การพัฒนารูปแบบบริการสุขภาพในแรงงานข้ามชาติประมงในน่านน้ำ ประเทศไทย: กรณีศึกษาจังหวัดสมุทรสาคร
คำสำคัญ:
แรงงานข้ามชาติ, บริการสุขภาพ, ประมงในน่านน าไทย, นักจัดการ สุขภาพบทคัดย่อ
การวิจัยนี้ใช้เทคนิคการวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อพัฒนารูปแบบนำร่องการดูแลสุขภาพตนเอง โดยใช้แนวคิดนักจัดการสุขภาพดำเนินกิจกรรมสุขภาพในแรงงานข้ามชาติที่ประกอบอาชีพประมงในน่านน้ำไทย และศึกษาวิถีชีวิตและปัญหาสุขภาพของลูกเรือประมงผลการศึกษาพบว่าผู้ประกอบการและแรงงานข้ามชาติประกอบอาชีพประมงบนเรือ 3 ประเภท คือ เรืออวนลากคู่ เรืออวนล้อม และเรืออวนลอยปลาทู แรงงานในเรืออวนลากคู่ใช้ชีวิตอยู่กลางทะเลนานที่สุด อุบัติเหตุในการทำงานจากการใช้เครื่องจักรทุ่นแรงเกิดในเรืออวนลากคู่และเรืออวนล้อม ส่วนเรืออวนลอยปลาทูที่แล่นหาปลาใกล้ชายฝั่งกลับประสบกับปัญหาแพ้แมงกะพรุนการอบรมหลักสูตร “นักจัดการสุขภาพ” ประกอบด้วยเนื้อหา การปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อเกิดอุบัติเหตุ การใช้ยาสามัญประจำบ้าน และการป้องกันโรคติดต่อมีลูกเรือผ่านการอบรมทั้งหมด 90 คน และจัดตั้งสถานีอนามัยลอยน้ำในเรือ 5 ลำ ผู้จัดการสุขภาพได้ท าหน้าที่ดูแลลูกเรือที่เจ็บป่วย ผู้ป่วยที่มาใช้บริการมีอาการปวดศีรษะ เป็นไข้ ไข้หวัด ท้องอืด ปวดเมื่อย และอุบัติเหตุจากการศึกษาครั้งนี้มีข้อเสนอแนะให้ขยายผลการฝึกอบรมให้กับลูกเรือประมงในหลักสูตรการอบรมพัฒนาผู้จัดการสุขภาพ และจัดตั้งสถานีอนามัยลอยน้ำเพิ่มเติมอีก เพื่อให้สามารถดูแลสุขภาพตนเองเบื้องต้นได้ในช่วงก่อนที่เรือจะเข้าถึงฝั่ง ควรร่วมมือกับสมาคมประมง หรือส านักงานประมง โดยกำหนดให้เรือแต่ละลำต้องมีผู้ที่ผ่านการอบรมหลักสูตรนักจัดการสุขภาพอย่างน้อย 1 คน และควรพัฒนาเครือข่ายสนับสนุนการท างานของสถานีอนามัยกลางน้ำที่ครอบคลุมพื้นที่ทั้ง 22 จังหวัดชายฝั่งทะเล