ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสุขของผู้สูงอายุในตำบลคำใหญ่อำเภอห้วยเม็ก จังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • อรวรรณ แสนบริสุทธิ์ คณะสาธารณสุข มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • เลิศชัย เจริญธัญรักษ์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

ความสุข, สูงอายุ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional analytic study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสุขของผู้สูงอายุและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสุขของผู้สูงอายุในตำบลคำใหญ่ อำเภอห้วยเม็ก จังหวัดกาฬสินธุ์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ ระหว่างเดือนเมษายน - พฤษภาคม 2562 กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่จริงในพื้นที่ตำบลคำใหญ่ อำเภอห้วยเม็ก จังหวัดกาฬสินธุ์ ระยะเวลาที่อาศัยอยู่ตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป จำนวน 230 คน สุ่มตัวอย่างกระจายตามหมู่บ้านแบบแบ่งชั้น วิเคราะห์โดยใช้สถิติพรรณนา และหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่าง ๆ กับความสุขของผู้สูงอายุ โดยสถิติถดถอยพหุลอจิสติก นำเสนอผลการวิเคราะห์ด้วย Adjusted odds ratio (ORadj) ช่วงความเชื่อมั่น 95% และค่า p-value

ผลการศึกษา พบว่า ความสุขของผู้สูงอายุในตำบลคำใหญ่ อำเภอห้วยเม็ก จังหวัดกาฬสินธุ์ มีความสุขในระดับมาก ร้อยละ 55.22 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสุขของผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญที่ p-value<0.05 คือ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน (ORadj =0.50, 95% CI=0.29-0.87, p-value= 0.014) และปัจจัยด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม (ORAdj=1.90, 95% CI=0.07-1.21, p-value=0.027)

ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีการบริหารจัดการรายได้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ส่งเสริมมีส่วนร่วมในสังคม วันสำคัญของไทยและการเข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนาเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวทางจิตใจให้มีจิตใจที่สงบสุขและมีความสุขได้ดียิ่งขึ้น รวมถึงให้ความตระหนักถึงการอยู่ร่วมกันในครอบครัว ค่อยเกื้อหนุนคนในครอบครัว ให้ความเคารพนับถือ ให้เกียรติและเห็นคุณค่ากันและกัน สิ่งเหล่านี้จะช่วยสร้างสร้างสัมพันธภาพที่ดีในครอบครัว ทำให้ผู้สูงอายุดำเนินชีวิตได้อย่างปกติสุขและมีสุขภาพจิตที่ดี

 

 

References

กรมสุขภาพจิต. (2558). สรุปผลที่สำคัญการสำรวจสุขภาพจิต (ความสุข) คนไทย สิงหาคม พ.ศ. 2558. กรุงเทพฯ: สำนักสถิติเศรษฐกิจและสังคม สำนักงานสถิติแห่งชาติ.

กาญจนา ปัญญาธร. (2555). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรรกับความมั่นคงในชีวิตของผู้สูงอายุจังหวัดอุดรธานี. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 22(2), 24-36.

จุฑามาศ นามวงศ์. (2555). การวัดระดับความสุขของประชากรในชุมชนทิพย์เนตร. วิทยานิพนธ์ปริญญาเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ชุติไกร ตันติชัยวนิช. (2551). ความสุขในชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดระยอง. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาอนามัยครอบครัว บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.

ชุติมา สินชัยวนิชกุล, & จิราพร เกศพิชญวัฒนา. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการสูงวัยอย่างมีสุขภาวะของผู้สูงอายุในชุมชนเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารพยาบาลทหารบก, 19(ฉบับพิเศษ), 100-109.

จิตนภา ฉิมจินดา. (2555). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสุขในชีวิตของผู้สูงอายุในชุมชน จังหวัด นครปฐม. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยคริสเตียน.

ฐิติพร ซารัมย์. (2555). สถานการณ์และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสุขของผู้สูงอายุใน จังหวัดร้อยเอ็ด. รายงานการศึกษาอิสระปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารสาธารณสุข บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ณัฐกานต์ สำเนียงเสนาะ. (2556). ปัจจัยทำนายความสุขของผู้สูงอายุในชุมชน จังหวัดฉะเชิงเทรา. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.

ทวีชัย เชสูงเนิน. (2554). ความอยู่ดีมีสุขและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของผู้สูงอายุที่เป็นสมาชิกสมาคมข้าราชการบำเหน็จบำนาญและผู้สูงอายุ จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

บุณฑริกา ลอยมา. (2557). การวัดความสุขของกลุ่มผู้สูงอายุในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชศรีมา. รายงานการศึกษาอิสระปริญญาเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

บีบีซี นาวิเกชัน. (2561). รายงานความสุขโลก: ฟินแลนด์เป็นประเทศที่มีความสุขที่สุด. ค้นเมื่อ 12 ตุลาคม 2561, จาก https://www.bbc.com/thai/international-43426122

ปิยภรณ์ เลาหบุตร. (2557). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชุมชนหมู่ 7 ตำบลพลูตาหลวง อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารทั่วไป บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.

ภัทร ถามล. (2554). ความสุขในชีวิตของผู้สูงอายุในชุมชนเมือง: กรณีศึกษาชุมชนวัดไชยทิศ. วิทยานิพนธ์ปริญญาสังคมสงเคราะห์ ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ระวิวรรณ แสงฉาย, รุ่งโรจน์ พุ่มริ้ว, ปิยะธิดา ขจรชัยกุล, วราภรณ์ ขัดทาน, อภิเชษฐ์ จำเนียรสุข, ชิราวุธ ปุญณวิช, และคณะ. (2555). ความสุขในชีวิตของผู้สูงอายุ เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี.

รัตนา คัมภิรานนท์, ฐิติมา เดียววัฒนวิวัฒน์, นารีรัตน์ ผุดผ่อง, และกมล อาจดี. (2556). ความผาสุกทางจิตวิญญาณและความสุขของผู้สูงอายุ: กรณีศึกษาศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ บ้านบางละมุง อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี. ชลบุรี: วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธรจังหวัดชลบุรี.

วรรณวิสาข์ ไชยโย. (2555). ทรรศนะเรื่องความสุขในผู้สูงอายุ: กรณีศึกษาบ้านวัยทองนิเวศน์. วารสารมนุษยศาสตร์สาร, 13(1), 16-30.

วรวุฒิ สุนทรทัต. (2550). ระดับความสุขครอบครัวประชาชนในตำบลบางทอง อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา. รายงานการศึกษาอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2557). ประชากรสูงอายุไทย: ปัจจุบันและอนาคต. กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.

สมพร โพธินาม, พิศ แสนศักดิ์, จงกล พูลสวัสดิ์, วิรัตน์ ปานศิลา, ชนิศา ปานศิลา, ชนัตถา พลอยเลื่อมแสง, และคณะ. (2552). ผู้สูงอายุไทย: บริบทของจังหวัดมหาสารคาม. วารสารศรีนครินทรเวชศาสตร์, 24(3), 197-205.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์. (2561ก). กลุ่มรายงานมาตรฐาน ประชากร ปิรามิดประชากรจำแนกเพศ กลุ่มอายุ. ค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2561, จาก https://ksn.hdc.moph.go.th/hdc/reports/

สำนักงานสถิติจังหวัดกาฬสินธุ์. (2561ข). บทวิเคราะห์ รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจและสังคม จังหวัดกาฬสินธุ์ ปี 61. ค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2562, จาก http://kalasin.nso.go.th/

สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ. (2554). เอแบคโพลล์: แนวโน้มความสุขมวลรวม (Gross Domestic Happiness หรือ GDH) ของคนไทยภายในประเทศ ประจำเดือนมีนาคม 2554. ค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2561, จาก https://www.ryt9.com/ s/abcp/1126777

Hsieh, F. Y., Bloch, D. A., & Larsen, M. D. (1998). A simple method of sample size calculation for linear and logistic regression. Statistics in Medicine, 17, 1623-1634.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-02-18

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ