การพัฒนารูปแบบการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับในตำบลชานุมาน อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ

ผู้แต่ง

  • บวรพิพัฒน์ กระแสเสน คณะสาธารณสุขมหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • จุฬาภรณ์ โสตะ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

โรคพยาธิใบไม้ตับ, รูปแบบการป้องกันโรค

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับในตำบลชานุมาน อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ โดยประยุกต์ใช้แนวคิดการวางแผนแบบมีส่วนร่วม มาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนารูปแบบการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับในระดับชุมชน กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา จำนวน 69 คน คัดเลือกแบบเจาะจง แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มได้แก่ กลุ่มแกนนำในชุมชน จำนวน 30 คน ประกอบด้วยผู้ใหญ่บ้าน 1 คน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน 2 คน สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล 2 คน อาสาสมัครสาธารณสุข 10 คน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข 2 คน ครู 3 คน และ ตัวแทนภาคประชาชน 10 คน และกลุ่มเสี่ยงโรคพยาธิใบไม้ตับ จำนวน 39 คน โดยเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งเชิงปริมานและเชิงคุณภาพโดยใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ส่วนข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา โดยทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้และการมีส่วนร่วมก่อนและหลังการพัฒนารูปแบบด้วยสถิติเชิงอนุมาน Paired Sample t-test

ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับในระดับชุมชน ประกอบด้วย 1) การสร้างแกนนำสุขภาพประจำชุมชน 2) การคัดกรองกลุ่มเสี่ยงโดยแกนนำสุขภาพประจำชุมชน 3) การตรวจอุจจาระเพื่อหาไข่พยาธิในกลุ่มเสี่ยงและจ่ายยารักษาในผู้ที่พบไข่พยาธิ 4) การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยนำกลุ่มเสี่ยงมาเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับ มีการรณรงค์ ประชาสัมพันธ์การเยี่ยมติดตาม กระตุ้นเตือน ให้คำแนะนำ โดยแกนนำสุขภาพชุมชน 5) มีมาตรการทางสังคม ได้แก่ งานบุญปลอดปลาร้าดิบ ร้านส้มตำปลอดปลาร้าดิบ และการจัดการสิ่งปฏิกูลที่ถูกวิธี 6) การประเมินผลร่วมกัน โดยมีเป้าหมายคือ “บ้านชานุมานหมู่บ้านปลอดพยาธิ ประชาชนสุขภาพดี ภาคีมีส่วนร่วม” ส่วนผลการศึกษาในกลุ่มตัวอย่างพบว่า ในกลุ่มแกนนำในชุมชนหลังการพัฒนารูปแบบกลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยด้านความรู้ และด้านการมีส่วนร่วมเพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนการพัฒนารูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และในกลุ่มเสี่ยงพบว่า ภายหลังการอบรมมีคะแนนเฉลี่ยด้านความรู้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งเป็นผลมาจากกิจกรรมการอบรมให้ความรู้เรื่องโรคพยาธิใบไม้ตับ โดยมีการใช้สื่อการสอนได้แก่ ภาพพลิกเรื่องโรคพยาธิใบไม้ตับ ภาพผู้ป่วยโรคพยาธิใบไม้ตับ วิดีโอเรื่องโรคพยาธิใบไม้ตับ และการเล่าประสบการณ์จากตัวแบบที่ป่วยด้วยโรคพยาธิใบไม้ตับ จากนั้นร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทำให้กลุ่มตัวอย่างมีความรู้และความเข้าใจเรื่องโรคพยาธิใบไม้ตับเพิ่มขึ้น

ในการศึกษาครั้งนี้พบว่า การเปิดโอกาสให้คนในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการวางแผนแบบมีส่วนร่วมเพื่อแก้ไขปัญหาโรคพยาธิใบไม้ตับ ส่งผลให้ชุมชนมีรูปแบบการดำเนินงานที่เป็นระบบและชัดเจนขึ้น ซึ่งควรมีการดำเนินงานตามรูปแบบที่ได้พัฒนาขึ้น และนำไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่อื่นๆ ต่อไป

References

กลุ่มโรคหนอนพยาธิ สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค. (2552). รายงานผลการศึกษาสถานการณ์โรคหนอนพยาธิและโปรโตซัวของประเทศไทย ปี 2552. กรุงเทพฯ: สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.

กาญจนา ฮามสมพันธ์. (2558). ผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับของหัวหน้าครัวเรือน ตำบลบ้านฝาง อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

กิตติพงษ์ พรมพลเมือง. (2557). การศึกษาปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคพยาธิใบไม้ตับของประชาชนใน พื้นที่อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2(1), 53-62.

จิราภรณ์ อันนอก. (2557). การพัฒนารูปแบบการป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชน เขตพื้นที่ตำบลเขวา อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการระบบสุขภาพ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

นันทพร ศรีนอก. (2556). รูปแบบการดำเนินงานการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับในระดับชุมชน จังหวัดหนองบัวลำภู. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการระบบสุขภาพ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

นิศร ผานคำ. (2557). กระบวนพัฒนารูปแบบการดำเนินการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับในระดับชุมชน ตำบลดู่น้อย อำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วีระพล วิเศษสังข์, รติกร ชาติชนะยืนยง, & ชูศักดิ์ นิธิเกตุกุล. (2560). โปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยแกนนำสุขภาพประจำครอบครัวต่อการลดการเกิดโรคพยาธิใบไม้ตับในกลุ่มวัยแรงงานตำบลขะยูง อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น, 24(3), 61-74.

สาริณี สีทะโน. (2559). การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับในชุมชนบ้านโพนยานาง ตำบลนาใหญ่ อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอำนาจเจริญ. (2560). ผลการดำเนินงานโครงการกำจัดพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี จังหวัดอำนาจเจริญ ปี 2560. [ม.ป.ท.: ม.ป.พ.].

สำนักงานสาธารณสุขอำเภอชานุมาน (2560). ผลการดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคหนอนพยาธิ ปี 2560. [ม.ป.ท.: ม.ป.พ.].

Best, B. S. (1981). Handbook on Formative and Summative Evaluation of Study of Learning. New York: David Mackay.

Bloom, B. S., Hastings, J. T. & Madaus, G. F. (1971). Handbook on formative and summative evaluation of student learning. New York: McGraw-Hill.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-10-17