พฤติกรรมสุขภาพของผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์วัยแรงงานที่ได้รับการรักษาด้วยยาต้าน ไวรัสเอชไอวี ณ โรงพยาบาลจังหวัดที่ติดชายแดนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงบรรยายนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมสุขภาพผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์วัย
แรงงานที่ได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสเอชไอวี ณ โรงพยาบาลจังหวัดที่ติดชายแดนในภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือกลุ่มตัวอย่างคือผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ที่ได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสเอชไอวี
ทั้งหมด จานวน 153 คน จาก 10 โรงพยาบาล เก็บรวบรวมข้อมูลตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2556 ถึง
เดือนมีนาคม พ.ศ. 2557 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ข้อมูลทั่วไปและแบบ
สัมภาษณ์พฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยเอดส์ที่ได้รับยาต้านไวรัสเอดส์ของ สุวรรณา บุญยะลีพรรณ (2550)
พัฒนาจากกรอบแนวคิดการส่งเสริมสุขภาพของเพนเดอร์ นาไปหาค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือโดยใช้
สัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค(Cronbach’s alpha coefficient) ได้เท่ากับ 0.86 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้
โปรแกรมคอมพิวเตอร์สาเร็จรูป ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มตัวอย่างโดยรวมอยู่ในระดับ
ดี (Χ = 3.44, S.D.=0.36) 2) ค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมสุขภาพรายด้านของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับดีมาก 3 ลาดับ
ได้แก่ 1) การพัฒนาด้านจิตวิญญาณ (Χ =3.71, S.D.=0.41 )2) พฤติกรรมสุขภาพด้านความรับผิดชอบต่อ
สุขภาพขณะได้รับยาต้านไวรัสเอชไอวี (Χ =3.63 , S.D.=0.27) และ 3) พฤติกรรมสุขภาพด้านการจัดการกับ
ความเครียด (Χ =3.59, S.D.=0.53) และอยู่ในระดับดีมี 3 ลาดับ ได้แก่ 1) พฤติกรรมสุขภาพด้านโภชนาการ
(Χ =3.42, S.D.=0.51) 2) พฤติกรรมสุขภาพด้านการมีสัมพันธภาพระหว่างบุคคล (Χ =3.33, S.D.=0.51) และ 3)
พฤติกรรมสุขภาพด้านการมีกิจกรรมและการออกกาลังกาย (Χ =2.93, S.D.=0.71)
ผลการวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่า บุคลากรทีมสุขภาพควรให้ความสาคัญในการคงไว้ ซึ่งการ
ปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพทั้งหกด้านอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะ พฤติกรรมสุขภาพด้านความรับผิดชอบต่อ
สุขภาพในเรื่องการรับประทานยาให้ตรงเวลา การงดบุหรี่ และงดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ การสวมถุงยางอนามัยทุก
ครั้งที่มีเพศสัมพันธ์การป้องกันการติดเชื้อฉวยโอกาสและการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อเอชไอวีด้านโภชนาการด้าน
การมีกิจกรรมและการออกกาลังกายรวมทั้งด้านสัมพันธภาพระหว่างบุคคล