ผลของการประยุกต์ใช้ทฤษฎีความสามารถของตนเองร่วมกับแรงสนับสนุนทาง สังคมในการฝึกผู้นำนักเรียนเพื่อการป้องกันโรคเหงือกอักเสบในนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • เวณิการ์ หล่าสระเกษ
  • พรรณี บัญชรหัตถกิจ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi-experimental Study) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของ
การประยุกต์ใช้ทฤษฎีความสามารถของตนเองร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมในการฝึกผู้นำนักเรียน เพื่อการป้องกันโรคเหงือก
อักเสบในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้นำนักเรียน 72 คนประกอบด้วย
กลุ่มทดลอง จำนวน 36 คน และกลุ่มเปรียบเทียบจำนวน 36 คน กลุ่มทดลองได้รับคัดเลือกเข้าสู่โปรแกรมทันตสุขศึกษาโดยการ
ประยุกต์ทฤษฎีความสามารถของตนเองร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคม ด้วยการบรรยายประกอบสไลด์ ภาพพลิก การอภิปรายกลุ่ม
เสนอตัวแบบ สาธิตและฝึกปฏิบัติ การแสดงบทบาทสมมติ การจัดป้ายนิเทศ และได้รับแรงสนับสนุนทางสังคมจากครู ผู้ปกครอง
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามและแบบบันทึกปริมาณแผ่นคราบจุลินทรีย์ การวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปด้วย
สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์เปรียบเทียบใช้สถิติเชิงอนุมาน คือ Paired Sample t-test และ Independent Sample t-test โดย
กำหนดระดับนัยสำคัญที่ระดับ 0.05
ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยด้านความรู้เกี่ยวกับโรคเหงือกอักเสบมากกว่าก่อนการ
ทดลองและมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 ด้านการรับรู้ความสามารถของตนเอง กลุ่มทดลอง
มีคะแนนเฉลี่ยไม่แตกต่างกันทางสถิติและมีคะแนนเฉลี่ยมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบที่ระดับ 0.05 ด้านความคาดหวังในผลดีของการ
ป้องกันโรคเหงือกอักเสบ กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยมากกว่าก่อนการทดลองที่ระดับ 0.001 และมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบที่ระดับ
0.01 ด้านการปฏิบัติตัวในการป้องกันโรคเหงือกอักเสบ กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยมากกว่าก่อนการทดลอง และมากกว่ากลุ่ม
เปรียบเทียบที่ระดับ 0.01 นอกจากนี้ กลุ่มทดลองมีปริมาณแผ่นคราบจุลินทรีย์ลดลงมากกว่าก่อนการทดลองที่ระดับ 0.01 และ
ลดลงมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบที่ระดับ 0.05

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-07-07