ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการบริโภคปลาดิบของผู้กำหนดอาหารและการบริโภคปลาดิบของสมาชิกในครัวเรือน ตำบลสะแก จังหวัดบุรีรัมย์
คำสำคัญ:
การบริโภคปลาดิบ, กำหนดอาหารบทคัดย่อ
โรคพยาธิใบไม้ตับเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญต่อสุขภาพมนุษย์ จากรายงานผู้ติดเชื้อทั่วโลก ประมาณ 40 ล้านคน และผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ประมาณ 600 ล้านคน (Kotawong et al., 2015) ในทวีปเอเชียได้แก่ ประเทศไทย ลาว เวียดนาม และ กัมพูชา พบผู้ติดเชื้อประมาณ 8-10 ล้านคน (Hughes et al., 2017) ในประเทศไทย คาดว่าคนไทย ร้อยละ 10 หรือ 6 ล้านคน ติดพยาธิใบไม้ตับ ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทั้ง 6 เขตบริการสุขภาพ พบผู้ติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ 8,078 คน ต่อประชากรแสนคน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอัตราป่วยต่อแสนประชากร พบสูงสุด 1.12 รองลงมาคือ ภาคเหนือ 0.90 ภาคใต้ 0.06 และภาคกลางพบ 0.01 ตามลำดับ จังหวัดที่มีอัตราป่วยสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ ลำพูน น่าน ขอนแก่น ศรีสะเกษ ยโสธร เท่ากับร้อยละ 11.11, 7.34, 5.93, 4.02 และ 3.15 ตามลำดับ อัตราการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับจำแนกตามกลุ่มอายุ 15-20 ปี, 21-30 ปี, 31-40 ปี, 41-50 ปี, 51-60 ปี และมากกว่า 60 ปี พบร้อยละ 17.2, 20.00, 16.30, 22.13, 24.3 และ 26.00 ตามลำดับ(ศูนย์จัดการข้อมูลและวิเคราะห์ทางสถิติ, 2559) ผลงานตรวจคัดกรองพยาธิใบไม้ตับจากการสำรวจอัตราการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์ ปี พ.ศ. 2559 ใน 5 อำเภอ รอบบริเวณลุ่มแม่น้ำชี ร้อยละ 1.30 ที่อำเภอสตึกมีอัตราการติดเชื้อสูงสุด ที่ตำบลสะแก จำนวนประชากร 968 คน ตรวจพบผู้ติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ 163 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 16.83 ซึ่งมี อัตราการติดเชื้อสูงที่สุดในจังหวัด (ศูนย์จัดการข้อมูลและวิเคราะห์ทางสถิติ, 2559)
ผลการศึกษาพบว่า ส่วนใหญ่เป็นครอบครัวเดี่ยวถึงร้อยละ 80.83 ผู้กำหนดอาหารของครัวเรือนส่วนใหญ่ร้อยละ 73.33 มีสถานภาพเป็นแม่บ้าน มีอายุอยู่ระหว่าง 25-59 ปี คิดเป็นร้อยละ 82.50 ระดับการศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 73.33 มีอาชีพเป็นเกษตรกร ร้อยละ 75.83 ร้อยละ 74.17 แต่งงานและอาศัยอยู่ด้วยกัน ผู้กำหนดอาหารร้อยละ 74.17 มีความรู้ในระดับสูงและมีทัศนคติเชิงบวกร้อยละ 88.33 เกี่ยวกับโรคพยาธิใบไม้ตับ อย่างไรก็ตามกลับพบว่า ยังมีการบริโภคปลาดิบในระดับสูงหรือบริโภคเป็นประจำถึงร้อยละ 94.12 ชนิดอาหารที่ยังคงนิยมบริโภคสูงสุดได้แก่ ปลาซิวใส่ส้มตำพบร้อยละ 56.17 รองลงมาเป็นปลาส้ม พบร้อยละ 52.50 นอกจากนี้ยังพบว่า อายุและสถานภาพของสมาชิกในครัวเรือนไม่มีความสัมพันธ์กับการบริโภคปลาดิบของผู้กำหนดอาหาร ตลอดจนความรู้และทัศนคติของผู้กำหนดอาหารไม่มีความสัมพันธ์กับการบริโภคปลาดิบของสมาชิกในครัวเรือน ที่ p-value=0.94 และ p-value=0.10 ตามลำดับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ยกเว้นการบริโภคปลาดิบของผู้กำหนดอาหารมีความสัมพันธ์กับการบริโภคปลาดิบของสมาชิกในครัวเรือน ที่ p-value=0.001 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ชนิดอาหารที่บริโภคได้แก่ หม่ำปลา ส้มปลา ปลาจ่อม/ส้มปลาน้อย ปลาร้าดิบ ลาบปลาตอง ก้อยปลา ปลาสดดิบๆ และปลาซิวดิบใส่ส้มตำ ชนิดอาหารเหล่านี้แต่ละชนิดที่ผู้กำหนดอาหารบริโภคมีความ สัมพันธ์กับการบริโภคของสมาชิกในครัวเรือนที่ p-value=0.001 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
ดังนั้นการศึกษาคือความรู้และทัศนคติของผู้กำหนดอาหารของครัวเรือนไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคปลาดิบของสมาชิกในครอบครัว แต่พฤติกรรมการบริโภคปลาดิบของผู้กำหนดอาหารของครัวเรือนมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคปลาดิบของสมาชิกและผู้กำหนดอาหารยังบริโภคปลาดิบเป็นประจำ อาจแสดงว่ามีปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการบริโภคปลาดิบของสมาชิกทุกคนในครอบครัวมากกว่าความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับโรคพยาธิใบไม้ตับของผู้กำหนดอาหารของครัวเรือน ข้อเสนอแนะสำหรับการศึกษาเพิ่มเติมครั้งต่อไปแนะนำให้นักวิจัยควรหาปัจจัยที่มีอิทธิพลกับการบริโภคปลาดิบของผู้กำหนดอาหาร และผู้ปฏิบัติงานด้านสาธารณสุขควรจัดทำกิจกรรมการทำอาหารจากปลาน้ำจืดเพื่อนำมาปรุงอาหารให้สุกที่มีคุณค่าทางโภชนาการ ข้อจำกัดของการศึกษาครั้งนี้คือ สมาชิกในครัวเรือนไม่ได้รับการทดสอบความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับโรคพยาธิใบไม้ตับที่มีต่อการบริโภคปลาดิบ และการวิจัยควรศึกษาความสัมพันธ์ของผู้กำหนดอาหารของครัวเรือนกับสมาชิกแต่ละคนในครัวเรือนต่อการบริโภคปลาดิบ
References
กิตติพงษ์ พรมพลเมือง. (2557). การศึกษาปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคพยาธิใบไม้ตับของประชาชนในพื้นที่อําเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลําภู. การศึกษาอิสระปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาสุขภาพชุมชน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชาติณรงค์ วิสุตกุล. (2555). การสำรวจความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องกับความเป็นกลางในการเสนอข่าวของ CRI Online (China Radio International) ภาคภาษาไทย. กรุงเทพฯ: ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
บังอร ชูคง, & สุจนา คีรีวัลย์. (2551). การศึกษาพฤติกรรมการบริโภคอาหารของประชาชนในจังหวัดอุตรดิตถ์ แพร่ และสุโขทัย. อุตรดิตถ์: สำนักวิจัยและบริหารวิชาการ สถาบันราชภัฏอุตรดิตถ์.
ศูนย์จัดการข้อมูลและวิเคราะห์ทางสถิติ. (2559). สถิติการติดเชื่อพยาธิใบไม้ตับในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สมศรี เจริญเกียรติกุล. (2556). วัฒนธรรมอาหารไทย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการ โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
อรอนงค์ บุญศรีแก้ว. (2553). การสำรวจความชุกของพยาธิใบไม้ตับระยะติดต่อในปลาตะเพียนขาว, ปลาขาวมนและปลาขาวนาในห้วยพระคือ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. การศึกษาอิสระปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยาสำหรับครู คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
Hughes, T., O’Connor, T., Techasen, A., Namwat, N., Loilome, W., Andrews, R. H., et al. (2017). Opisthorchiasis and cholangiocarcinoma in Southeast Asia: an unresolved problem. International Journal of General Medicine, 10, 227–237.
Kotawong, K., Thitapakorn, V., Roytrakul, S., Phaonakrop, N., Viyanant, V., & Na-Bangchang, K. (2015). Plasma phosphoproteome and differential plasma phosphoproteins with opisthorchis viverrini-related cholangiocarcinoma. Asian Pacific journal of cancer prevention, 16(3), 1011–1018.