การพัฒนาการจัดการมูลฝอยติดเชื้อในหอผู้ป่วยในของโรงพยาบาลเลย

ผู้แต่ง

  • ชลธิชา วิชาเครื่อง
  • อุไรวรรณ อินทร์ม่วง

คำสำคัญ:

การพัฒนาการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ, มูลฝอยติดเชื้อในหอผู้ป่วยใน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาการจัดการมูลฝอยติดเชื้อในหอผู้ป่วยในโรงพยาบาล
เลย การดำเนินการประกอบด้วย 1) ศึกษาสถานการณ์การจัดการมูลฝอยติดเชื้อในหอผู้ป่วยในโดยใช้แบบ
สังเกตการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ ศึกษาการปฏิบัติตัวในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของเจ้าหน้าที่หอผู้ป่วยใน โดย
ใช้แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง คือ เจ้าหน้าที่หอผู้ป่วยในที่ปฏิบัติงานในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ ได้แก่
พยาบาลวิชาชีพ พยาบาลเทคนิค ผู้ช่วยพยาบาลและพนักงานผู้ช่วยเหลือคนไข้ จำนวน 136 คน 2) พัฒนา
แนวทางการจัดการมูลฝอยติดเชื้อโดยการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ประกอบด้วย การประชุมเชิงปฏิบัติการ
โดยมีการทดสอบความรู้ในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ โดยใช้แบบทดสอบก่อนและหลังการประชุมของ
เจ้าหน้าที่หอผู้ป่วยใน จำนวน 60 คน 3) ดำเนินการพัฒนาการจัดการมูลฝอยติดเชื้อในหอผู้ป่วยในที่ได้จากผล
การประชุมเชิงปฏิบัติการ 4) ศึกษาปริมาณมูลฝอยติดเชื้อของโรงพยาบาลก่อนและหลังจากการพัฒนาการ
จัดการมูลฝอยติดเชื้อ เป็นเวลา 30 วัน
จากผลการศึกษา พบว่า อัตราการเกิดมูลฝอยติดเชื้อเท่ากับ 0.9 กิโลกรัมต่อคนต่อวัน สถานการณ์
ในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อในหอผู้ป่วยในโรงพยาบาลเลยไม่เหมาะสมในบางกิจกรรม เนื่องจากพบมูลฝอย
ทั่วไปปะปนไปกับมูลฝอยติดเชื้อ เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อแต่งกายไม่ถูกต้อง การจัด
ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาได้กำหนดแนวทางในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ โดย 1) ด้าน
บุคลากร ควรมีการฝึกอบรมให้ความรู้แก่เจ้าหน้าที่ ประชาสัมพันธ์แนวทางการคัดแยกและการทิ้งมูลฝอยให้แก่
ผู้มารับบริการ 2) ด้านงบประมาณ ควรมีการจัดสรรงบประมาณไว้ใช้ในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ 3) ด้านวัสดุ
อุปกรณ์ ควรมีการทบทวนร่วมกันจัดหาวัสดุอุปกรณ์ให้เพียงพอและมีประสิทธิภาพ 4) ด้านการบริหารจัดการ
จัดทำแนวนโยบายการดำเนินงาน เพื่อการปฏิบัติที่สามารถขับเคลื่อนกระบวนการทำงานได้สอดคล้องกับภาค
ส่วนอื่นๆ ภายในโรงพยาบาล หลังการดำเนินการการพัฒนาการจัดการมูลฝอยติดเชื้อในหอผู้ป่วยในโรงพยาบาล
เลย พบว่า ปริมาณมูลฝอยติดเชื้อมีจำนวนลดลง ร้อยละ 5.28 ซึ่งมีอัตราการเกิดมูลฝอยลดลง 0.1 กิโลกรัม/
คน/วัน การปฏิบัติตัวในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อรายข้อ พบว่า ส่วนใหญ่กลุ่มตัวอย่างมีการปฏิบัติตัวในการ
จัดการมูลฝอยติดเชื้อที่ดี ความรู้ในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อก่อนการอบรมเจ้าหน้าที่ในหอผู้ป่วยใน
โรงพยาบาลเลย มีคะแนนความรู้ เท่ากับ 14.20 คะแนน หลังการอบรมมีคะแนนความรู้เฉลี่ย เท่ากับ 18.41
คะแนน โดยค่าเฉลี่ยของคะแนนความรู้หลังอบรมมีค่ามากกว่าก่อนอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ
p value<0.05

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-07-07