ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสียชีวิตของผู้ประสบอุบัติเหตุที่นำส่งด้วยหน่วยปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินขั้นสูง โดยการรับแจ้งเหตุจากโทรศัพท์หมายเลข1669 ในจังหวัดบุรีรัมย์

ผู้แต่ง

  • ฉัตรธิดา ศรีภู่ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาลัยขอนแก่น
  • เลิศชัย เจริญธัญรักษ์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

หน่วยปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินระดับสูง (ALS), ระดับการคัดแยก (ER Triage), การประเมินตอบสนองของร่างกายหลังการบาดเจ็บ (RTS)

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสียชีวิตของผู้ประสบอุบัติเหตุที่นำส่งด้วยหน่วยปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินขั้นสูง (Advance Life Support: ALS) โดยการรับแจ้งเหตุจากโทรหมายเลข 1669 ในระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2559 ถึงวันที่ 30กันยายน 2561 ในจังหวัดบุรีรัมย์ เป็นการศึกษาแบบ Case control study คัดเลือกตัวอย่างด้วยการสุ่มจากรายงานผ่านระบบ ITEMS สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ผู้ประสบอุบัติเหตุที่ได้รับบริการการช่วยเหลือจากระบบการแพทย์ฉุกเฉินระดับสูง (ALS) ด้วยอาการนำสำคัญรหัส 25 อุบัติเหตุยานยนต์ เก็บข้อมูลจากแบบบันทึกการปฏิบัติงานบริการการแพทย์ฉุกเฉินระดับสูง (ALS) จากระบบรายงาน ITEMS สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติเปรียบเทียบปัจจัยต่างๆ ระหว่างกลุ่มที่เสียชีวิตกับไม่เสียชีวิตโดยใช้ทั้ง Univariate และ Multiple logistic regression

ผลการวิจัย พบว่า ผู้ประสบอุบัติเหตุที่ได้รับบริการการช่วยเหลือจากระบบการแพทย์ฉุกเฉินระดับสูง (ALS) กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 492 ราย จำแนกกลุ่มผู้ประสบอุบัติเหตุที่เสียชีวิตจำนวน 123 ราย และกลุ่มที่ไม่เสียชีวิต จำนวน 369 ราย ซึ่งปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสียชีวิตของผู้ประสบอุบัติเหตุที่นำส่งด้วยหน่วยปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินขั้นสูง (ALS) ได้แก่ ระดับการคัดแยก (ER Triage) ระดับความรุนแรงฉุกเฉินวิกฤต (สีแดง) (ORadj=10.38; 95% CI=4.22-25.51, p-value<0.001) การประเมินการตอบสนองของร่างกายหลังการบาดเจ็บ (RTS) (ORadj=22.28; 95% CI=9.35-48.43, p-value<0.001) และระยะเวลาการเข้าช่วยเหลือผู้ป่วย ณ จุดเกิดเหตุ  (ORadj=2.80; 95% CI=1.11-7.01, p-value<0.028)

จากการศึกษาครั้งนี้ ชี้ให้เห็นว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสียชีวิตของผู้ประสบอุบัติเหตุที่นำส่งด้วยหน่วยปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินขั้นสูง (ALS) ระดับการคัดแยก การประเมินการตอบสนองของร่างกายหลังการบาดเจ็บ และระยะเวลาการเข้าช่วยเหลือผู้ป่วย ณ จุดเกิดเหตุ  ดังนั้นจึงควรเพิ่มประสิทธิภาพในการเข้าถึงการรับบริการด้วยหน่วยปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินขั้นสูง (ALS) ความพร้อมในการปฏิบัติงาน รถปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ และผู้ปฏิบัติงานการแพทย์ฉุกเฉินให้มีความพร้อมในการปฏิบัติงานอย่างทันท่วงที ประชาสัมพันธ์การเข้าถึงบริการการแพทย์ฉุกเฉินด้วยโทร.หมายเลข 1669 หลักการแจ้งเหตุฉุกเฉินให้ประชาชนทราบอย่างถูกต้อง หรือถอดบทเรียนรายกรณี ในกรณีที่เป็นผู้ประสบอุบัติเหตุเสียชีวิตหรือบาดเจ็บรุนแรง เพื่อหาปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน และแนวทางแก้ไขปัญหาในการเข้าช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงที และมีประสิทธิภาพต่อไป

References

กาญจนีย์ ดำนาคแก้ว. (2547). ระบาดวิทยาการบาดเจ็บรุนแรงจากอุบัติเหตุขนส่งในประเทศไทย พ.ศ.2542-2546. ค้นเมื่อ 5 กันยายน 2561, จาก http://ryssurvey.com/vichakarn/index.php

พัชรา สัทธิง, พัชรี พงษ์พานิช, & ณัฐภร ประกอบ. (2560). ระยะเวลาการปฏิบัติงานการแพทย์ฉุกเฉินของหน่วยปฏิบัติการแพทย์ฉุกเฉิน โรงพยาบาลชัยนาทนเรนทร. ค้นเมื่อ 9 กันยายน 2561, จาก www.chainathospital.org/chainatweb/assets/research/research19.pdf

เมษญา ชาติกุล. (2560). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเสียชีวิตของผู้ประสบอุบัติเหตุที่นำส่งด้วยหน่วยปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินขั้นสูงในประเทศไทย. ค้นเมื่อ 11 กันยายน 2561, จาก https://www.tci-thaijo.org/index.php/ppkjournal/article/ download/67953/55406

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. (2561ก). ผลการดำเนินงานของระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินจังหวัดบุรีรัมย์. ค้นเมื่อ 5 กันยายน 2561, จาก https://ws.niems.go.th/ITEMS_DWH/

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. (2561ข). พระราชบัญญัติการแพทย์ฉุกเฉิน 2551. ค้นเมื่อ 7 กันยายน 2561, จาก http://www.niems.go.th/th/View/Page.aspx?PageId=25560110092228962

สำนักระบบการแพทย์ฉุกเฉินจังหวัดบุรีรัมย์. (2561). ระบบการแพทย์ฉุกเฉินจังหวัดบุรีรัมย์. บุรีรัมย์: สำนักระบบการแพทย์ฉุกเฉินจังหวัดบุรีรัมย์.

อำนาจ กาศสกุล, อรพรรณ โตสิงห์, อรพรรณ โตสิงห์, ปรางทิพย์ ฉายพุทธ, ปรางทิพย์ ฉายพุทธ, & ดาริน เช้าทวี. (2554). ปัจจัยทำนายผลลัพธ์การบาดเจ็บของผู้ป่วยผู้ใหญ่ในระยะเร่งด่วนฉุกเฉิน. วารสารสภาการพยาบาล, 26(4), 30-42.

Murad, M. K., Larsen, S., & Husum, H. (2012). Prehospital trauma care reduces mortality. Ten-year results from a time-cohort and trauma audit study in Iraq. Scandinavian Journal of Trauma, Resuscitation and Emergency Medicine, 20, 13.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-01-27

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ