การใช้อุปกรณ์ป้องกันระบบทางเดินหายใจของพนักงานในโรงงานน้ำตาล: กรณีศึกษา 3 จังหวัด ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ผู้แต่ง

  • วิภาดา พนากอบกิจ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • พรพรรณ สกุลคู คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

อุปกรณ์ป้องกันระบบทางเดินหายใจ, ฝุ่นชานอ้อย, โรงงานน้ำตาล

บทคัดย่อ

อุตสาหกรรมน้ำตาลอาจเป็นอุตสาหกรรมที่เสี่ยงต่อสิ่งแวดล้อมและผลกระทบต่อสุขภาพของพนักงาน ฝุ่นละอองของชานอ้อยมีขนาดตั้งแต่ 0.08 ถึง 9 มิลลิเมตร แต่ส่วนมากของอนุภาคอยู่ในช่วง 2.1-4.7 มิลลิเมตร ฝุ่นชานอ้อยสามารถนำไปสู่การเพิ่มอัตราการเกิดของโรคระบบทางเดินหายใจและอาการแพ้ได้ (Sakunkoo et al., 2011) ดังนั้น จุดมุ่งหมายของงานวิจัยนี้คือ ศึกษาการใช้อุปกรณ์ป้องกันทางเดินหายใจของพนักงานโรงงานน้ำตาล

งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (survey study) แบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้อุปกรณ์ป้องกันระบบทางเดินหายใจ (RPE) ของพนักงานในโรงงานน้ำตาล กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานในโรงงานน้ำตาลในเขตภาคตะวันออก เฉียงเหนือ ที่ทำงานในกะกลางวัน จำนวน 60 คน โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือการสัมภาษณ์ด้วยแบบสอบถาม ผลการศึกษาพบว่า พนักงานในโรงงานน้ำตาลส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 58.33 อายุ 41 ปีขึ้นไป ร้อยละ 60 จบการศึกษาชั้นประถมศึกษา ร้อยละ 71.67 ระยะเวลาทำงานที่โรงงานน้ำตาล ระหว่าง 5-10ปี ร้อยละ 41.67 ลักษณะการใช้ RPE ของพนักงานในโรงงานน้ำตาล พบว่า เหตุผลที่ใช้ RPE ส่วนใหญ่ใช้เพื่อป้องกันฝุ่น ร้อยละ 91.67 และกฎข้อบังคับ ร้อยละ 15.0 ชนิดของ RPE ที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นหน้ากากป้องกันฝุ่นชนิดผ้าสีขาว ซึ่งเป็นชนิดที่โรงงานแจกให้ นอกจากนี้ยังมีการใช้เสื้อยืด เนื่องจากใช้ปิดคลุมได้ทั่วใบหน้า ใช้หมวกไหมพรมและผ้าขนหนู เนื่องจากสะดวกสวมใส่ง่าย และใช้หน้ากาก N95 ในเฉพาะกรณีทำงานบริเวณที่มีฝุ่นมาก, เหตุผลที่ไม่ใช้ RPE เนื่องจากหายใจไม่สะดวก ร้อยละ 35.0 มีอาการเจ็บหูเนื่องจากสายเกี่ยวรัดหู ร้อยละ 21.67 หน้ากากป้องกันฝุ่นชนิดผ้าสีขาวมีขนาดเล็กปกปิดได้ไม่ทั่วใบหน้าร้อยละ 18.33  จากการศึกษาพบว่าพนักงานส่วนใหญ่ไม่ได้ใช้ RPE ที่โรงงานโรงงานแจกให้เนื่องจากทำให้หายใจไม่สะดวก รู้สึกรำคาญและอึดอัด ดังนั้นควรหาวิธีส่งเสริมสนับสนุนให้พนักงานใช้ RPE อย่างถูกต้องและเหมาะสม

References

กรมโรงงานอุตสาหกรรม. (2559). คู่มือการกำกับดูแลโรงงานอุตสาหกรรมน้ำตาลทราย. กรุงเทพฯ: กรมโรงงานอุตสาหกรรม.

สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย. (2559). รายงานพื้นที่ปลูกอ้อยปีการผลิต 2558/59. ค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2560, จาก http://www.ocsb.go.th/upload/OCSBActivity/fileupload/8071-2689.pdf

สุพาพร แสนศรี. (2555). การสัมผัสสิ่งคุกคามจากการทำงานและพฤติกรรมการป้องกันตนเองของหญิงตั้งครรภ์ที่ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม จังหวัดนครราชสีมา. ค้นเมื่อ 6 กรกฎาคม 2561, จาก http://thesis.swu.ac.th/ swuthesis/Occ_Med/Supapron_S.pdf

อนุศักดิ์ ฉิ่นไพศาล. (2556). อาชีวอนามัยและความปลอดภัย. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

อมรรัตน์ หมื่นจิตน้อย. (2552). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้อุปกรณืป้องกันอันตรายส่วนบุคคลในการทำงานและพฤติกรรมความปลอดภัยของพนักงานที่ปฏิบัติงานในนิคมอุตสาหกรรมอมตนคร. ค้นเมื่อ 6 กรกฎาคม 2561, จาก http://www.east.spu.ac.th/ journal/booksearch/upload/1430-007_factors.pdf

Sakunkoo, P., Chaiear, N., Chaikittiporn, C., & Sadhra, S. (2011). Concentrations and size distribution of inhalable and respirable dust among sugar industry workers: A pilot study in Khon Kaen, Thailand. Asia Pacific Journal of Public Health, 23(6), 967–979.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-27

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ