยาลัยขอนแก่น ตระหนักถึงปัญหาภาวะโลกร้อน จึงจัดให้มีโครงการ Green & Smart Campus เพื่อมุ่งเป็นมหาวิทยาลัยต้นแบบคาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กร โดยมีเป้าหมายจัดทำข้อมูลคาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กรให้ครอบคลุม 33 คณะ/หน่วยงานและหาแนวทางในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เป็นการสนับสนุนนโยบายของประเทศไทยในการบรรลุเป้าหมายที่ 13 การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals–SDGs) ภายในปี 2573 งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กรของคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยการเก็บข้อมูลกิจกรรมที่เกิดขึ้นภายในคณะ แบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่ 1. กิจกรรมที่ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกโดยตรงขององค์กร ได้แก่ ปริมาณการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้ในการเดินทางในการทำงานของบุคลากร การขนส่งของยานพาหนะที่เช่าเหมา ปริมาณสารทำความเย็นในเครื่องปรับอากาศ และปริมาณก๊าซมีเทนจากระบบถังเกรอะ 2. กิจกรรมที่ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกจากการใช้ไฟฟ้า และ 3. กิจกรรมที่ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกโดยอ้อมอื่นๆ ได้แก่ ปริมาณการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงในการเดินทางไปกลับที่พักของบุคลากร ปริมาณการใช้น้ำประปา ปริมาณการใช้กระดาษ และปริมาณขยะที่ต้องกำจัด ทำการเก็บข้อมูลตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2556 ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2561 และการใช้ค่าแฟกเตอร์การปล่อยก๊าซเรือนกระจกขึ้นตามประเภทกิจกรรม คำนวณออกมาในรูปของคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (Carbon Dioxide Equivalent; CO2eq) ตามหลักเกณฑ์การคำนวณของ IPCC จากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา คือ ค่าร้อยละ
ผลการศึกษาพบว่า ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้ง 3 ประเภทในช่วง 5 ปี ของคณะสาธารณสุขศาสตร์ รวมทั้งสิ้นเท่ากับ 2,105 ton CO2eq โดยมีประเภทที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุด คือ ประเภทที่ 2การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการใช้ไฟฟ้าเท่ากับ 1,151 ton CO2eq คิดเป็นร้อยละ 55 รองลงมา ประเภทที่ 3 การปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยอ้อมอื่นๆ เท่ากับ 651 ton CO2eq คิดเป็นร้อยละ 31 และประเภทที่ 1 การปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยตรงขององค์กร เท่ากับ 303 ton CO2eq คิดเป็นร้อยละ 14 เมื่อพิจารณากิจกรรมย่อยในประเภทที่ 1 พบว่ากิจกรรมที่เกิดก๊าซเรือนกระจกสูงที่สุด คือ การใช้สารทำความเย็น 168 ton CO2eq คิดเป็นร้อยละ 55 การใช้น้ำมันเชื้อเพลิงจากกิจกรรมขนส่งของยานพาหนะองค์กร เท่ากับ 73 ton CO2eq คิดเป็นร้อยละ 24 การปล่อยสารมีเทนจากระบบถังเกรอะเท่ากับ 37 ton CO2eq คิดเป็นร้อยละ 12 และ การใช้น้ำมันเชื้อเพลิงจากกิจกรรมขนส่งของยานพาหนะที่เช่าเหมาเท่ากับ 26 ton CO2eq คิดเป็นร้อยละ 8 สำหรับกิจกรรมย่อยของประเภทที่ 3 ที่เกิดก๊าซเรือนกระจกมากที่สุด คือ การเดินทางไปกลับระหว่างองค์กรและที่พักของบุคลากรเท่ากับ 468 ton CO2eq คิดเป็นร้อยละ 72 รองลงมาคือขยะเท่ากับ 144 ton CO2eq คิดเป็นร้อยละ 22 โดยน้ำประปาและการใช้กระดาษก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกเท่ากับ 21 และ 17 ton CO2eq คิดเป็นร้อยละ 3 เท่ากัน
ผลการศึกษานี้สามารถใช้ในการกำหนดมาตรการลดก๊าซเรือนกระจกของกิจกรรมต่างๆ ของคณะสาธารณสุขศาสตร์รวมถึงเป็นข้อมูลฐานในการติดตามและประเมินผลภายหลังการดำเนินการตามมาตรการเหล่านั้น เพื่อให้ได้แนวทางที่มีประสิทธิภาพและเป็นกรณีศึกษาสำหรับการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ให้แก่องค์กรอื่น ๆ ต่อไป
References
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย. (2559). บทบาทของประเทศไทยกับการลดก๊าซเรือนกระจก. ค้นเมื่อ 1 กันยายน 2561, จาก https://www.egat.co.th/index.php?option=com_content&view=article&id=1746:article-20161114-01&catid= 49&Itemid=251
ฐิติกร หมายมั่น. (2560). การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กรของมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย [ฉบับออนไลน์]. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 12(2), 195-209.
เทศบาลนครขอนแก่น. (2560). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเทศบาลนครขอนแก่น ปี พ.ศ. 2560-2563. ค้นเมื่อ 2 มกราคม 2562, จาก http://www.kkmuni.go.th/basic-data/environment-data/weather.pdf
ธนัท พูลประทิน, มนตรี สว่างพฤกษ์, & ธำรงรัตน์ มุ่งเจริญ. (2554). การวิเคราะห์คาร์บอนฟุตพริ้นท์ของภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการนานาชาติ วิศวกรรมเคมีและเคมีประยุกต์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 21, หาดใหญ่, สงขลา.
ไพรัช อุศุภรัตน์, & หาญพล พึ่งรัศมี. (2557). การประเมินคาร์บอนฟุตพรินท์องค์กรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต [ฉบับออนไลน์]. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 22(1), 1-13.
วัชระ มั่งวิทิตกุล. (2544). การประหยัดพลังงานในสถานที่ทำงาน (พิมพ์ครั้งที่ 3X. กรุงเทพฯ: ศูนย์อนุรักษ์พลังงานแห่งประเทศไทย.
วัชรา น้อยชมภู. (2560). มข.รุก...ปักธง 33 หน่วยงาน บริหารจัดการบัญชีก๊าซเรือนกระจก. ค้นเมื่อ 1 กันยายน 2561, จาก https://www.kku.ac.th/news/v.php?q=0013993&l=th.
วีรพล ยิ้มสินสมบูรณ์, ณภัทร จักรวัฒนา, & วีระวัฒน์ เมืองคำ. (2555). การจัดทําคาร์บอนฟุตพริ้นท์สําหรับสถาบันการศึกษา กรณีตัวอย่างวิทยาลัยพลังงาน มหาวิทยาลัยพะเยา. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ครั้งที่ 11, เชียงราย
ศูนย์ภูมิอากาศ กองพัฒนาอุตุนิยมวิทยา กรมอุตุนิยมวิทยา (2562). ภูมิอากาศจังหวัดขอนแก่น. ค้นเมื่อ 2 มกราคม 2562, จาก http://climate.tmd.go.th/data/province/ตะวันออกเฉียงเหนือ/ภูมิอากาศขอนแก่น.pdf
สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2560). รายงานความก้าวหน้ารายสองปี ฉบับที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักงาน.
สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน. (2558). โครงการลดใช้พลังงานในภาครัฐปีงบประมาณ 2558. กรุงเทพฯ: สำนักงาน.
องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก(องค์การมหาชน). (2550). ความเป็นมาขององค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน). ค้นเมื่อ 1 กันยายน 2561, จาก http://www.tgo.or.th/2015/thai/content.php?s1=1
IPCC. (2006). 2006 IPCC Guidelines for National Greenhouse Gas Inventories Volume 2 Energy. Japan: Institute for Global Environmental Strategies.