ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะอ้วนลงพุงในวัยทำงาน (15-59 ปี) อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • ภัทราพร ชูศร คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ภัทระ แสนไชยสุริยา

คำสำคัญ:

ภาวะน้ำหนักเกิน, ภาวะอ้วน, ภาวะลงพุง, ภาวะอ้วนลงพุง, ความเชื่อด้านสุขภาพ

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง (Cross sectional analytical study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับความชุกและปัจจัยที่มีผลต่อภาวะอ้วนลงพุงของวัยทำงานอายุ 15-59 ปี ในพื้นที่อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี โดยทำการศึกษาระหว่างเดือนกันยายน 2561 - พฤษภาคม 2562 จำนวนตัวอย่าง 546 คน ได้จากการสุ่มแบบ Cluster sampling เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติทดสอบ Chi-Square และสถิติ Multiple-Logistic regression นำเสนอด้วยค่า Odds Ratio และ 95% Confident Interval กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ค่า p–value=0.05 ผลการศึกษาพบความชุกของภาวะน้ำหนักเกิน ร้อยละ 21.43 ภาวะอ้วน ร้อยละ 31.14 ภาวะลงพุง ร้อยละ 32.97 ภาวะอ้วนลงพุง ร้อยละ 22.16 และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะอ้วนลงพุงโดยควบคุมอิทธิพลของตัวแปร ได้แก่ เพศหญิง (ORadj=2.68 95% CI; 1.54-4.67) การกินเนื้อสัตว์ไขมันสูง เนื้อสัตว์ติดมันเป็นประจำ (ORadj=4.15, 95% CI; 1.20-14.27) การศึกษาต่ำกว่าระดับมัธยมศึกษา (ORadj=3.85, 95% CI; 1.07-13.79) การรับรู้อุปสรรคของการป้องกันภาวะอ้วนลงพุงมาก (ORadj= 0.12, 95% CI; 0.02-0.53) การปรุงอาหารกินเอง บางครั้ง (ORadj=0.51, 95% CI; 0.28-0.92) การออกกำลังกายอย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน บางครั้ง (ORadj=0.02, 95% CI; 0.003-0.076) และออกกำลังกายอย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน เป็นประจำ (ORadj=0.003, 95% CI; 0.0006-0.0169) ผลการศึกษานี้สามารถนำไปใช้วางแผนการดำเนินงานด้านการส่งเสริมสุขภาพวัยทำงานต่อไป ปรับให้สอดคล้องกับผลที่แก้ไขแล้ว

Author Biography

ภัทราพร ชูศร, คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

นางสาวภัทราพร ชูศร รหัสนักศึกษา 605110095-0

คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น สาขาโภชนศาสตร์เพื่อสุขภาพ

โทร 0874278542

References

กมลวรรณ อ่อนละมัย. (2550). ปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มอาการเมแทบอลิซึมในผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที่ 2 ที่โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช. วิทยานิพนธ์ปริญญาเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชกรรมคลินิก คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชยาภัสร์ รัตนหิรัญศักดิ์, น้ำอ้อย ภักดีวงศ์, & วารินทร์ บินโฮเซ็น. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมสุขภาพกับการเกิดเมตาบอลิกซินโดรมของพนักงานโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง. วารสารวิชาการ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี), 4(2), 64-74.

ปุญญพัฒน์ ไชยเมล์, & สมเกียรติยศ วรเดช. (2558). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อภาวะอ้วนลงพุงในนิสิต มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง. วารสารสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา, 10(2), 204-206.

พลอยฌญารินทร์ ราวินิจ. (2559). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะอ้วนลงพุงในประชากรตำบลชะแมบ อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 5(2), 33-47.

พัสตราภรณ์ แย้มเม่น. (2555). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพโดยประยุกต์ใช้แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อควบคุมน้ำหนักของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 12(1), 57-66.

ภิษฐ์จีรัชญ์ พัชรกุลธนา, กมลทิพย์ ขลังธรรมเนียม, & วนิดา ดุรงค์ฤทธิชัย. (2558). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคอ้วนลงพุงใกลุ่มวัยผู้ใหญ่เขตเทศบาลตำบลบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารพยาบาลทหารบก, 16(2), 131-139.

วิชัย เอกพลากร และคณะ. (2557). การสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิกแอนด์ดีไซด์.

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. (2557). รายงานสุขภาพคนไทย 2557. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

สุทธิชา สายเมือง. (2559). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเกิดภาวะอ้วนในกลุ่มเด็กระดับประถมศึกษาตอนต้น อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร. ค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2561, จาก http://conference.nu.ac.th/nrc12/downloadPro.php?pID= 30&file=30.pdf

สำนักงานพัฒนาสุขภาพนโยบายระหว่างประเทศ. (2557). รายงานสถานการณ์โรค NCDs ฉบับที่ 2. นนทบุรี: สำนักงานพัฒนาสุขภาพนโยบายระหว่างประเทศ.

สำนักโภชนาการ. (2561). หุ่นดีสุขภาพดี ด้วย 4 พฤติกรรม. นนทบุรี: สำนักโภชนาการ กรมอนามัย.

สำนักโรคไม่ติดต่อ. (2559). กรมควบคุมโรค เดินหน้าพัฒนารูปแบบการลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ใน 3 โครงการ 45 หน่วยงานจังหวัดนำร่อง และเตรียมขยายผลสู่พื้นที่อื่นๆ. นนทบุรี: สำนักโรคไม่ติดต่อ.

Cornier, M. A., Dabelea, D., Hernandez, T. L., Lindstrom, R. C., Steig, A. J., Stob, N. R., et al. (2008). The metabolic syndrome. Endocrine Reviews, 29(7), 777–822.

Earl, S. W., & William, H. (2007). Prevalence of the metabolic syndrome among U.S. adults findings from the third national health and nutrition examination survey. The Journal of the American Medical Association, 287(3), 356-359.

Glanz, K., Rimer, K. R., & Viswanath, K. (2008). Health behavior and health education: Theory, research, and practice. 4th ed. San Francisco: Jossey-Bass.

Jen, T. H., Tam, H. P., & Wu, M. (2011). An estimation of the design effect for the two-stage stratified cluster sampling design. Journal of Research in Education Sciences, 56(1), 33-65.

Josephine, Y., Hidde, P., Dafna, M., Tien, C., & Adrian, E. (2012). Cross-sectional associations between occupational and leisure-time sitting, physical activity and obesity in working adults. Preventive Medicine, 54(3-4), 195–200.

Likert, R. (1967). The method of constructing and attitude scale. New York: Wiley & Sons.

World Health Organization [WHO]. (2018). Obesity and overweight. Retrieved September 5, 2018, from http://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/obesity-and-overweight

World Health Organization Regional office for Europe. (2018). Body mass index-BMI. Retrieved September 5, 2018, from http://www.euro.who.int/en/health-topics/disease-prevention/ nutrition/a-healthy-lifestyle/body-mass-index-bmi

Yates, T., Davies, M. J., Henson, J., Troughton, J., Edwardson, C., Gray, L. J., et al. (2012). Walking away from type 2 diabetes: trial protocol of a cluster randomised controlled trial evaluating a structured education programme in those at high risk of developing type 2 diabetes. BMC Family Practice, 13, 46.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-01-09

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ