พฤติกรรมการขับขี่รถจักรยานยนต์ของนักเรียนวัยรุ่นโรงเรียนธรรมโฆสิต อำเภอนาหม่อม จังหวัดสงขลา

ผู้แต่ง

  • สุเมธ กนกเหมพันธ์
  • วุฒิพงศ์ คงทอง
  • คนึงนุช แจ้งพรมมา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา แบบตัดขวางมีวัตถุประสงค์คือ เพื่อศึกษาพฤติกรรมการขับขี่รถจักรยานยนต์
และเพื่อหาแนวทางการลดพฤติกรรมเสี่ยงที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนของนักเรียนวัยรุ่นโรงเรียนธรรมโฆสิต อำเภอนาหม่อม
จังหวัดสงขลา ประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนวัยรุ่น ที่กำลังศึกษาอยู่ในโรงเรียนธรรมโฆสิต อำเภอนาหม่อม
จังหวัดสงขลา ที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไปในปีการศึกษา 2552 สุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบได้ขนาดตัวอย่าง 118 คน วิเคราะห์ข้อมูล
โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุดและค่าต่ำสุด
ผลการศึกษา พบว่า นักเรียนวัยรุ่นโรงเรียนธรรมโฆสิต ร้อยละ 61.86 เป็นเพศหญิง ร้อยละ 38.14 เป็นเพศชาย
มีอายุระหว่าง 15 ถึง 19 ปี (Mean=16.65) นักเรียนนำรถจักรยานยนต์มาใช้ที่โรงเรียน ร้อยละ 42.37 รถจักรยานยนต์ที่
นำมาใช้ส่วนใหญ่มีขนาด 110 ซีซี และ 125 ซีซี, ด้านพฤติกรรมการขับขี่รถจักรยานยนต์ พบว่า นักเรียนเคยมีประสบการณ์
เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน ร้อยละ 32.29 โดยเกิดจากรถจักรยานยนต์ชนสัตว์และรถจักรยานยนต์ชนกันเอง ร้อยละ 13.56
และ 12.71 ตามลำดับ นักเรียน ไม่เคยสวมหมวกนิรภัยขณะขับขี่รถจักรยานยนต์ ร้อยละ 28.8 ในกลุ่มที่เคยสวมหมวกนิรภัย
พบว่า สวมหมวกนิรภัยบางครั้ง มากที่สุด ร้อยละ 64.29 เคยดื่มสุราขณะขับรถ ร้อยละ 16.1 ขับรถฝ่าสัญญาณไฟแดง
ร้อยละ 30.51 นักเรียนขับรถใช้ความเร็ว 61- 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมงมากที่สุด ร้อยละ 54.25 ขับรถมีผู้โดยสารซ้อนท้าย
มากกว่า 1 คน ร้อยละ 84.75 นักเรียนมีใบอนุญาตขับขี่รถจักรยานยนต์ ร้อยละ 33.05 โดยมีใบขับขี่ประเภทชั่วคราว(1 ปี)
มากที่สุด ร้อยละ 74.36 นักเรียนขับรถโดยไม่พกใบอนุญาตขับขี่ นานๆครั้งมากที่สุด ร้อยละ 53.84 ร้อยละ 90 เคยใช้
โทรศัพท์เคลื่อนที่ในขณะขับขี่รถจักรยานยนต์ เคยถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับและปรับ ร้อยละ 77.12 โดยถูกจับปรับในกรณีไม่
สวมหมวกนิรภัย มากที่สุด ร้อยละ 53.38

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-07-07