ประสิทธิผลของโพลิโคซานอลต่อระดับไขมันในเลือดและการเกาะกลุ่มของเกล็ด เลือดในผู้ใหญ่ที่ไม่เคยเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ: การทบทวนวรรณกรรมอย่าง เป็นระบบและการวิเคราะห์อภิมาน

ผู้แต่ง

  • กุลธิดา ไชยกุล
  • พอใจ พัทธนิตย์ธรรม
  • กิตติศักดิ์ สวรรยาวิสุทธิ์

คำสำคัญ:

โพลิโคซานอล, ไขมันในเลือด, การเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด, โรคหลอดเลือดหัวใจ, การวิเคราะหือภิมาน

บทคัดย่อ

มีหลายรายงานวิจัยที่ขัดแย้งถึงผลของโพลิโคซานอลต่อไขมันในเลือดและการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด การทบทวนวรรรณกรรมอย่างเป็นระบบและการวิเคราะห์อภิมานนี้เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโพลิโคซานอลต่อระดับไขมันในเลือดและการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด เพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจระดับปฐมภูมิในผู้ใหญ่จากรายงานวิจัยปี พ.ศ. 2534-2558 ในฐานข้อมูล EBSCO, CENTRAL,ISIWeb of Science, Science Direct, ProQuest, Scopus, PubMed, Google Scholar, Thai Clinical Trials Registry วิทยานิพนธ์และวารสารงานวิจัยโดยสกัดข้อมูลประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดอคติแต่ละรายงานวิจัยตามแนวทางของ Cochrane และวิเคราะห์แบบ Inverse variance weight method ผลการศึกษาพบ 29 รายงานวิจัย (4,206 คน) ที่ผ่านเงื่อนไข ส่วนใหญ่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอคติไม่ชัดเจน พบว่าโพลิโคซานอลเพิ่ม high density lipoprotein (HDL) มากกว่ายาหลอก และ statins อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (mean difference (MD) 0.08 mmol/L, 95% CI 0.05 to 0.12) และ (MD 0.09 mmol/L, 95% CI 0.03 to 0.15) ลดการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือดที่เหนี่ยวนําด้วย collagen, epinephrine และ arachidonic acid มากกว่ายาหลอกอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (standardized mean difference (SMD) -0.74, 95% CI -1.12 to -0.35), (SMD-0.97, 95% CI -1.52 to -0.42) และ (SMD -0.75, 95% CI -1.31 to -0.20) ตามลําดับ และมีผู้มีเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากยาหลอกมากกว่าโพลิโคซานอลอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (risk ratio (RR) 0.55, 95% CI 0.41 to 0.74) สรุปโพลิโคซานอลให้ผลบวกต่อ HDL และการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด แต่รายงานวิจัยที่ได้ส่วนใหญ่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอคติไม่ชัดเจนจึงควรใช้อย่างระมัดระวัง

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-04-11