พฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีแคลเซียมของนักศึกษาวิทยาศาสตรบัณฑิต คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
คำสำคัญ:
พฤติกรรมการบริโภค, แคลเซียม, นักศึกษาบทคัดย่อ
แคลเซียมเป็นแร่ธาตุที่จําเป็นต่อกระบวนการสร้างและบํารุงกระดูก หากร่างกายของเราได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอเป็นประจํา แคลเซียมจะถูกดึงออกมาทําให้กระดูกเปราะบางแตกหักได้ง่าย ส่งผลให้เกิดโรคกระดูกพรุน การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีแคลเซียมและปริมาณแคลเซียมที่ได้รับต่อวันของนักศึกษาวิทยาศาสตรบัณฑิต คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research) จากกลุ่มตัวอย่าง 265 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและแบบบันทึกการบริโภคอาหาร วิเคราะห์ปริมาณสารอาหารที่บริโภคในแต่ละวันด้วยโปรแกรม INMUCAL Nutrients V3 วิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติและปริมาณแคลเซียมที่ได้รับต่อวัน ด้วยสถิติ Chi-square test และ Fisher’s exact test ผลการศึกษาพบว่า นักศึกษา เป็นเพศหญิง ร้อยละ 73.9 อายุระหว่าง 20–21 ปี ร้อยละ 54.7 ไม่มีโรคประจําตัว ร้อยละ 84.5 นักศึกษามีความรู้ด้านโภชนาการอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 47.9 ทัศนคติต่อการบริโภคอาหารที่มีแคลเซียม อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 61.9 เมื่อเปรียบเทียบพลังงานและสารอาหารที่บริโภค กับค่า DRI พบว่านักศึกษา ได้รับพลังงานเฉลี่ย 974.10 กิโลแคลอรีต่อวัน คิดเป็นร้อยละ 52.7 ของ DRI แคลเซียม 223 มิลลิกรัม/วัน คิดเป็นร้อยละ 27.9 ของ DRI จากผลการวิเคราะห์ความ สัมพันธ์กับปริมาณแคลเซียมที่ได้รับต่อวัน พบว่า ความรู้เกี่ยวกับแคลเซียมกับปริมาณแคลเซียมที่ได้รับต่อวันมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ค่า P 0.002 ทัศนคติเกี่ยวกับแคลเซียมกับปริมาณแคลเซียมที่ได้รับต่อวันมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ค่า P 0.120 ในนักศึกษาคณะสาธารณสุขศาสตร์ ดั้งนั้นจึงควรมีการส่งเสริมการบริโภคอาหารที่มีแคลเซียมสูงให้มากขึ้น เพื่อป้องกันโรคกระดูกพรุน