ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้ป่วยโรคปริทันต์ อายุ 60–74 ปี อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • เครือฟ้า ชาญจะโปะ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • รุจิรา ดวงสงค์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุ, โรคปริทันต์, ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, พฤติกรรมการดูแลรักษาโรคปริทันต์

บทคัดย่อ

โรคปริทันต์โรคเรื้อรังที่เป็นปัญหาสาธารณสุข โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุมีการสูญเสียฟันจากโรคนี้มากที่สุด ในการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้ป่วยโรคปริทันต์ ๆ ต้องมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพช่องปากและการปฏิบัติในการควบคุมปริมาณคราบจุลินทรีย์   การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง โดยมีวัตถุประสงค์ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้ป่วยโรคปริทันต์อายุ 60–74 ปี ในอำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 119 คน การรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูลทั่วไปใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ใช้สถิติ Pearson’s Correlation Coefficient

ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความรู้เเกี่ยวกับโรคปริทันต์ส่วนใหญ่ระดับปานกลางร้อยละ 62.20 การเข้าถึงข้อมูลและการรู้เท่าทันสื่อมากที่สุดระดับปานกลางร้อยละ 48.7 ทักษะในการสื่อสารมากที่สุดระดับปานกลางร้อยละ 49.20 ทักษะการตัดสินใจและความตั้งใจในการดูแลรักษาโรคปริทันต์มากที่สุดระดับดีร้อยละ 46.2 พฤติกรรมการดูแลรักษาโรคปริทันต์ส่วนใหญ่ระดับพอใช้ ร้อยละ 70.60 การสนับสนุนทางสังคมกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ได้รับระดับปานกลางร้อยละ 65.50 ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากกับความรู้เกี่ยวกับโรคปริทันต์ พบว่า พฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก มีความสัมพันธ์กับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคปริทันต์ระดับต่ำ (r=.238, p-value=.009) ความสัมพันธ์ กับการเข้าถึงข้อมูลและการรู้เท่าทันสื่อมีระดับต่ำ (r= .266, p-value=.003) มีความสัมพันธ์กับทักษะในการสื่อสารระดับปานกลาง (r=.342, p-value< .001) มีความสัมพันธ์กับทักษะการตัดสินใจและความตั้งใจในการดูแลรักษาโรคปริทันต์ระดับปานกลาง (r=.537, P-value<.001) มีความสัมพันธ์กับการสนับสนุนทางสังคมระดับปานกลาง (r= .391, P-value<.001)

ข้อเสนอแนะ ควรมีการให้ความรู้เกี่ยวกับโรคปริทันต์ และสนับสนุนทางสังคมเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยดูแลสุขภาพช่องปากตนเอง

References

จารุวรรณ พิมพิค้อ, & สมาน ลอยฟ้า. (2552). การใช้และความต้องการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครขอนแก่น. บรรณารักษศาสตร์และสารมิเทศศาสตร์ มข., 27(1-3), 79-88.

แจ่มจันทร์ วรรณปะเกม & ธนิดา ผาติเสนะ. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางสุขภาพและปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 4(ฉบับพิเศษ), 173-185.

ธารินทร์ คุณยศยิ่ง, ลินจง โปธิบาล, & ทศพร คําผลศิริ. (2558). การพึ่งพาของผู้สูงอายุที่เป็นโรคหลอดเลือดสมอง ภาระการดูแล การสนับสนุนทางสังคม และคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลวัยสูงอายุ. พยาบาลสาร, 42(ฉบับพิเศษ), 107-117.

ประณีต จินตนะ, สายใจ สุขทาน, & ชุมพล ตาแก้ว. (2561). ความสัมพันธ์และอำนาจในการทำนายของการสนับสนุนทางสังคมที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 5(2), 119-131.

ปัทมา สุพรรณกุล, สุทธิชัย ศิรินวล, เจษฎากร โนอินทร์, วิมาลา ชโยดม, & อรพินท์ สิงหเดช. (2560). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จังหวัดสุโขทัย.วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชียฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 11(1), 211-223.

เพชรัตน์ ศิริสุวรรณ, ฉัตรลดา ดีพร้อม, & ลฎาภา วังบง. (2561). ความรู้ การรับรู้ประโยชน์และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ตำบลแวง อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุขและการศึกษา, 19(1), 74–85.

ลักขนา ชอบเสียง, จุฑามาศ โสพัฒน์, ชญานิศ ทองมล, ชลดา สมคะเนย์, ฎาฐิณี ลาภทวี, ณัชชริญา ชินทอง, และคณะ. (2561). ความฉลาดทางสุขภาพของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะเริ่มต้น. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์, 2(2), 30-46.

สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. (2556). สาเหตุของการสูญเสียฟันของผู้สูงอายุ. ค้นเมื่อ 13 ตุลาคม 2560, จาก http://dental.anamai.moph.go.th/elderly/PR/E-book/elderly/keld04.html

สุวิช ถิระโคตร, & วีรพงษ์ พลนิกรกิจ. (2561). พฤติกรรมการใช้และการรู้เท่าทันอินเทอร์เน็ตและทัศคติการใช้เนื้อหาด้านสุขภาวะบนอินเทอร์เน็ตของผู้สูงอายุ. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 36(1), 72-80.

แสงเดือน กิ่งแก้ว, & นุสรา ประเสริฐศรี. (2558).ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรังหลายโรค. วารสารการพยาบาล, 25(3), 43-54.

อนิษฎา เสนพริก, & รุจิรา ดวงสงค์. (2556). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดโรคปริทันต์อักเสบของกลุ่มอายุ 35-44 ปี ในอำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง. วารสารทันตาภิบาล, 24(2), 70-79.

อรพิน คำโต, & รังสิมันต์ สุนทรไชยา. (2557). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการปรับตัวของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าวัยสูงอายุ. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 28(2), 74-87.

อรุณ จิรวัฒน์กุล. (2551). ชีวสถิติสำหรับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. ขอนแก่น : ภาควิชาชีวสถิติและประชากรศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

อรุณี หล้าเขียว, & ทวีวรรณ ชาลีเครือ. (2557). ความฉลาดทางด้านสุขภาพและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการรับประทานยาในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเปียงหลวง จังหวัดเชียงใหม่. รายงานการประชุมวิชาการและนำเสนอผลการวิจัย ระดับชาติและนานาชาติ กลุ่มระดับชาติ ด้านวิทยาศาสตร์, 1(6), 635-649.

American Academy of Periodontology. (2019). Preventing periodontal disease. Retrieved August 2, 2019, from https://www.perio.org/consumer/prevent-gum-disease

Lee, S. Y. D., Arozullah, A. M., & Cho, Y. I. (2004). Health literacy, social support, and health: a research agenda. Social Science & Medicine, 58(7), 1309–1321.

Liu, Y. B., Liu, L., Li, Y. F., & Chen, Y. L. (2015). Relationship between health literacy, health-related behaviors and health status: A survey of elderly Chinese. International Journal of Environmental Research and Public Health, 12(8), 9714–9725.

Nutbeam, D. (2008). The evolving concept of health literacy. Social Science & Medicine, 67(12), 2072–2078.

Proudfoot, J., Parker, G., Hadzi Pavlovic, D., Manicavasagar, V., Adler, E., & Whitton, A. (2010). Community attitudes to the appropriation of mobile phones for monitoring and managing depression, anxiety, and stress. Journal of Medical Internet Research, 12(5), e64.

Román-Malo, L., & Bullon, P. (2017). Influence of the Periodontal Disease, the Most Prevalent Inflammatory Event, in Peroxisome Proliferator-Activated Receptors Linking Nutrition and Energy Metabolism. International Journal of Molecular Sciences, 18(7), 1438.

Sobral, A. I. G. da P., de Araújo, C. M. T., & Sobral, M. F. F. (2018). Mild cognitive impairment in the elderly Relationship between communication and functional capacity. Dementia & Neuropsychologia, 12(2), 165–172.

Sørensen, K., Van den Broucke, S., Pelikan, J. M., Fullam, J., Doyle, G., Slonska, Z., et al. (2013). Measuring health literacy in populations: Illuminating the design and development process of the European Health Literacy Survey Questionnaire (HLS-EU-Q). BMC Public Health, 13, 948.

World Health Organization [WHO]. (2012). Oral health fact sheet no 318. Retrieved October 13, 2017, from http://www.who.int/mediacentre/factsheets/fs318/en/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-11-01