ปริมาณการรับสัมผัสสารเบนซีนของผู้ประกอบอาชีพในสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงเขตอำเภอเมืองจังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • นพปกรณ์ ทรงพันธุ์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • วิชัย พฤกธาราธิกุล คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • สุนิสา ชายเกลี้ยง คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

การรับสัมผัส, สารเบนซีน, ผู้ประกอบอาชีพ, สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปริมาณการรับสัมผัสสารเบนซีนจากปริมาณ Trans, Trans-Muconic acid (t,t-MA) ในปัสสาวะหลังปฏิบัติงานของผู้ประกอบอาชีพในสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่ง American Conference of Governmental Industrial Hygienists (ACGIH) กำหนดให้ t,t-MA เป็นค่าดัชนีชี้วัดทางชีวภาพของสารเบนซีนที่เกิดขึ้นภายในร่างกายหลังจากการสัมผัสสารเบนซีน กลุ่มตัวอย่างคือผู้ประกอบอาชีพในสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง 3 อาชีพ (n=50) คือ พนักงานเติมน้ำมัน (n=30) พนักงานเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง (n=12) และผู้ประกอบการร้านค้า (n=8) จาก 8 สถานีบริการโดยวิเคราะห์ปริมาณ t,t-MA จากปัสสาวะที่เก็บหลังจากการปฏิบัติงาน ผลการศึกษาพบว่าระดับ t,t-MA ของผู้ประกอบอาชีพในสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงมีค่าระหว่าง 5.76–3,019.05 µg/g Cr ซึ่งสูงกว่าค่าแนะนำปลอดภัย ACGIH ซึ่งกำหนดปริมาณ t,t-MA หลังปฏิบัติงานต้องไม่เกิน 500 µg/g Cr จำนวน 15 คน คิดเป็นร้อยละ 30 พนักงานเติมน้ำมันมีค่า t,t-MA ระหว่าง 5.76–3,019.05 µg/g Cr สูงกว่าค่าแนะนำ 5 คน คิดเป็นร้อยละ 10 พนักงานเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องมีค่า t,t-MA ระหว่าง 54.36–705.08 µg/g Cr สูงกว่าค่าแนะนำ 5 คน คิดเป็นร้อยละ 10 ผู้ประกอบการร้านค้ามีค่า t,t-MA ระหว่าง 339.49–1,717.19 µg/g Cr สูงกว่าค่าแนะนำ 5 คน คิดเป็นร้อยละ 10 เมื่อวิเคราะห์ด้วยสถิติ Wilcoxon signed rank test เพื่อเปรียบเทียบค่ามัธยฐานกับค่าแนะนำของ ACGIH พบว่าระดับ t,t-MA ของผู้ประกอบอาชีพในสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงต่ำกว่า 500 µg/g Cr อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยตำแหน่งเปอร์เซนไทล์ที่ 50 เท่ากับ 261.67 ช่วงความเชื่อมั่น 95% พบว่ามีค่าอยู่ระหว่าง 148.4–376 µg/g Cr ซึ่งไม่เกินค่าแนะนำปลอดภัย เมื่อเปรียบเทียบการรับสัมผัสสารเบนซีนระหว่างอาชีพพบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value=0.0073) ผู้ประกอบการร้านค้าส่วนใหญ่มีปริมาณ t,t-MA เกินระดับค่าแนะนำ ดังนั้นจึงควรจัดให้มีระบบการเฝ้าระวังสุขภาพและการสัมผัสสารเบนซีนอย่างต่อเนื่องในกลุ่มอาชีพเหล่านี้หรือที่เกี่ยวข้องในสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงและควรมีการศึกษาเชิงลึกด้านการสัมผัสสารเบนซีน และปัจจัยที่ส่งผลต่อการสัมผัสสารของผู้ประกอบอาชีพกลุ่มนี้ต่อไป

References

ธีรพงษ์ สายรัตน์, มนีรัตน์ องค์วรรณดี, & สหลาภ หอมวุฒิวงศ์. (2558). การกระจายเชิงพื้นที่ของเบนซีนและโทลูอีนในอากาศภายในสถานีบริการน้ำมัน. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ปัฐมาภรณ์ รัตนะจงจิตรกร. (2557). การเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลาของสารระเหยบีเทคในสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการสิ่งแวดล้อม(สาขาสหวิทยา) บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไพลิน ทวีวงษ์, ศิริมา ปัญญาเมธากุล, & ทัศนีย์ พฤกษาสิทธิ์. (2553). การประเมินความเสี่ยงจากการรับสัมผัสสารอินทรีย์ระเหย (สารวีโอซี) ของพนักงานสถานีบริการเชื้อเพลิงในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิศวกรรมศาสตร์, 2(3), 1-12

มธุรส รุจิรวัฒน์. (2553). โครงการศึกษาผลกระทบจากการได้รับสารอินทรีย์ระเหยที่เป็นสารก่อมะเร็งต่อสุขภาพของประชากรในจังหวัดระยอง. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์.

ศศิธร สุกรีฑา, วรศักดิ์ อินทร์ชัย, & พัฒนศักดิ์ เพิ่มพูน. (2551). การเฝ้าระวังโรคจากการประกอบอาชีพที่สัมผัสสารเบนซิน: กรณีศึกษาสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา.วารสารพิษวิทยาไทย, 23(1), 48-57

สำนักจัดการคุณภาพอากาศและเสียง กรมควบคุมมลพิษ. (2558). สรุปผลการตรวจวัดสารอินทรีย์ระเหยง่าย (VOCs). ค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2560, จาก http://aqnis.pcd.go.th/vocs

ศูนย์พยากรณ์ และสารสนเทศพลังงานกระทรวงพลังงาน. (2559). สถานการการใช้น้ำมัน และไฟฟ้าประจำปี 2559. ค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2560, จาก http://www.eppo.go.th/index.php/th/energy-information/situation-oil-electric?orders[publishUp]=publishUp&issearch=1

สำนักโรคประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม. (2557). รายงานสถานการณ์โรคจากการประกอบอาชีพ และสิ่งแวดล้อม. ค้นเมื่อ 13 กรกฎาคม 2560, จาก http://envocc.ddc.moph.go.th/uploads/situation/01_envocc_situation_57.pdf

Jo, W. K., & Song, K. B. (2001). Exposure to volatile organic compounds for individuals with occupations associated with potential exposure to motor vehicle exhaust and/or gasoline vapor emissions. Science of the total Environment, 269(1-3), 25-37.

Scherer, G., Renner, T., & Meger, M. (1998). Analysis and evaluation of trans, trans-muconic acid as a biomarker for benzene exposure. Journal of Chromatography B: Biomedical Sciences and Applications, 717(1-2), 179-199.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-01-14

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ