พฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของนักศึกษาระดับปริญญาตรี กลุ่มคณะทางด้านสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • ชุติมา ศรีทุมมา
  • เบญจา มุกตพันธุ์

คำสำคัญ:

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร, ความรู้, ทัศนคติ, การบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร

บทคัดย่อ

กระแสสุขภาพทำให้การบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเป็นที่นิยมมากของคนในยุคปัจจุบัน
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริโภคและวิเคราะห์ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการบริโภคผลิตภัณฑ์
เสริมอาหารของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบตัดขวาง
กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษากลุ่มคณะด้านสังคมศาสตร์ ระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยขอนแก่น จาก 6 คณะ
จำนวน 334 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามแบบให้ตอบเอง ระหว่างเดือนมกราคม ถึงกุมภาพันธ์ 2558
ตรวจสอบความตรงของเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญและหาความเชื่อมั่นแบบสอบถามด้านความรู้โดยใช้สูตรKR-20
มีค่า 0.76 และหาความเชื่อมั่นแบบสอบถามด้านทัศนคติด้วยวิธีการหาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค มี
ค่า 0.77 ค่าคะแนนความรู้และทัศนคติแบ่งเป็น 3 ระดับต่ำ ปานกลาง และสูง ตามเกณฑ์ของ Bloom และ
Best วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยด้านต่างๆ กับการบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารโดยการวิเคราะห์
Multiple logistic regression analysis
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาเพศหญิงร้อยละ 68 อายุเฉลี่ย 20.1±1.2 ปี มี
รายได้เฉลี่ยเดือนละ 6220±2487 บาท มีค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ต่ำกว่าเกณฑ์ปกติ ร้อยละ 24.6 และ
น้ำหนักเกินถึงอ้วน ร้อยละ 20 กลุ่มตัวอย่างมีความรู้เกี่ยวกับการบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารโดยมีค่า
คะแนนอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 61.4 สำหรับทัศนคติที่ส่งเสริมการบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอยู่ในระดับ
ปานกลาง ร้อยละ 93.1 กลุ่มตัวอย่างบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ร้อยละ 65.3 โดยนิยมบริโภคกลุ่มวิตามิน
ร้อยละ 35 และบริโภคน้ำผลไม้สกัด และ ซุปไก่สกัด ร้อยละ 18.0 และ 10.2 ตามลำดับ ค่าใช้จ่ายในการซื้อ
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารค่ามัธยฐานเท่ากับ 500 บาทต่อเดือน เหตุผลของการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
ของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ (ร้อยละ 68.6) ตอบว่า เพื่อบำรุงสุขภาพและป้องกันโรค กลุ่มตัวอย่างซื้อ
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากร้านขายยา ร้อยละ 42.9 กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 49.5 ได้รับข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์
เสริมอาหารจากอินเตอร์เน็ต รองลงมาจากโทรทัศน์ ร้อยละ 28 บุคคลที่แนะนำให้บริโภคผลิตภัณฑ์เสริม
อาหารส่วนใหญ่คือ เพื่อน และ พ่อแม่ ร้อยละ 22.3 และ 21.8 ตามลำดับ จากการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์
กับการบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร พบว่า ผู้ที่มีทัศนคติส่งเสริมการบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจะสัมพันธ์
กับการบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร (adjusted OR=5.29, 95% CI=1.55-17.98, p-value<0.01) สรุป
นักศึกษาสองในสามมีการบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร โดยนิยมบริโภควิตามินเสริม และทัศนคติเป็นปัจจัยที่
สัมพันธ์กับการบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ดังนั้น มหาวิทยาลัยควรส่งเสริมให้รับประทานอาหารให้ครบ
5 หมู่และออกกำลังกายสม่ำเสมอ แทนการบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง
เกี่ยวกับความเสี่ยงหรือความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-07-07