การจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมของแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • จินต์จุฑา แสงเพชร
  • กาญจนา นาถะพินธุ

คำสำคัญ:

อุทยานแห่งชาติ, อนามัยสิ่งแวดล้อม, แหล่งท่องเที่ยว, นักท่องเที่ยว

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสถานการณ์การจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมของแหล่ง
ท่องเที่ยวในจังหวัดชัยภูมิ และความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวต่อการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมของ
แหล่งท่องเที่ยว ทำการศึกษาในอุทยานแห่งชาติ 3 แห่ง ระหว่างเดือนตุลาคม 2553 ถึงเดือน
มีนาคม 2554 และขอบเขตงานอนามัยสิ่งแวดล้อมในการวิจัยนี้ประกอบด้วยการสุขาภิบาลอาหาร
น้ำดื่มน้ำใช้ มูลฝอย ห้องน้ำ-ห้องสุขาและความปลอดภัย ผลการศึกษาสถานการณ์การจัดการ
อนามัยสิ่งแวดล้อมของแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดชัยภูมิ ด้านสุขาภิบาลอาหารสำรวจร้านอาหาร 3
ร้าน แผงลอย 39 แผง พบว่า ร้านอาหารร้อยละ 33.3 และแผงลอยร้อยละ 79.5 ไม่ผ่านการ
ประเมินด้านกายภาพตามข้อกำหนดด้านสุขาภิบาลอาหาร ผลการตรวจโดยชุดตรวจสอบโคลิฟอร์ม
แบคทีเรีย(SI–2)ในอาหาร ร้านอาหารพบการปนเปื้ อนในมือผู้สัมผัสอาหาร อาหารและภาชนะ
ร้อยละ 33.3, 15.4 และ 11.1 ตามลำดับ แผงลอยพบปนเปื้ อนในอาหาร มือผู้สัมผัสอาหารและ
ภาชนะร้อยละ 49.7, 47.4 และ 44.4 ตามลำดับ อุทยานแห่งชาติทั้ง 3 แห่งมีจุดบริการน้ำดื่ม
บริการแก่นักท่องเที่ยว มีการจัดหาน้ำประปาให้แก่นักท่องเที่ยว ทั้งระบบประปาภูเขาและประปา
ชนบท มูลฝอยพบถุงพลาสติก โฟมและเศษอาหาร อุทยานแห่งชาติ 2 ใน 3 แห่งจัดการมูลฝอย
โดยวิธีการเผา อีกหนึ่งแห่งใช้วิธีการฝังกลบ ปัญหาด้านการคัดแยกขยะพบมากในช่วงฤดูกาล
ท่องเที่ยวที่มีปริมาณขยะเพิ่มขึ้นมาก ด้านการจัดการห้องน้ำ-ห้องสุขา มีอาคารแบ่งแยกระหว่าง
สุขาชาย-หญิงและผู้พิการ ความเพียงพอของปริมาณห้ องน้ำ-ห้ องสุขา สามารถรองรับ
นักท่องเที่ยวได้เฉพาะในช่วงฤดูกาลปกติ แต่ในช่วงฤดูกาลท่องเที่ยวจะไม่เพียงพอต่อความ
ต้องการของนักท่องเที่ยว ด้านความปลอดภัย อุทยานแห่งชาติมีการจัดแสดงป้ ายสัญลักษณ์ เพื่อ
การปฏิบัติตัวและความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว รวมถึงสิ่งก่อสร้างพื้นฐานที่ช่วยอำนายความ
สะดวกให้ แก่นักท่องเที่ยวอาทิ ทางเดินเท้า บันได ราวกันตก ในจุดที่อาจเป็ นอันตรายกับ
นักท่องเที่ยว ด้านความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวต่อสภาพการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมในแหล่ง
ท่องเที่ยวพบว่า ด้านความเพียงพอของปริมาณน้ำดื่มน้ำใช้อยู่ในระดับดี ส่วนด้านสุขาภิบาลอาหาร
การจัดการมูลฝอย การจัดการห้องนํ้าห้องสุขา และด้านความปลอดภัยอยู่ในระดับปานกลาง
ข้อสรุปและข้อเสนอแนะจากการวิจัย อุทยานแห่งชาติควรจัดให้มีการพัฒนาในด้านการจัดการ
ห้องน้ำ-ห้องสุขาเป็นอันดับแรก เรื่องความเพียงพอของปริมาณของห้องน้ำ-ห้องสุขาด้านการ
จัดการขยะมูลฝอย แหล่งท่องเที่ยวควรมีการปรับปรุงในเรื่องความเพียงพอของที่รองรับขยะมูล
ฝอย และการปลูกจิตสำนึกในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมภายในแหล่งท่องเที่ยว

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-04-11