ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความล่าช้าในการรักษาผู้ป่วยวัณโรคปอดเสมหะ พบเชื้อรายใหม่ จังหวัดบึงกาฬ
คำสำคัญ:
วัณโรคปอดพบเชื้อรายใหม่,ความลjาชhาในการรักษาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบตัดขวาง เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่มีสัมพันธ์กับความล่าช้าในการรักษาของผู้ป่วยวัณโรคปอด เก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์และคัดลอกข้อมูลผู้ป่วยที่ขึ้นทะเบียนรักษา ในคลินิกวัณโรคโรงพยาบาลทั่วไปและโรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดบึงกาฬ จํานวน 8 โรงพยาบาล ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2557 ถึง วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2558วิเคราะห์ข้อมูลเพื่ออธิบายลักษณะทั่วไปโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน ควอไทล์ที่ 1, 3 วิเคราะห์ความสัมพันธ์แบบตัวแปรเดี่ยว โดยใช้การวิเคราะห์ถดถอยอย่างง่าย (Simple logistic regression) การวิเคราะห์ความสัมพันธ์แบบพหุตัวแปรโดยใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุโลจิสติก (Multiple logistic regressions) แสดงผลด้วยค่า Adjusted odds ratio(ORadj) และช่วงความเชื่อมั่นที่ ร้อยละ 95 (95%CI) ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่าง 238 ราย มีความชุกของความล่าช้าที่เกิดจากผู้ป่วยมากกว่า 30 วัน พบ ร้อยละ 21.4 (95%CI=16.1–29.7) ความล่าช้าที่เกิดจากระบบบริการสาธารณสุขของรัฐมากกว่า 7 วัน พบร้อยละ 19.7 (95%CI=14.7–24.8) ผลจากการวิเคราะห์แบบพหุตัวแปร พบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความล่าช้าที่เกิดจากผู้ป่วย อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ได้แก่ผู้ป่วยที่มีโรคประจําตัว (ORadj=3.14, 95%CI=1.39–7.10) มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อ (ORadj=6.27, 95%CI=2.56–15.39) ระยะทางที่ผู้ป่วยเดินทางมาโรงพยาบาลที่รักษาวัณโรค ≤16 ก.ม. (ORadj=6.33, 95%CI=2.56–15.39) ใช้เวลาในการเดินทางมารักษาที่โรงพยาบาลนานว่า 30 นาที (ORadj=11.05, 95%CI=2.49–49.02) ผู้ป่วยที่ไม่มีบุคคลพามารักษาที่โรงพยาบาล (ORadj=2.52, 95%CI=1.12–5.68) ส่วนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความล่าช้าที่เกิดจากระบบบริการสาธารณสุขของรัฐ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ได้แก่ ผู้ป่วยที่มาพบแพทย์ ≥3 ครั้ง (ORadj=6.58, 95%CI=1.61–26.85) สถานบริการแรกรับที่เป็น รพ.สต./คลินิก/ร้านขายยา (ORadj=7.50, 95%CI=3.41–17.90) จากผลการศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความล่าช้าในการรักษาวัณโรค เกิดจากปัจจัยด้านบุคคล ปัจจัยด้านพฤติกรรมสุขภาพ ปัจจัยด้านการเดินทางปัจจัยด้านผลการตรวจรักษาที่วินิจฉัยว่าเป็นวัณโรคปอดและปัจจัยด้านระบบการส่งต่อดังนั้น การพัฒนาประสิทธิภาพการตรวจวินิจฉัย และความร่วมมือของเครือข่ายพัฒนางานเชิงรุกในการค้นหา และพบผู้ป่วยที่มีอาการที่เข้าได้กับวัณโรค หรือสงสัยว่าตนเองป่วยเป็นวัณโรค พร้อมกับนําผู้ป่วยเข้าสู่ระบบการรักษาให้เร็วที่สุด เพื่อลดความล่าช้าในการรักษาและการเกิดผู้ป่วยรายใหม่ในชุมชน