ปัจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์กับความผิดปกติของระบบโครงร่างกล้ามเนื้อจากการทำงานในพนักงานโรงน้ำดื่ม อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์

ผู้แต่ง

  • กมลชนก สหุนาฬุ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • พรพรรณ สกุลคู คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

พนักงานโรงน้ำดื่ม, อาการผิดปกติของระบบโครงร่างกล้ามเนื้อ, ปัจจัยเสี่ยงด้านการยศาสตร์

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยในครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional Descriptive Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงปัจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์กับความผิดปกติของระบบโครงร่างกล้ามเนื้อจากการทำงานในพนักงานโรงน้ำดื่ม อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 64 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามแบบมีโครงสร้างชัดเจน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (descriptive  statistics) และสถิติ chi-squared test กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ P-value 0.05

ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิง ร้อยละ 59.38 มีอายุระหว่าง 40 ปีขึ้นไป ร้อยละ 29.69 มีระดับการศึกษาประถมศึกษา ร้อยละ 37.56 สถานภาพสมรส ร้อยละ 68.75 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนอยู่ระหว่าง 5,001-10,000 บาท ร้อยละ 82.81 มีประสบการณ์ในการทำงานส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง 1-2 ปี ร้อยละ 53.13 น้ำหนักถังน้ำที่ยักหนักส่วนใหญ่ น้ำหนัก 18.9 กิโลกรัม ร้อยละ 81.25 โดยไม่มีเครื่องช่วยผ่อนแรงในการยกถังน้ำ ร้อยละ 90.63 กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ไม่เคยได้รับการอบรมเกี่ยวกับการป้องกันความผิดปกติของระบบโครงร่างกล้ามเนื้อ ร้อยละ 95.31 การศึกษาอาการและความรุนแรงความผิดปกติของระบบโครงร่างกล้ามเนื้อในระยะ 3 เดือนที่ผ่านมา ส่วนของร่างกายข้างขวาและข้างซ้ายแยกตามบ่งชี้ความรุนแรงของความผิดปกติกล้ามเนื้อ พบว่าทั้งสองข้างบริเวณที่ปวดมากคือ มือและข้อมือร้อยละ 25.76, 34.38 ตามลำดับ มีความชุกอาการผิดปกติของระบบโครงร่างกล้ามเนื้อร้อยละ 57.81 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความผิดปกติของระบบโครงร่างกล้ามเนื้อในพนักงานโรงน้ำดื่มได้แก่ อายุ (Chi-Square=9.922, p-value= 0.019), สถานภาพสมรส (Chi-Square=9.3708, p-value=0.025), การออกกำลังกาย (Chi-Square=10.0727, p-value=0.006)และท่าทางการทำงานของลำตัวที่มีการโน้มตัวไปด้านหน้า (Chi-Square=30.276, p-value<0.001) จากปัจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์กับความผิดปกติของระบบโครงร่างกล้ามเนื้อจากการทำงาน ควรจัดให้มีการเฝ้าระวังป้องกันโรคทางระบบโครงร่างกล้ามเนื้อ และลดความเสี่ยงและวางแผนการป้องกันความผิดปกติของระบบโครงร่างกล้ามเนื้อจากการทำงานในพนักงานโรงน้ำดื่ม เช่น การอบรมทางการยศาสตร์การทำงานแก่พนักงาน การมีเครื่องผ่อนแรงในการยกถังน้ำดื่ม เป็นต้น

Author Biography

พรพรรณ สกุลคู, คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

  รศ.ดร. พรพรรณ   สกุลคู  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ (Associate Professor) สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัย และความปลอดภัย คณะสาธารณสุขศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น  เบอร์โทรศัพท์มือถือ 085-7522682  อีเมล  spornp@kku.ac.th

References

กลุ่มอาชีวอนามัย สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม. (2559). คู่มือการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายการจัดบริการอาชีวอนามัยให้กับแรงงานในชุมชนด้านการยศาสตร์. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค.

จตุพร เลิศฤทธิ์. (2550). การประเมินความเสี่ยงต่อความเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อในคนงานโรงงานทอผ้า อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ธัญญาวัฒน์ หอมสมบัติ. (2554). ภาวะปวดหลังและรยางค์ส่วนบนในแรงงานนอกระบบกลุ่มไม้กวาดร่มสุข ตำบลพังทุย อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

พีรพงษ์ จันทราเทพ. (2554). ปัจจัยด้านการยศาสตร์และความชุกของการปวดหลังส่วนล่างในพนักงานเก็บขนขยะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดหนองบัวลำภู. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สสิธร เทพตระการพร. (2542). โรคปวดหลังจากการทำงาน. สถานการณ์ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม, 4(3), 42-47.

สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค. (2560). รายงานสถานการณ์โรคและภัยสุขภาพจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม ปี 2560. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค.

สำนักงานประกันสังคม. (2560ก). สถิติการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน. ค้นเมื่อ 20 กันยายน 2560, จากhttps://www.sso.go.th/wpr/assets/upload/files_storage/sso_th/4357fd4e5cf94ff8106af06fde8e892e.pdf

สำนักงานประกันสังคม. (2560ข). สถิติการประสบอันตรายหรือการบาดเจ็บเนื่องจากการทำงาน: จำแนกตามความรุนแรงและประเภทกิจการ ปี 2560 ในประทศไทย. ค้นเมื่อ 20 กันยายน 2560, จากhttps://www.sso.go.th/wpr/assets/upload/ files_storage/sso_th/dabd372c6ef6f42f38d553330097

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์. (2560ก). สาเหตุการป่วยของผู้ป่วยนอกตามกลุ่มโรค10 อันดับแรก เขตสุขภาพที่ 9 จังหวัดบุรีรัมย์ ปีงบประมาณ 2561. ค้นเมื่อ 20 กันยายน 2560, จาก https://brm.hdc.moph.go.th/hdc/reports/report.php? source=pformated/format2.php&cat_id=491672679818600345dc1833920051b2&id=65fdb98bca9c344737fcb1fd4b64e9e5.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์. (2560ข). สาเหตุการป่วยของผู้ป่วยนอกตามกลุ่มโรค10 อันดับแรก เขตสุขภาพที่ 9 จังหวัดบุรีรัมย์ CUP โรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติ ปีงบประมาณ 2561.ค้นเมื่อ 20 กันยายน 2560, จาก https://brm.hdc.moph.go.th/hdc/reports/report.php?source=pformated/format2.php&cat_id=491672679818600345dc1833920051b2&id=65fdb98bca9c344737fcb1fd4b64e9e5.

Kuorinka, I., Jonsson, B., Kilbom, A., Vinterberg, H., Biering-Sørensen, F., Andersson, G., et al. (1987). Standardised Nordic questionnaires for the analysis of musculoskeletal symptoms. Applied Ergonomics, 18(3), 233–237.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-02-18

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ