สุนทรียทักษะภาวะผู้นำที่มีผลต่อการพัฒนาคุณภาพบริการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ:
สุนทรียทักษะภาวะผู้นำ, การพัฒนาคุณภาพบริการพยาบาลบทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional descriptive research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสุนทรียทักษะภาวะผู้นำที่มีผลต่อการพัฒนาคุณภาพบริการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดขอนแก่น ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ พยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดขอนแก่น จำนวน 1,205 คน ซึ่งใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified random sampling) เป็นการสุ่มตัวอย่าง 19 กลุ่ม โดยหน่วยประชากรในแต่ละชั้นภูมิจะมีลักษณะเหมือนกัน (Homogenious) แล้วสุ่มอย่างง่ายเพื่อให้ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่างตามสัดส่วนของขนาดกลุ่มตัวอย่างและกลุ่มประชากร เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 270 คน และสนทนากลุ่มจำนวน12 คน โดยใช้การสนทนาแบบคำถามปลายเปิด เพื่อได้ข้อมูลเชิงคุณภาพ ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน และหาความเที่ยงโดยการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาช (Cronbach’s alpha coefficient) ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.97 เก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 1 พฤษภาคม 2561 - 30 พฤษภาคม 2561 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน ค่าต่ำสุดและค่าสูงสุด และใช้สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่การหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุแบบขั้นตอน โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
ผลการศึกษา พบว่า สุนทรียทักษะภาวะผู้นำภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 3.85 (S.D.= 0.40) และการพัฒนาคุณภาพบริการพยาบาลภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.19 (S.D.=0.45) สุนทรียทักษะภาวะผู้นำในภาพรวมมีความสัมพันธ์ระดับปานกลางกับการพัฒนาคุณภาพบริการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดขอนแก่น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r= 0.606, p-value<0.001) โดยสุนทรียทักษะภาวะผู้นำด้านทักษะความสามารถในการนำ ทักษะในการทำงานเป็นทีม ทักษะในการพัฒนาตนเอง ทักษะในการนำเสนอและทักษะในการคิดริเริ่ม สามารถร่วมกันพยากรณ์การพัฒนาคุณภาพบริการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดขอนแก่นได้ร้อยละ 44.9 (R2=0.449, p-value<0.001) สามารถนำผลการวิจัยไปใช้เพื่อเป็นแนวทางในการวางแผน ปรับปรุง การปฏิบัติงาน เพื่อให้การพัฒนาคุณภาพบริการของพยาบาลวิชาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ
References
กระทรวงสาธารณสุข. (2553). นโยบายและแผนยุทธศาตร์. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.
คเณศวร โคตรทา, & ชนะพล ศรีฤาชา. (2559). สุนทรียทักษะภาวะผู้นำที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงานตามสมรรถนะการมุ่งผลสัมฤทธิ์ของผู้ช่วยสาธารณสุขอำเภอในเขตสุขภาพที่ 8. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 14(ฉบับพิเศษ), 273-291.
จรัญญู ทองอเนก, & ประจักร บัวผัน. (2557). สุนทรียทักษะผู้นำที่มีผลต่อบทบาทในการควบคุมกำกับการดำเนินงานตามโครงการของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 7(2), 218-229.
เฉลิมชัย คำอู, & ประจักร บัวผัน. (2557). การพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่องของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลชุมชนจังหวัดขอนแก่น . วาสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาวัยราชภัฎสุรินทร์, 8(2), 140.
วรรณกร ตาบ้านดู่. (2559). สุนทรียทักษะผู้นำที่มีผลต่อการจัดการความขัดแย้ง ของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในจังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 10(1), 220-216
สฤษณ์พลชัย บัวจันทร์, & ชนะพล ศรีฤาชา. (2559). สุนทรียทักษะภาวะผู้นำที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของบุคลากรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดขอนแก่น. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น, 23(3), 77-85.
สำนักการพยาบาล. (2550ก). แผนพัฒนาการพยาบาลและการผดุงครรภ์แห่งชาติ ฉบับที่ 2 ปี 2550-2559. กรุงเทพฯ: ศิริยอดการพิมพ์.
สำนักการพยาบาล. (2550ข). ยุทธศาสตร์บริการพยาบาลระดับประเทศ พ.ศ. 2556-2560. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการ โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น. (2560). จำนวนพยาบาลวิชาชีพสังกัดโรงพยาบาลชุมชน. ขอนแก่น: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น. (เอกสารอัดสำเนา).
Canadian Council on Health Service Accreditation [CCHSA]. (1996). A guide to the development and use of performance indicators. Canada: Canadian Council on Health Service Accreditation.
Cohen, J. (1988). Statistical power analysis for behavior science (2nd ed.). New York: Lawrence.
Crosbie, R. (2005). Learning the soft skills of leadership. Industrial and Commercial Training, 37(1), 45-51.
Larson, S. A., & Lieske, A. M. (1992). Standard: The basic of a quality assurance program. In C. G. Meisenheimer (Ed.). Improving quality: A guide to effective program. (pp. 45-61). Maryland: Aspan System.
Ngang, T. K. (2012). Leadership soft skill. Sociology Study, 2(4), 261-269.
Wongkalasin, K., & Bouphan, P. T. K. (2013). Leadership soft skill that affect organization climate of district health offices in Khon Kaen, Thailand. KKU Research Journal, 18(4), 709-720.