พัฒนาการระบบสุขภาพอำเภอของประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • นิทรา กิจธีระวุฒิวงษ์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • ศันสนีย์ เมฆรุ่งเรืองวงศ์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • อาทิตยา วังวนสินธุ์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • บัวพลอย พรมแจ้ง โรงพยาบาลสวรรคโลก จังหวัดพิษณุโลก

คำสำคัญ:

ระบบสุขภาพอำเภอ, การสาธารณสุขมูลฐาน, องค์ประกอบของบริการสุขภาพ

บทคัดย่อ

ระบบสุขภาพอำเภอ ดำเนินการบนพื้นฐานของแนวคิดของระบบสาธารณสุขมูลฐานแบบครบถ้วนรอบด้าน โดยดูแลประชากรจำนวน 50,000 ถึง 500,000 คน อย่างไรก็ตาม องค์กรในระบบบริการสุขภาพอำเภอจะมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับลักษณะของแต่ละประเทศและอำเภอ ทั้งนี้ระบบสุขภาพอำเภอของประเทศไทย มีการเชื่อมโยงกับหน่วยงานในระดับบริการปฐมภูมิ ทุติยภูมิ และการให้บริการทางสังคมซึ่งดำเนินการโดยท้องถิ่น โดยประเทศไทยมีพัฒนาการของการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับระบบสุขภาพอำเภอมายาวนาน เมื่อนำหกองค์ประกอบของบริการสุขภาพ มาทำการวิเคราะห์ พบว่า หลักการพื้นฐานในการทำงานระบบสุขภาพอำเภอ ประกอบด้วยหลักการสาธารณสุขมูลฐาน องค์ประกอบหกด้านของบริการสุขภาพ สถานการณ์โครงสร้างประชากร และแบบแผนการเกิดโรคทางระบาดวิทยา บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนความหมายของระบบสุขภาพสุขภาพอำเภอ รูปแบบระบบสุขภาพอำเภอของประเทศไทย รวบรวมพัฒนาการของระบบสุขภาพอำเภอวิเคราะห์ตามหกองค์ประกอบของบริการสุขภาพ และสุรปหลักการทำงานระบบสุขภาพอำเภอ อันจะทำให้ผู้อ่านเข้าใจพัฒนาการระบบสุขภาพของไทย และนำแนวคิดอื่นที่เกี่ยวข้องมาใช้ในการพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอต่อไป

Author Biography

นิทรา กิจธีระวุฒิวงษ์, คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

Thailand Citation Index Centre

References

เดชา แซ่หลี, กฤตพงษ์ โรจนวิภาต, สุกัญญา หังสพฤกษ์, ชิตสุภางค์ ทิพย์เที่ยงแท้, ชาลีมาศ ตันสุเทพวีรวงศ์, & ทัศนีย์ ญาณะ. (2557). เสริมคุณค่าปฐมภูมิด้วยระบบสุขภาพระดับอำเภอ. กรุงเทพฯ: โครงการพัฒนาองค์ความรู้แนวคิดและจัดพิมพ์ผลงาน การพัฒนากลไกสนับสนุนระบบสุขภาพระดับอำเภอ มูลนิธิแพทย์ชนบท ภายใต้การสนับสนุนจาก สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ.

นิทรา กิจธีระวุฒิวงษ์, ศันสนีย์ เมฆรุ่งเรืองวงศ์, อาทิตยา วังวนสินธุ์, จักรพันธ์ เพชรภูมิ, & บัวพลอย พรมแจ้ง. (2558). รายงานโครงการการประเมินผลการดำเนินงานระบบสุขภาพอำเภอ ในพื้นที่เขต 2. พิษณุโลก: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ยงยุทธ พงษ์สุภาพ. (2557). การจัดการเรียนเพื่อเสริมสมรรถนะการบริหารจัดการระบบสุขภาพอำเภอ. สมุทรสาคร: APPA Printing Group.

ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับพื้นที่ พ.ศ. 2561. (2561). ราชกิจจานุเบกษา, 135(ตอนพิเศษ 54ง), 1-7.

สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ. (2550). รายงานการสาธารณสุขไทย 2548-2550. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2559). คู่มือระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2559. นนทบุรี: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ.

สำนักสนับสนุนระบบสุขภาพปฐมภูมิ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2562). คู่มือแนวทางการพัฒนาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลติดดาว (รพ.สต.) ติดดาว ปี 2562. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.

Dookie, S., & Singh, S. (2012). Primary health services at district level in South Africa: a critique of the primary health care approach. BMC Family Practice, 13, 67. Doi: 10.1186/1471-2296-13-67.

Meesen, B., & Malanda, B. (2014). No universal health coverage without strong local health systems. Bulletin of the World Health Organization, 92(2), 78-78A.

Tarimo, E. (1991). Towards a healthy district: Organizing and managing district health systems based on primary health care. Retrieved from http://www.who.int/iris/handle/10665/40785

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-23