ปริมาณความเข้มข้นของเชื้อราและเชื้อแบคทีเรียในอากาศในโรงเลี้ยงสุกร: กรณีศึกษา โรงเลี้ยงสุกรในตำบลเมืองศรีไค อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • กานต์นลินญา บุญที คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • เทียมแข รัมย์ประโคน สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ภาควิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • พรสุดา กองทอง สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ภาควิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • พิรัชฎา มุสิกะพงศ์ สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย สำนักวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

คำสำคัญ:

ความเข้มข้นเชื้อราในอากาศ, ความเข้มข้นเชื้อแบคทีเรียในอากาศ, โรงเลี้ยงสุกร

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปริมาณความเข้มข้นของเชื้อราและเชื้อแบคทีเรียในอากาศของโรงเลี้ยงสุกร จำนวน 5 แห่ง ในตำบลเมืองศรีไค อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี โดยศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเจริญเติบโตของเชื้อราและแบคทีเรีย ได้แก่ อุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์และความเร็วลม ทั้งภายในและนอกโรงเลี้ยงสุกร รวมทั้งปริมาณความหนาแน่นของสุกรต่อพื้นที่ ทำการตรวจวัดปริมาณความเข้มข้นของเชื้อราและแบคทีเรียในอากาศตามวิธีการเก็บตัวอย่างและวิเคราะห์มาตรฐาน  NIOSH Method 0800 ซึ่งใช้ Single Stage Impactor ที่อัตราการไหล 28.3 ลิตรต่อนาทีในการเก็บตัวอย่างเชื้อราและแบคทีเรียในอากาศ และตรวจวัดอุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ และความเร็วลมในพื้นที่ด้วยเครื่องวัดความเร็วลม (Anemometer) ผลการศึกษาพบว่า โรงเลี้ยงสุกรแห่งที่ 4 มีปริมาณความเข้มข้นของเชื้อราในอากาศภายในสูงที่สุด เท่ากับ 1,272.02 CFU/m3 ซึ่งสูงกว่าค่าแนะนำของ American Conference of Governmental Industrial Hygienists (ACGIH) :Air Sampling Instruments for Evaluation of Atmospheric Contaminants (1995) โดยไม่ควรเกิน 1,000 CFU/ m3  นอกจากนี้ พบว่าโรงเลี้ยงสุกรแห่งที่ 3 มีปริมาณความเข้มข้นของเชื้อแบคทีเรียในอากาศสูงที่สุด เท่ากับ  3,494.22 CFU/m3  ซึ่งไม่เกินค่าแนะนำความเข้มข้นของแบคทีเรีย ในงานทางด้านเกษตรกรรมจาก IRSST (Occupational Health and Safety Research Institute Robert Sauvé)  คือ 10,000 CFU/m3 ในอากาศ ตลอดระยะเวลาการทำงาน 8 ชั่วโมง เมื่อทำการทดสอบหาความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ และความเร็วลมที่มีผลต่อการเกิดเชื้อราในอากาศภายในโรงเลี้ยงสุกรจำนวน 5 โรงเรือน โดยใช้สถิติ Spearman Correlation Coefficient พบว่า อุณหภูมิมีความสัมพันธ์ต่อการเกิดเชื้อราในอากาศภายในโรงเลี้ยงสุกรที่ระดับนัยสำคัญ p-value = 0.037 ความชื้นสัมพัทธ์และความเร็วลมไม่มีความสัมพันธ์ต่อปริมาณเชื้อราในอากาศภายในโรงเลี้ยงสุกร นอกจากนั้นในการศึกษานี้ยังพบว่า อุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ ความเร็วลม และความหนาแน่นของสุกรต่อพื้นที่ไม่มีความสัมพันธ์ต่อปริมาณแบคทีเรียในอากาศภายในโรงเลี้ยงสุกรที่ระดับนัยสำคัญ p-value > 0.05 อย่างไรก็ตามควรมีการเฝ้าระวังและการกำหนดให้มีมาตรการควบคุมปริมาณความเข้มข้นของเชื้อราและแบคทีเรียภายในโรงเลี้ยงสุกรให้ลดลง

References

ทรงยศ ภารดี. (2545). การควบคุมสิ่งแวดล้อมทางชีวภาพ. สมาคมวิศวกรรมปรับอากาศแห่งประเทศไทย Cleanroom ห้องสะอาดสำหรับอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรม, 11-17.

พรพรรณ สกุลคู, ศราวุฒิ แสงคำ, & จำลอง อรุณเลิศอารีย์. (2557). สถานที่ฝังกลบมูลฝอยแหล่งแพร่ละอองชีวภาพแขวนลอยสู่บรรยากาศ. วารสารวิจัยคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 7(3), 1-6.

แม้นสรวง วุฒิอุดมเลิศ. (2555). เชื้อที่มากับมลพิษในอาคาร: รา. ค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2559, จาก http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/ th/knowledge/article/116/รา-เชื้อที่มากับมลพิษในอาคาร/

สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม. (2559). คู่มือการปฏิบัติงานเพื่อการตรวจประเมินคุณภาพอากาศภายในอาคารสำหรับเจ้าหน้าที่. นนทบุรี: สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.

อรรณพ สุริยสมบูรณ์, & มงคล เตชะกำพุ. (2553). ผลกระทบของอุณหภูมิและความชื้นที่มีต่อประสิทธิภาพการผลิตของแม่สุกรอุ้มท้องภายใต้ ระบบการเลี้ยงในโรงเรือนที่ต่างกันในประเทศไทย [ฉบับออนไลน์]. การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, (48), 58-66.

Carol, Y. R., Harriet, A. B., & John, C. S. C. (2012). Review of quantitative standards and guidelines for fungi in indoor air. Journal of the Air & Waste Management Association, 46(9), 899-908.

Hsing, J. C., Yenni, G. T., Ruey, Y. C., Hsiu, C. L., Chia, Y. J., Kraiwuth K., et al. (2017). Fungal bioaerosol exposure and its effects on the health of mushroom and vegetable farm workers in Taiwan. Aerosol and Air Quality Research, 17, 2064–2075.

Jung, H. K., & Wan, K. J. (2006). Workplace exposure to bioaerosols in pet shops, pet clinics,and flower gardens. Chemosphere, 65, 1755–1761.

Ko, G., Simmons, O. D., Likirdopulos, C. A., Worley, D. L., Williams M., & Sobsey, M. D. (2008). Investigation of bioaerosols released from swine farms using conventional and alternative waste treatment and management technologies. Environmental Science & Technology, 42(23), 8849–8857.

Małgorzata, S., Karolina, B., Alina, B., Marcin, C., Anna, K., Wojciech, S., et al. (2011). An assessment of potential exposure to bioaerosols among swine farm workers with particular reference to airborne microorganisms in the respirable fraction under various breeding conditions. International Journal of Aerobiology, 28(2), 121–133.

Nicole, G., Jacques, L., Louis, L., & Genevieve, M. (2001). Bioaerosols in the workplace Evaluation control and Prevention Guide. IRSST Occupational Health and Safety Research Institute Robert Sauvé, 35-40.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-01-14

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ