สถานการณ์คุณภาพน้ำและความคิดเห็นของประชาชนต่อปัญหามลพิษทางน้ำ ของชุมชนบริเวณโดยรอบสถานที่ฝังกลบมูลฝอยของ เทศบาลนครขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ:
สถานที่ฝังกลบมูลฝอย, สถานการณ์คุณภาพนํ้า, ชุมชนโดยรอบสถานที่ฝังกลบมูลฝอยบทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์
คุณภาพนํ้าและความคิดเห็นของประชาชนต่อปัญหามลพิษทางนํ้าของชุมชนบริเวณโดยรอบ
สถานที่ฝังกลบมูลฝอยของเทศบาลนครขอนแก่น จ.ขอนแก่น ดำเนินการศึกษาระหว่าง มิถุนายน
2553 ถึง เมษายน 2554 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสำรวจ การตรวจวิเคราะห์คุณภาพนํ้า
และแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างที่อาศัยอยู่บริเวณโดยรอบสถานที่ฝังกลบมูลฝอย จำนวน
323 ครัวเรือน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย
ผลการศึกษาพบว่า แหล่งน้ำบริโภคของครัวเรือนที่อาศัยบริเวณโดยรอบสถานที่ฝังกลบมูลฝอย
ส่วนใหญ่ร้อยละ 90.1 ดื่มน้ำฝน โดยกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ร้อยละ 69.8 มีความเห็นว่าน้ำฝนมี
คุณภาพเลวลง เมื่อเปรียบเทียบคุณภาพของน้ำฝนปัจจุบันกับ 1-5 ปี ที่ผ่านมา แหล่งน้ำอุปโภค
ส่วนใหญ่ร้อยละ 80.3 ใช้นํ้าประปาจากแหล่งนํ้าใต้ดิน ผลการตรวจวิเคราะห์คุณภาพนํ้าใต้ดิน
พบว่า มีการปนเปื้ อนของโลหะหนัก โคลิฟอร์มแบคทีเรีย และฟี คัลโคลิฟอร์มแบคทีเรียใน
ปริมาณสูง โดยเฉพาะบ้านคำบอนที่ตั้งอยู่ใกล้สถานที่ฝังกลบมากที่สุด พบตะกั่วและแมงกานีส
เกินมาตรฐานคุณภาพน้ำใต้ดิน แหล่งน้ำเพื่อการเกษตรในพื้นที่ศึกษา ได้แก่ อ่างเก็บน้ำซำจาน
และห้วยหมากงอ พบค่าบีโอดี ตะกั่ว และแมงกานีสสูงเกินมาตรฐานคุณภาพแหล่งน้ำผิวดินเพื่อ
การเกษตร และอุปโภคและบริโภค ชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากปัญหามลพิษทางน้ำ ได้แก่ บ้าน
โนน บ้านท่อน บ้านท่อนใหม่ และบ้านบึงแก เนื่องจากทิศทางการไหลของน้ำชะมูลฝอยจะไหลไป
ตามร่องน้ำด้านทิศเหนือลงห้วยหมากงอ และไหลลงสู่แม่น้ำพอง ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า
ชุมชนโดยรอบสถานที่ฝังกลบมูลฝอยพบปัญหามลพิษทางน้ำที่มีแนวโน้มว่ามีสาเหตุการปนเปื้ อน
จากสถานที่ฝังกลบมูลฝอย ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรนำผลการวิจัยไปใช้ในการวางแผน
เฝ้าระวังและแก้ไขปัญหามลพิษทางนํ้าของชุมชนดังกล่าวต่อไป