ผลของพริกต่อระบบเมแทบลิซึมและระบบประสาทอัตโนมัติ

ผู้แต่ง

  • นุชรีย์ ถาปันแก้ว

คำสำคัญ:

ผลของพริกต่อระบบเมแทบลิซึมและระบบประสาทอัตโนมัติ

บทคัดย่อ

ภาวะอ้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดและโรคเรื้อรังอื่นๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง
ฯลฯ ซึ่งกลุ่มโรคนี้เป็นสาเหตุการป่ วยและตายเป็นอันดับต้นๆ ในปัจจุบัน จากการสำรวจสุขภาพฯ ครั้งที่ 4 ของสถาบันวิจัยระบบ
สาธารณสุข สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่า มีความชุกภาวะอ้วนและภาวะอ้วนลงพุงเพิ่มสูงขึ้นจากการ
สำรวจสุขภาพฯ ครั้งที่ 3 ทั้งในเพศหญิงและเพศชาย ด้วยสาเหตุนี้จึงมีนักวิจัยสนใจในพฤติกรรมการบริโภคหรือการบริโภคอาหาร
ที่มีฤทธ์ิทางยา (โภชนเภสัช; neutraceutical) เพื่อช่วยในการเผาผลาญพลังงานจากสารอาหารที่บริโภคได้ และหนึ่งในสารที่มี
นักวิจัยให้ความสนใจเป็นอย่างมากคือ สารแคปไซซิน (capsaicin) ซึ่งเป็นสารสำคัญที่มีอยู่มากในพริก ซึ่งเป็นเครื่องปรุงในอาหารที่
คนไทยในทั่วทุกภาครับประทานกันเป็นระยะเวลายาวนานจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ด้วยรสชาติเผ็ดร้อนอันเป็นจุดเด่นของพริก และมี
หลากหลายงานวิจัยที่ค้นพบว่ามีความเกี่ยวข้องต่อการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติและระบบเมแทบอลิซึม ดังนั้นวัตถุประสงค์
ของบทความนี้จัดทำขึ้นเพื่อช่วยให้ผู้ที่มีความสนใจเกี่ยวกับพริกและคุณสมบัติของพริกเข้าใจผลจากการกินพริกได้มากยิ่งขึ้น

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-04-11

How to Cite

ถาปันแก้ว น. (2018). ผลของพริกต่อระบบเมแทบลิซึมและระบบประสาทอัตโนมัติ. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 4(2), 69–74. สืบค้น จาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/kkujphr/article/view/118842

ฉบับ

บท

บทความปริทัศน์