ผลการให้ความรู้และปฏิบัติในการควบคุมป้องกันลูกน้ายุงลาย และอัตราการเกิด โรคไข้เลือดออก ต้าบลบ้านเลื่อม อ้าเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • ณัฐญากร มอญขันธ์
  • เลิศชัย เจริญธัญรักษ์
  • จิราพร เขียวอยู่
  • เกษร แถวโนนงิ้ว

คำสำคัญ:

โรคไข้เลือดออก, ผลการให้ความรู้และปฏิบัติ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั งนี เป็นการวิจัยเชิงทดลอง เพื่อศึกษาผลการให้ความรู้และปฏิบัติเกี่ยวกับการควบคุม
ลูกน้ายุงลายและป้องกันโรคไข้เลือดออก โดยชุมชนกลุ่มทดลองได้แก่ชุมชนทุ่งสวรรค์-ศรีปัญญา อ้าเภอเมือง
อุดรธานี จังหวัดอุดรธานี ชุมชนกลุ่มควบคุม ได้แก่ ชุมชนสุวรรณชาติ ระยะเวลาการให้ความรู้และปฏิบัติ
ติดต่อกัน 5 เดือน (สิงหาคม–ธันวาคม พ.ศ.2556) ให้ความรู้และปฏิบัติแก่ชุมชนกลุ่มทดลองเดือนละ 2 ครั ง
ในสัปดาห์ที่ 2 และ 4 ของเดือน และส้ารวจลูกน้ายุงลายเดือนละครั ง แล้วท้าการศึกษาเปรียบเทียบความ
แตกต่างของค่าดัชนีลูกน้ายุงลาย ได้แก่ ดัชนีสัดส่วนของบ้านที่พบลูกน้า (House Index: H.I.) สัดส่วนของ
ภาชนะที่พบลูกน้า (Container Index: C.I.) และสัดส่วนของภาชนะที่พบลูกน้าต่อบ้าน 100 หลังคาเรือน
(Breteau Index: B.I.) ในแต่ละเดือน และอัตราการเกิดโรคไข้เลือดออก ในชุมชนกลุ่มทดลองและชุมชนกลุ่ม
ควบคุม ทั งก่อน และหลัง การให้ความรู้และปฏิบัติ
ผลการศึกษาวิจัย พบว่า ก่อนการศึกษาให้ความรู้และปฏิบัติ ค่าดัชนีลูกน้ายุงลาย ในชุมชนกลุ่ม
ทดลอง พบค่า H.I., C.I., B.I. ร้อยละ 21.8, 16.8และ 54.6ตามล้าดับ และในชุมชนกลุ่มควบคุม พบค่า H.I.,
C.I., B.I. ร้อยละ 20.0, 19.0, 40.0 ตามล้าดับ ส่วนอัตราการเกิดโรคไข้เลือดออกชุมชนกลุ่มทดลอง และ
ชุมชนกลุ่มควบคุม เท่ากับ 21.9, 16.4 ต่อประชากรแสนคน ตามล้าดับ หลังการให้ความรู้และปฏิบัติ ค่า H.I.
เฉลี่ย (6.1%) ในชุมชนกลุ่มทดลองลดลง 3 เท่า ค่า C.I. เฉลี่ย (1.4%) ลดลง 10 เท่า และ B.I. เฉลี่ย (6.9%)
ลดลง 8 เท่า และอัตราการเกิดโรคไข้เลือดออกเฉลี่ย (5.5 ต่อประชากรแสนคน) ลดลง 4 เท่า และค่าดัชนี
ลูกน้ายุงลายทุกค่า ลดลงมากกว่าชุมชนกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยส้าคัญทางสถิติ (p-value<0.001) และอัตรา
การเกิดโรคไข้เลือดออก ลดลงกว่าก่อนการทดลอง และลดลงมากกว่าชุมชนกลุ่มควบคุม
การศึกษานี แสดงให้เห็นว่าผลการให้ความรู้และปฏิบัติ ท้าให้ค่าดัชนีลูกน้ายุงลายเฉลี่ยลดลง
ส่งผลท้าให้อัตราการเกิดโรคไข้เลือดออกลดลงด้วย

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-07-07