การประเมินแสงสว่างในสถานที่ทำงานในช่วงเวลากะกลางวันและกลางคืนของโรงงานผลิต ชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์แห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรี

ผู้แต่ง

  • พจน์ ภาคภูมิ
  • พงษ์สิทธิ์ บุญรักษา

คำสำคัญ:

แสงสว่างในการทำงาน, ความเข้มแสง, การทำงานกะ, โรงงานผลิตชิ้นส่วน รถจักรยานยนต์

บทคัดย่อ

แสงสว่างที่ไม่เพียงพอในสถานที่ทำงานก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพของผู้ปฏิบัติงาน
และอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุจากการทำงาน การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเข้มแสง
ในสภาพแวดล้อมในการทำงานแยกตามลักษณะงาน ความแตกต่างของความเข้มแสงในช่วง
กะกลางวันและกลางคืน และศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยดังกล่าวกับการผ่านมาตรฐาน
ความปลอดภัยของแสงสว่างในที่ทำงานของโรงงานผลิตชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์แห่งหนึ่ง
ในจังหวัดชลบุรี เป็นการศึกษาวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางโดยทำการตรวจวัดความ
เข้มแสงสว่างจำนวน 984 จุดในอาคารฝ่ายการผลิตด้วยเครื่องตรวจวัดความเข้มแสง โดย
แต่ละจุดทำการตรวจวัด 2 ครั้ง ในช่วงการทำงานกะกลางวันและกลางคืน ประเมินผลการ
ตรวจวัดเปรียบเทียบกับมาตรฐานของกระทรวงแรงงาน
ผลการศึกษาพบว่าความเข้มแสงในกะกลางวันและกะกลางคืนมีค่าแตกต่างกัน
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิต (p-value<0.001) ในทุกลักษณะงาน (งานละเอียดน้อย ปานกลาง
และสูง) โดยค่าความเข้มแสงเฉลี่ยของทุกลักษณะงานในกะกลางวันและกลางคืนมีค่า
เท่ากับ 753.23 ลักซ์ และ 691.88 ลักซ์ ตามลำดับ ความเข้มแสงในสถานที่ทำงานผ่าน
เกณฑ์มาตรฐานคิดเป็นร้อยละ 71.65 ในกะกลางวัน และร้อยละ 66.26 ในช่วงกะ
กลางคืน ร้อยละของการผ่านมาตรฐานจะลดลงตามความละเอียดของงานที่เพิ่มมากขึ้น
(ทั้งในช่วงกะกลางวันและกลางคืน) นอกจากนั้นยังพบว่ากะการทำงานและความละเอียด
ของลักษณะงานมีความสัมพันธ์กับการผ่านมาตรฐานความเข้มแสงของกระทรวงแรงงาน

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-08-08

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ