ความชุกและปัจจัยเสี่ยงต่ออาการผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ ในพนักงานเก็บขนขยะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดหนองบัวลำภู

ผู้แต่ง

  • พีรพงษ์ จันทราเทพ
  • สุนิสา ชายเกลี้ยง

คำสำคัญ:

อาการผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ, พนักงานเก็บขนขยะ, ความชุก

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional analytic research) นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกของ
อาการผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ (MSDs) และปัจจัยเสี่ยงที่มีสัมพันธ์กับอาการ MSDs ในพนักงานเก็บขนขยะของ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดหนองบัวลำภู จำนวน 160 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างและแบบ
สำรวจสภาพแวดล้อมในการทำงาน สถิติเชิงพรรณนาใช้วิเคราะห์คุณลักษณะทั่วไปและความชุก สถิติเชิงอนุมานใช้ทดสอบปัจจัย
เสี่ยงที่สัมพันธ์กับอาการ MSDs ได้แก่ ไคสแควร์และ Fisher’s exact test และ Multiple logistic regression นำเสนอค่า
ความสัมพันธ์ด้วย Odds ratio (OR) และ 95% CI โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
ผลการวิจัยพบความชุกของอาการ MSDs ในรอบ 7 วันที่ผ่านมาและในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา ร้อยละ 73.8 (95% CI =
66.21–80.38) และร้อยละ 90.0 (95% CI = 84.26 – 94.17) ตามลำดับ เมื่อพิจารณาตำแหน่งของร่างกาย ความชุก
ของอาการ MSDs สูงสุดที่ตำแหน่งของหลังส่วนล่างคือ ร้อยละ 77.5 รองลงมาคือ แขนท่อนบน ร้อยละ 58.8 และไหล่
ร้อยละ 56.9 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาระดับความรุนแรงของการปวดพบว่า ตำแหน่งที่มีความรุนแรงสูงสุดสามอันดับแรกคือ
หลังส่วนล่าง หลังส่วนบน และไหล่ตามลำดับ ผลการวิเคราะห์ปัจจัยสัมพันธ์เชิงเดี่ยวพบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอาการ MSDs
ของพนักงานเก็บขนขยะอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ อายุ ≥ 40 ปี (OR = 3.64, 95% CI = 1.17 – 11.22), อายุการทำงาน
เก็บขนขยะ ≥ 4 ปี (OR = 6.42, 95% CI = 1.86 – 21.87), การสูบบุหรี่เป็นประจำทุกวัน (OR = 5.29, 95% CI = 1.41 –
8.18), การทำงาน 7 วันต่อสัปดาห์ (OR = 5.14, 95% CI = 1.10 – 47.91), การห้อยโหนบนรถเก็บขนขยะ (OR = 3.71, 95%
CI = 1.13 – 12.53), การไม่หยุดพักระหว่างปฏิบัติงาน (OR = 3.03, 95% CI = 1.07 - 8.52) และ BMI ≥ 25 kg/m2 (p =
0.024) ผลการวิเคราะห์แบบพหุลอจิสติก พบว่าปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์กับการเกิดอาการ MSDs อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ อายุ
≥ 40 ปี (adjOR = 5.35, 95% CI = 1.09 – 26.19), อายุการทำงาน ≥ 4 ปี (adjOR = 4.95, 95% CI =1.02 – 23.94),
การสูบบุหรี่เป็นประจำทุกวัน (adjOR = 7.27, 95% CI = 1.14 – 46.27), การไม่หยุดพักระหว่างปฏิบัติงาน (adjOR = 7.05,
95% CI = 1.48 – 33.42) และการทำงาน 7 วันต่อสัปดาห์ (adjOR = 5.80, 95% CI = 1.02 – 32.86)
ดังนั้น การศึกษานี้ได้ชี้บ่งสภาพปัญหาของการเกิดอาการ MSDs ที่สูงในกลุ่มพนักงานเก็บขนขยะโดยเฉพาะตำแหน่งของ
หลังส่วนล่างซึ่งมีความรุนแรงสูงสุด โดยปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลต่อการเกิด MSDs นั้นเป็นทั้งปัจจัยที่ไม่เกี่ยวข้องกับงานและที่เกี่ยวข้อง
กับการทำงาน ซึ่งข้อมูลนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานโครงการส่งเสริมสุขภาพพนักงานและการเฝ้ าระวังโรคที่เกี่ยวข้องกับการ
ทำงานกลุ่ม MSDs ในพนักงานเก็บขนขยะต่อไป

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-04-11