ประสิทธิผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกาย ในกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่มีภาวะน้ำหนักเกิน ในอำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ

ผู้แต่ง

  • จุฑาธิป ผาดไธสง คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • จุฬาภรณ์ โสตะ วิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย
  • อัมพรพรรณ ธีรานุช คณะพยาบาลศาสตร์ กลุ่มวิจัยโรคเรื้อรังและพัฒนานวัตกรรม และศูนย์วิจัยและฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตคนวัยแรงงาน มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

โปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม, ภาวะน้ำหนักเกิน, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

บทคัดย่อ

ปัจจุบันภาวะน้ำหนักเกินเป็นปัญหาที่สำคัญในทุกระดับและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เกิดจากพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายที่เปลี่ยนแปลงไป ดังนั้นการแก้ไขปัญหาภาวะน้ำหนักเกินจึงควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทั้งการบริโภคอาหารและการออกกำลังกาย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายในกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่มีภาวะน้ำหนักเกิน กลุ่มตัวอย่างเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่มีภาวะน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐานตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด ในอำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบกลุ่มละ 45 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมประกอบด้วยกิจกรรมต่างๆ ได้แก่ การบรรยายให้ความรู้ แจกคู่มือ การอภิปรายกลุ่ม การจัดกิจกรรมกลุ่ม เสนอตัวแบบจริง สาธิตการประกอบอาหารและฝึกปฏิบัติอาหารเพื่อสุขภาพ จัดโมเดลอาหารตามธงโภชนาการ การออกกำลังกายโดยการเต้นบาสโลบประกอบเพลงลูกทุ่ง การแข่งขันการลดน้ำหนัก ใช้ระยะเวลาดำเนินการ 12 สัปดาห์ เก็บรวบรวมข้อมูลก่อนและหลังการทดลองโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา เปรียบเทียบความแตกต่างด้วย Pair Sample T-test และ Independent Sample T-test กำหนดระดับนัยสำคัญ 0.05 และค่าความเชื่อมั่น 95%CI

ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนค่าเฉลี่ยด้านความรู้เรื่องการออกกำลังกายและการบริโภคอาหาร ด้านการรับรู้ความสามารถของตนเอง ด้านความคาดหวังในผลลัพธ์และด้านการปฏิบัติตนในการออกกำลังกายและการบริโภคอาหารที่เหมาะสม ด้านความรอบรู้ทางสุขภาพเกี่ยวกับการป้องกันภาวะน้ำหนักเกิน สูงกว่าก่อนการทดลองและสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.001) และกลุ่มทดลองมีค่าดัชนีมวลกายและค่าเฉลี่ยของเส้นรอบเอว ลดลงกว่าก่อนการทดลองและแตกต่างกับกลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.001) ดังนั้น โปรแกรมนี้จึงมีผลดีต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร พฤติกรรมการออกกำลังกาย ซึ่งส่งผลให้ค่าดัชนีมวลกายและขนาดของเส้นรอบเอวของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในอำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญลดลงได้

References

1. กนกวรรณ ศิลปกรรมพิเศษ และคณะ. (2554). ผลการเพิ่มสมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมการบริโภค พฤติกรรมการออกกำลังกาย ขนาดเส้นรอบเอวและค่าดัชนีมวลกายของผู้สูงอายุ. วารสารพยาบาลสาธารณสุข, 25(4), 31-48.
2. กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2556). ความฉลาดทางสุขภาพ. กรุงเทพ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จํากัด.
3. จุฬาภรณ์ โสตะ. (2554). แนวคิด ทฤษฎีและการประยุกต์ใช้เพื่อการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ. ขอนแก่น: ภาควิชาสุขศึกษา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
4. ชลธิชา อินทร์จอหอ. (2554). ผลของโปรแกรมการลดน้ำหนักที่มีต่อพฤติกรรมการลดน้ำหนัก
ค่าดัชนีมวลกาย และเส้นรอบเอว ของผู้ที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน กลุ่มอายุ 35-60 ปี. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
5. เมตตา คุณวงศ์และรุจิรา ดวงสงค์. (2553). ประสิทธิผลการใช้โปรแกรมสุขศึกษา เพื่อลดน้ำหนักในกลุ่มวัยทองที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐานโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีความสามารถตนเอง ร่วมกับแรงสนีบสนุนทางสังคม ตำบลบบ้านกู่ อำเภอยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิจัยคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 3(3), 35-44.
6. รุสนี วาอายีตา และคณะ. (2558). ประสิทธิผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพต่อการรับรู้ความสามารถของตนเอง การกำกับตนเอง พฤติกรรมการดูแลตนเองและการลดน้ำหนักของบุคลากรที่มีภาวะน้ำหนักเกิน โรงพยาบาลรามัน จังหวัดยะลา. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 24(2), 90.
7. วราภรณ์ ภูมิภูเขียวและรุจิรา ดวงสงค์. (2552). ประสิทธิผลของการประยุกต์ใช้ทฤษฎีการกำกับตนเองร่วมกับทฤษฎีขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการพัฒนาพฤติกรรมการลดน้ำหนักของข้าราชการ อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย. วารสารวิจัยคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2(1), 79-87.
8. วิชัย เอกพลากร. (2557). รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.
9. วรรัตน์ สุขคุ้มและจิราพร เกศพิชญวัฒนา. (2552). ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการควบคุมน้ำหนักต่อพฤติกรรมการบริโภค ขนาดรอบเอวและค่าดัชนีมวลกายของผู้สูงอายุที่มีภาวะอ้วน. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 18(2), 212-221.
10. ศรีสุดา พรหมภักดี. (2556). ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาโดยกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเพื่อสร้างเสริม ความรอบรู้ทางสุขภาพเกี่ยวกับการป้องกันความรุนแรงทางด้านร่างกายของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 2. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์ , 32(2), 145.
11. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอำนาจเจริญ. (2560). ข้อมูลด้านโภชนาการ ประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป. ค้นเมื่อ 4 สิงหาคม 2560, จาก https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report.php?source=formated/nutri15.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-10-03