ผลของกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารใน ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีภาวะแทรกซ้อนทางไต ศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • ปิยาภรณ์ สวรรยาวิสุทธิ์
  • ภัทระ แสนไชยสุริยา

คำสำคัญ:

Polyalthia cerasoides, Antioxidant, Cytotoxicity, Cytoprotective activity, Aqueous extract

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในการปรับเปลี่ยน
พฤติกรรมการบริโภคอาหารในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีภาวะแทรกซ้อนทางไต กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วย
เบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีภาวะแทรกซ้อนทางไตในเขตพื้นที่รับผิดชอบองค์การบริหารส่วนตำบลกุมภวาปี
อำเภอกุมวาปี จังหวัดอุดรธานี จำนวน 30 ราย ดำเนินการโดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม จำนวน
4 ครั้ง เก็บข้อมูลก่อนและหลังการศึกษา ด้วยแบบสัมภาษณ์และแบบบันทึก ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ความรู้
เรื่องโรคเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อนทางไต ความรู้เรื่องการบริโภคอาหารของผู้ป่วยเบาหวานที่มี
ภาวะแทรกซ้อนทางไต แบบสัมภาษณ์การบริโภคอาหาร แบบสัมภาษณ์ความถี่ในการบริโภคอาหาร แบบ
บันทึกข้อมูลสุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา แสดงจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน
มาตรฐาน ค่ามัธยฐาน ค่าต่ำสุดและค่าสูงสุด เปรียบเทียบข้อมูลก่อนและหลังการได้รับกระบวนการเรียนรู้
แบบมีส่วนร่วมโดยสถิติทดสอบ paired t-test
ผลการศึกษาพบว่า การใช้กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการ
บริโภคอาหารในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีภาวะแทรกซ้อนทางไต ช่วยให้ผู้เข้าร่วมการศึกษามีความรู้เรื่อง
ของโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีภาวะแทรกซ้อนทางไตเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(P-value <0.001) โดย
คะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจาก 5.63 เป็น 7.83 คะแนน มีความรู้เรื่องการบริโภคอาหารดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทาง
สถิติ(P-value <0.001) โดยคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจาก 3.53 เป็น 6.83 และคะแนน การบริโภคอาหารดีขึ้น
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value<0.001) โดยคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจาก 178.77 เป็น 190.13 ทั้งนี้เป็นผล
ให้ผู้ป่วยที่มีระดับน้ำตาลในเลือด 100–126 mg% เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 56.7 เป็นร้อยละ 63.3 ระดับน้ำตาล
เฉลี่ยสะสมที่มีค่าเฉลี่ย ≤7.0 mg% จากร้อยละ 10.0 เป็นร้อยละ 46.7 และอัตราการกรองของไตอยู่ในช่วง
60-80 ml/min/1.73 m² จากร้อยละ 30.0 เป็นร้อยละ 36.7
สรุปได้ว่า การใช้กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค
อาหารช่วยให้ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีภาวะแทรกซ้อนทางไตบริโภคอาหารที่ถูกต้องเหมาะสม มีความรู้
ความเข้าใจเรื่องภาวะแทรกซ้อนทางไตจากเบาหวานชนิดที่ 2 เพิ่มมากขึ้น เกิดความตระหนักในการดูแล
ตนเอง ดังนั้นควรส่งเสริมให้นำกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมมาประยุกต์ใช้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
ผู้ป่วยโรคเรื้อรังอื่นๆเพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการดูแลตนเองต่อไป

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-07-07

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ