ผลของการจัดโปรแกรมพัฒนาศักยภาพโดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อ ป้องกันโรคร่วมกับกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมที่มีต่อการเสริมสร้าง พฤติกรรมป้องกันโรคไข้เลือดออกของผู้นำชุมชน ตำบลแตล อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินท
คำสำคัญ:
โปรแกรมพัฒนาศักยภาพ, พฤติกรรมการป้องกันโรคและโรคไข้เลือดออกบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi Experimental Research) โดยมีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาผลของการจัด
โปรแกรมพัฒนาศักยภาพโดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคร่วมกับกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมที่มีต่อ
การเสริมสร้างพฤติกรรมป้องกันโรคไข้เลือดออกของผู้นำชุมชน ตำบลแตล อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ โดยใช้กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้นำ
ชุมชน จำนวน 70 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบเจาะจง แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ๆ ละ 35 คน กลุ่มทดลองจากหมู่ 4 กลุ่มเปรียบเทียบจากหมู่ 8
กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมพัฒนาศักยภาพและมีการติดตามสนับสนุนการดำเนินงาน หลังการอบรม 8 สัปดาห์ เก็บรวบรวมข้อมูล
โดยใช้แบบสอบถาม และแบบสำรวจค่าดัชนีความชุกของลูกน้ำยุงลาย ก่อนและหลังทดลอง แล้วนำมาวิเคราะห์ด้วยสถิติร้อยละ
ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Paired t-test, Independent t-test, Wilcoxon Matched-Pairs Signed Rank-test และ
Mann-Whitney-U-test
ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลอง มีการประเมินเผชิญอันตราย การประเมินการเผชิญปัญหา การมี
ส่วนร่วมในการดำเนินงานตามแผนป้องกันโรคไข้เลือดออก การปฏิบัติในการป้องกันโรคไข้เลือดออก สูงกว่าก่อนการทดลองอย่าง
มีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) และค่าดัชนีความชุกชุมของลูกน้ำยุงลาย (B.I.) ในหมู่บ้านทดลองต่ำกว่าก่อนการทดลอง ภายหลัง
การทดลอง กลุ่มทดลองมีการประเมินเผชิญอันตราย การประเมินการเผชิญปัญหา การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานตามแผนป้องกัน
โรคไข้เลือดออก การปฏิบัติในการป้องกันโรคไข้เลือดออก สูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และค่าดัชนี
ความชุกชุมของลูกน้ำยุงลาย (B.I.) ในหมู่บ้านทดลองต่ำกว่าหมู่บ้านเปรียบเทียบ ซึ่งก่อนดำเนินการทดลองค่าต่าง ๆ เหล่านี้ของทั้ง
สองกลุ่มไม่แตกต่างกัน
โดยสรุปโปรแกรมพัฒนาศักยภาพสามารถพัฒนากลุ่มทดลองให้เกิดการเปลี่ยนแปลง การรับรู้ พฤติกรรมในการป้องกัน
โรคไข้เลือดออกที่ดีขึ้น และจัดการให้กลุ่มทดลองเกิดการรับรู้ปัญหา คิดหากลวิธีแก้ไขปัญหาร่วมกัน เกิดการมีส่วนร่วมในการหา
แนวทางแก้ไขปัญหาและวางแผนที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน มีการจัดทำโครงการป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ครอบคลุม
กิจกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออก การจัดตั้งกองทุนปลาหางนกยูง เพื่อแจกจ่ายให้ประชาชนนำไปปล่อยตามภาชนะกักเก็บน้ำแทน
การใช้ทรายเคมีกำจัดลูกน้ำยุงลาย