ความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขต่อการฆ่าตัวตายของคนไทย

ผู้แต่ง

  • สมจิตต์ สุพรรณทัสน์
  • พิมพ์สินี นาวานุรักษ์
  • รุ่งโรจน์ พุ่มริ้ว
  • น้ำผึ้ง ดุงโคกกรวด

บทคัดย่อ

การฆ่าตัวตายเป็นปัญหาสาธารณสุขและปัญหาสังคมของประเทศไทย การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความ
คิดเห็นของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเกี่ยวกับการฆ่าตัวตายของคนไทยในปัจจุบัน และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลส่วน
บุคคลของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขกับการเคยคิดฆ่าตัวตาย กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ปฏิบัติงานอยู่ในภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางที่กำลังศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยมหาสารคามและมหาวิทยาลัย
เกษตรศาสตร์ บางเขน กรุงเทพมหานคร จำนวน 633 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่
ความถี่ ร้อยละและ Chi-square
ผลของการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 64.5 อายุระหว่าง 20 – 29 ปีมากที่สุด ร้อยละ
32.7 สมรสแล้ว ร้อยละ 57.5 ปฏิบัติงานมามากกว่า 10 ปี ร้อยละ 52.9 หน่วยงานที่ปฏิบัติงานส่วนใหญ่คือ สถานีอนามัย /
ศูนย์สุขภาพชุมชน ร้อยละ 52.9 และปฏิบัติงานในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ร้อยละ 13.4 รองลงมาคือ จังหวัดศรีสะเกษ ร้อยละ 7.1
สำหรับความคิดเห็นเกี่ยวกับสาเหตุสำคัญที่สุดที่ทำให้คนไทยในปัจจุบันฆ่าตัวตาย 3 อันดับแรกได้แก่ คู่สมรสไม่รัก ทอดทิ้ง
หรือผิดหวังด้านความรัก ร้อยละ 28.4 รองลงมาคือ คิดว่า ตัวเองไร้ค่า ร้อยละ 13.6 และคิดว่าพ่อแม่ไม่รัก หรือมีความสัมพันธ์ที่
ไม่ดีกับครอบครัว ร้อยละ 13.0 นอกจากนั้นยังพบว่า ข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขไม่มีความสัมพันธ์กับการเคยคิด
ฆ่าตัวตาย

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-07-07