เขียนบทคัดย่อภาษาอังกฤษอย่างไร? อะไรควรเขียน และอะไรควรหลีกเลี่ยง
คำสำคัญ:
เขียนบทคัดย่อภาษาอังกฤษอย่างไรบทคัดย่อ
คณะสาธารณสุขศาสตร์และบัณฑิตวิทยาลัยได้กำหนดให้นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาทั้งปริญญาโทและปริญญาเอก
หลักสูตรภาษาไทยจัดทำวิทยานิพนธ์โดยที่มีองค์ประกอบสำคัญอย่างหนึ่งคือบทคัดย่อภาษาอังกฤษต่อจากบทคัดย่อภาษาไทย โดย
บัณฑิตวิทยาลัยได้จัดทำคู่มือการเขียนวิทยานิพนธ์ฉบับล่าสุดภาษาอังกฤษชื่อ The graduate thesis manual 2008 ฉบับภาษาไทยชื่อ
คู่มือการเขียนวิทยานิพนธ์และการศึกษาอิสระ 2550 และเผยแพร่เป็น PDF file สามารถดาวน์โหลดได้ผ่านเว็บไซต์ที่
http://inter.gs.kku.ac.th/index.php และ http://gsbooks.gs.kku.ac.th/50/manualthesis/ ตามลำดับโดยหน้า 18 ถึง 19 ของคู่มือ ได้
เสนอแนะการเขียนบทคัดย่อ และยกตัวอย่างของบทคัดย่อจำนวนหนึ่งในหลากหลายสาขาวิชาการที่แตกต่างกัน ในคู่มือมีการ
แนะนำการเขียนบทคัดย่ออย่างไรให้ชัดเจน โดยกล่าวว่า “บทคัดย่อจะต้องสั้น กระชับ และสรุปชัดเจน ด้วยประเด็นหลักที่สำคัญคือ
ให้ผู้ที่อ่านมีความเข้าใจเนื้อหาของวิทยานิพนธ์นั้นอย่างรวดเร็วและเข้าใจได้ง่าย” ได้มีการอธิบายเพิ่มเติมในส่วนของรูปแบบการ
เขียนบทคัดย่อว่าเนื้อหาในบทคัดย่อ “ควรประกอบด้วยบทสรุปของวัตถุประสงค์งานวิจัย ระเบียบวิธีวิจัย ข้อค้นพบของงานวิจัย
และการนำไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ของผลงานวิจัยได้” เกณฑ์การเขียนเนื้อหาของบทคัดย่อตามคู่มือของบัณฑิตวิทยาลัยคือ ความ
ถูกต้อง ความสมบูรณ์ความกระชับ ให้ข้อเท็จจริง และชวนให้อ่าน นอกจากนั้นยังระบุว่าบทคัดย่อที่ดีควรทำให้ผู้ที่อ่านสามารถอ่าน
เข้าใจได้ง่ายว่าได้ค้นพบอะไรในงานวิจัย แต่ที่ผ่านมาพบว่าบทคัดย่อของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาหลาย ๆ คน ของคณะ
สาธารณสุขศาสตร์ ไม่ได้เป็นไปตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในคู่มือของบัณฑิตวิทยาลัย
วิทยานิพนธ์ในระดับบัณฑิตศึกษาทั้งระดับปริญญาโทและปริญญาเอก เป็นผลงานสร้างชื่อเสียงและมีจุดยืนทางวิชาการของ
คณะโดยปกติการเรียนการสอนในหลักสูตรและการเขียนวิทยานิพนธ์เป็นภาษาไทยก็ตาม ถ้าสถาบันได้ตระหนักถึงมาตรฐานทาง
วิชาการระดับสูงเพื่อการเป็นที่รู้จักในระดับนานาชาติ ประเด็นสรุปผลงานการค้นพบจากการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาอย่างน้อยต้อง
เป็นภาษาที่ทั่วโลกสามารถเข้าใจได้ นั่นก็คือภาษาอังกฤษ หัวข้อวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาทั้งปริญญาโทและ
ปริญญาเอกคณะสาธารณสุขศาสตร์ จะครอบคลุมประเด็นทางด้านสุขภาพที่น่าสนใจอย่างกว้าง ๆ และเกี่ยวข้องโดยหลัก ๆ ด้าน
ของสิ่งแวดล้อมและปัญหาทางด้านสุขภาพเพื่อที่จะเป็นแนวทางให้การเป็นอยู่ของประชากรทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยดี
ขึ้น และให้มุมมองที่เป็นประโยชน์จากการค้นพบต่อไป บทคัดย่อภาษาอังกฤษจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมากต่อการเข้าถึงข้อมูลนี้ของผู้ที่
สนใจทางด้านสาธารณสุขหรือผู้เชี่ยวชาญทางด้านสาธารณสุขที่ไม่สามารถอ่านภาษาไทย เพื่อการตัดสิน และเข้าใจถึงสิ่งที่ค้นพบจาก
การศึกษานั้น
วัตถุประสงค์ในการเขียนแนวทาง (guideline) ครั้งนี้เพื่อให้คำแนะนำไม่เพียงแต่การปรับปรุงเนื้อหาและรูปแบบการเขียน
ของบทคัดย่อเท่านั้น แต่เพื่อแนะนำวิธีการหลีกเลี่ยงลักษณะการเขียนบทคัดย่อภาษาอังกฤษที่อ่านแล้วพบว่ายากเกินกว่าจะทำความ
เข้าใจได้ทั้งจากรูปแบบการเขียนที่ยืดยาวและรายละเอียดโดยสรุปสามารถเข้าใจได้ว่าต้องการสื่อสารบทอภิปรายจากภาษาไทย ที่
ผู้เขียนได้เขียนไว้