ผลลัพธ์และการบริหารจัดการโรคไม่ติดต่อเรื้อรังโดยระบบสุขภาพอำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ผู้แต่ง

  • จิตติกร ผลแก้ว
  • บังอร เทพเทียน
  • สุพัตรา ศรีวณิชชากร

คำสำคัญ:

ผลลัพธ์, การบริหารจัดการ, โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง, ระบบสุขภาพของอำเภอ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลลัพธ์ และการบริหารจัดการโรคไม่ติดต่อ
(เบาหวาน/ความดันโลหิตสูง) ของอำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี เก็บรวบรวมข้อมูลแบบผสมผสานโดย
รวบรวมข้อมูลจากเอกสาร และรายงานที่เกี่ยวข้องในรอบ 3 ปีที่ผ่านมา (2555-2557) สัมภาษณ์เจาะลึก
สัมภาษณ์กลุ่มกับผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในระดับจังหวัด อำเภอ และเขตตำบล รวมทั้งผู้มารับ
บริการ และจัดประชุมเชิงปฏิบัติการกับหน่วยงาน องค์กรและบุคคลที่มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อรับฟังเสียง
สะท้อนเกี่ยวกับข้อมูลทั้งหมด รวมทั้งตรวจสอบข้อมูลกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อความถูกต้องและเที่ยงตรง
ผลการศึกษาพบว่า นโยบายและมาตรการต่าง ๆในการดำเนินงานโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของอำเภอพนม
มาจากหน่วยงานระดับประเทศ ได้แก่ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
(สปสช.) และ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เป็นส่วนใหญ่ โดย สธ. และ สปสช.
เป็นหน่วยงานหลักที่มีระบบการจัดทำยุทธศาสตร์ แผนงานโครงการที่มีความชัดเจน สปสช. มีการจัดระบบ
การดำเนินการ การประเมินผลและการสนับสนุนงบประมาณตามเกณฑ์คุณภาพมาตรฐานการบริการที่
ชัดเจน สสส. สนับสนุนการดำเนินกิจกรรมด้านส่งเสริมป้องกันโรค ในระดับเขตและจังหวัด แยกเป็นแผนงาน
โครงการตามภารกิจของแต่ละกรม และแยกภารกิจไปตามโครงสร้างบทบาทหน้าที่รับชอบของแต่ละฝ่าย
โดยฝ่ายควบคุมโรครับผิดชอบโครงการด้านการดูแลรักษา งานสุขศึกษารับผิดชอบงานด้านโครงการหมู่บ้าน
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และงานส่งแสริมสุขภาพรับผิดชอบโครงการคลินิกไร้พุง (Diet &
Physical Activity Clinic: DPAC) ซึ่งขาดการผสมผสานในการดำเนินกิจกรรมในทางปฏิบัติให้มีความ
ต่อเนื่องและสอดคล้องกันอย่างชัดเจนเชื่อมโยงกับหน่วยบริการระดับอำเภอ โดยเครือข่ายบริหารงาน
สาธารณสุขระดับอำเภอประกอบด้วยโรงพยาบาลพนม สำนักงานสาธารณสุขอำเภอพนม โรงพยาบาล
ส่งเสริมสุขภาพตำบล ภาคีเครือข่ายและภาคประสังคม ในอำเภอพนม เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินการ
แปลงนโยบายลงสู่การปฏิบัติต่อประชาชนกลุ่มเป้าหมายในชุมชน ผ่านกลไกระบบสุขอำเภอ ด้วยยุทธศาสตร์
PHANOM Project มีคณะกรรมการโรคเรื้อรังระดับอำเภอและกำหนดแผนงานและกิจกรรมในภาพรวม แต่
การดำเนินมาตรการ กิจกรรมด้านการเฝ้าระวังส่งเสริมสุขภาพและควบคุมโรคเรื้อรังแต่ยังขาดความ
ครอบคลุม เข้มข้นและต่อเนื่อง รวมถึงขาดการติดตามประเมินผลที่ชัดเจน ส่วนการดำเนินกิจกรรมด้านการ
ดูแลรักษาผู้ป่วยโรคเรื้อรังมีการดำเนินการ NCD Clinic คุณภาพ ที่ผ่านเกณฑ์การประเมินมาตรฐานใน
ระดับดี ดังนั้น การพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอควรมีการมุ่งเน้นที่งานด้านป้องกันควบคุมโรคมากขึ้น รวมทั้ง
พัฒนาตัวชี้วัดร่วมกันเพื่อทำให้การทำงานด้านนี้ในพื้นที่มีเป้าหมายที่ชัดเจน ความเข้มข้น และต่อเนื่องมากขึ้น

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-07-07