ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะก่อนการบำบัดทดแทนไต ในอำเภอห้วยราช จังหวัดบุรีรัมย์
คำสำคัญ:
คุณภาพชีวิต, ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะก่อนการบำบัดทดแทนไต, บุรีรัมย์บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง (Cross - sectional analytical study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะก่อนการบำบัดทดแทนไต ในอำเภอห้วยราช จังหวัดบุรีรัมย์ ผู้เข้าร่วมการศึกษาวิจัยเป็นผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะก่อนการบำบัดทดแทนไต ที่ขึ้นทะเบียนรักษาในโรงพยาบาลห้วยราช กลุ่มตัวอย่างจำนวน 285 คน นำข้อมูลมาวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆ กับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะก่อนการบำบัดทดแทนไต โดยสถิติถดถอยพหุลอจิสติก นำเสนอผลการวิเคราะห์ด้วย Adjusted odds ratio (ORadj) ช่วงความเชื่อมั่น 95% และค่า p-value
ผลการศึกษา พบว่า ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะก่อนการบำบัดทดแทนไต จำนวน 285 คน พบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 69.12 โดยมีอายุมากกว่า 60 ปี ร้อยละ 74.74 (อายุเฉลี่ย 67 ปี, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 12.18) ระดับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะก่อนการบำบัดทดแทนไต ส่วนใหญ่อยู่ในระดับที่ไม่ดี ร้อยละ 62.11 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์คุณภาพชีวิตผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะก่อนการบำบัดทดแทนไต อย่างมีนัยสำคัญที่ p-value < 0.05 ได้แก่ การดำรงตำแหน่งในชุมชน (ORadj=3.14, 95% CI=1.48-6.64, p-value=0.003) การไปรักษาโรคไตเรื้อรัง (ORad=4.89, 95% CI=1.66-14.06, p-value=0.004) และอัตราการกรองของไต (ORad= 2.25, 95% CI=1.05-4.86, p-value=0.038)
จากการวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า ทีมสุขภาพที่ให้การดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ควรมีการวางแผนเพื่อดูแลผู้ป่วย มีการสนับสนุนให้มีการรวมกลุ่มของผู้ป่วยโดยการจัดกิจกรรมต่างๆ ในชุมชนเพื่อให้รู้สึกว่ามีบทบาทในชุมชน มีการให้ความสำคัญเรื่องการมารับการรักษาตามนัดในแต่ละครั้ง เช่น การประชาสัมพันธ์ให้ผู้ป่วยที่มีรถส่วนตัวให้พาผู้ป่วยที่ไม่มีรถส่วนตัวมาด้วย โดยอาจเป็นการรวมกลุ่มผู้ป่วยในแต่ละนัดและมีการเฉลี่ยค่าเดินทางกัน เป็นต้น และควรจะมีการให้ความรู้และจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคอาหารที่ถูกต้องของผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยมีความรู้เกี่ยวกับอาหารที่ควรรับประทานและอาหารที่ควรหลีกเลี่ยง เพื่อรักษาระดับอัตราการกรองของไต และเกิดความตะหนักถึงความรุนแรงของโรค มีการปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้อง
References
กมลวรรณ สาระ, สมชาย สุริยะไกร, & จุไรรัตน์ ทุมนันท์. (2559). ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดไตวายเรื้อรังระยะที่ 3-5 ในโรงพยาบาลตระการพืชผล จ.อุบลราชธานี. ค้นเมื่อ 2 กันยายน 2561, จาก https://gsbooks.gs.kku.ac.th/59/ingrc2016/ pdf/MMP22.pdf
กรมสุขภาพจิต. (2545). เครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อ ฉบับภาษาไทย (WHOQOL–BREF–THAI). นนทบุรี: กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข.
ปัฐยาวัชร ปรากฏผล. (2558). คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีและไม่มีภาวะแทรกซ้อนและแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ป่วยโรคเรื้อรัง. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.).
รวีวรรณ พงศ์พุฒิพัชร, อรวมน ศรียุกตศุทธ, จงจิต เสน่หา, & นพพร ว่องสิริมาศ. (2556). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังก่อนการบำบัดทดแทนไต. วารสารสมาคมพยาบาลฯ สาขภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 31(1), 52-61.
รัชณีกรณ์ ปาทา, & พรนภา ศุกรเวทย์ศิริ. (2558). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยวัณโรค เครือข่ายสุขภาพ บัวแดงภักดีสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 8(1), 5-13.
สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย. (2560). คำแนะนำสำหรับการดูแลรักษาโรคไตเรื้อรังแบบองค์รวมชนิดประคับประคอง พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: เท็กซ์ แอนด์ เจอร์นัล พับลิเคชั่น.
สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย. (2561). คู่มือการจัดการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะเริ่มต้น. กรุงเทพฯ: ยูเนียนอุลตร้าไวโอเร็ต.
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2561). สปสช. เผย 6 ปี ช่วยผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังเข้าถึงการรักษา ปัจจุบันดูแลกว่า 2.7 หมื่นราย. ค้นเมื่อ 2 กันยายน 2561, จาก https://www.nhso.go.th/frontend/NewsInformationDetail.aspx?newsid=OTU4
เสาวลักษณ์ โพธา, & พรนภา ศุกรเวทย์ศิริ. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรควัณโรคปอดเสมหะพบเชื้อรายใหม่ ในเขตพื้นที่สาธารณสุขที่ 3 จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารโรงพยาบาลสกลนคร, 20(2), 148-158.
อภิเชษฐ์ จำเนียรสุข และคณะ. (2560). คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรังในอำเภอสีชมพู จังหวัดขอนแก่น. วารสารราชพฤกษ์, 15(2), 16-26.
อิศวร ดวงจินดา. (2558). คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 อำเภอหนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 24(6), 1118-1126.
เอกมาศ วงศ์ไพรินทร์, & พรนภา ศุกรเวทย์ศิริ. (2557). การประเมินคุณภาพชีวิตผู้ป่วยเบาหวานที่นับถือศาสนาอิสลามในจังหวัดสตูล ประเทศไทย. ค้นเมื่อ 2 กันยายน 2561, จาก https://gsbooks.gs.kku.ac.th/57/grc15/files/mmp69.pdf
Cella, D., & Nowinski, C. J. (2002). Measuring quality of life in chronic illness: The functional assessment of chronic illness therapy measurement systems. Archives of Physical Medicine and Rehabilitation, 83(12 Suppl 2), S10-S17.
Cruz, M. C., Andrade, C., Urrutia, M., Draibe, S., Nogueira-Martins, L. A., & de Castro Cintra Sesso, R. (2011). Quality of life in patients with chronic kidney disease. Clinics, 66(6), 991–995.
Delgado, C. E. Y., Jaramillo, M. M., Orozco, B. E. O., Santaella, M. H. C., Nuñez, J. J. Y., Muñoz, J. P. L., et al. (2009). Quality of life in patients with chronic kidney disease without dialysis or transplant: A random sample from two insurance companies. Medellín, Colombia, 2008. Nefrologia: Publicacion Oficial De La Sociedad Espanola Nefrologia, 29(6), 548–556.
Ferrans, C. E., Zerwic, J. J., Wilbur, J. E., & Larson, J. L. (2005). Conceptual model of health-related quality of life. Journal of Nursing Scholarship, 37(4), 336–342.
Fructuoso, M., Castro, R., Oliveira, L., Prata, C., & Morgado, T. (2011). Quality of life in chronic kidney disease. Nefrologia: Publicacion Oficial De La Sociedad Espanola Nefrologia, 31(1), 91–96.
Hansen, R. A., Chin, H., Blalock, S., & Joy, M. S. (2009). Predialysis chronic kidney disease: Evaluation of quality of life in clinic patients receiving comprehensive anemia care. Research in Social & Administrative Pharmacy, 5(2), 143–153.
Hsieh, F. Y., Bloch, D. A., & Larsen, M. D. (1998). A simple method of sample size calculation for linear and logistic regression. Statistics in Medicine, 17(14), 1623–1634.
Valan, P. A. (2017). A study to assess the psychosocial problems and quality of life among chronic renal failure patients undergoing hemodialysis in selected hospital at Cuttack with a view to develop an information booklet. IOSR Journal of Nursing and Health Science, 6(2), 1–4.
World Health Organization [WHO]. (1996). WHOQOL-BREF: Introduction, administration, scoring and generic of the assessment, field trial version. Geneva: WHO.