ประสิทธิภาพของน้ำหมักชีวภาพที่ผลิตจากหอยเชอรี่ ต่อการเจริญเติบโตของถั่วเขียว

ผู้แต่ง

  • ประวัติ บัวศรี
  • ประชุมพร เลาห์ประเสริฐ
  • ธีรยุทธ อุดมพร

คำสำคัญ:

หอยเชอรี่, น้ำหมักชีวภาพ , ถั่วเขียว

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง แบบ factorial in CRD(4x5) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตราส่วนและระยะเวลาที่
เหมาะสมในการทำน้ำหมักชีวภาพที่ผลิตจากหอยเชอรี่ และศึกษาประสิทธิภาพของน้ำหมักชีวภาพที่ผลิตจากหอยเชอรี่ ใช้อัตราส่วน
ที่ต่างกัน 4 อัตราส่วน ได้แก่ อัตราส่วนหอยเชอรี่บดพร้อมเปลือก : กากน้ำตาล : พด.2 0 : 3 : 1 (control) , 2 : 3 : 1 , 3 : 3 : 1
และ 4 : 3 : 1 หมักที่ระยะเวลา 0, 1, 2, 3 และ 4 สัปดาห์ และทดสอบประสิทธิภาพของน้ำหมักชีวภาพด้วยการปลูกถั่วเขียว โดย
แบ่งการทดลองออกเป็น 3 ชุด คือ 1. ไม่ใส่น้ำหมักชีวภาพ (control) 2. ใช้อัตราส่วน 1 : 1,000 และ 3. ใช้อัตราส่วน 1 : 2,000
ตรวจวัดการเจริญเติบโตของถั่วเขียวในด้านความสูงและน้ำหนักทุก 5 วัน สถิติที่ใช้คือ One-way ANOVA และTwo-way ANOVA
ผลการศึกษาพบว่า อัตราส่วน 3:3:1 หมักที่ระยะเวลา 2 สัปดาห์ให้ปริมาณธาตุอาหารหลักสูงสุดคือ ไนโตรเจน 0.65
ฟอสฟอรัส 0.11 และโพแทสเซียม 2.09 ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของธาตุอาหารหลักในแต่ละอัตราส่วนและระยะเวลาใน
การทำน้ำหมักชีวภาพด้วยสถิติ Two-way ANOVA พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< 0.05) ในด้านประสิทธิภาพของ
น้ำหมักชีวภาพที่ทำให้ถั่วเขียวเจริญดีที่สุด คือ ใช้น้ำหมักชีวภาพอัตราส่วน 1:1,000 รองลงมา คือ อัตราส่วน 1:2,000 และกลุ่ม
ควบคุม ตามลำดับเมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของการเจริญเติบโตและอัตราส่วน ด้วยสถิติ One-way ANOVA พบว่า แตกต่างกัน
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05)
โดยสรุปน้ำหมักชีวภาพที่อัตราส่วน 3:3:1และทำการหมักที่ระยะเวลา 2 สัปดาห์ให้ปริมาณธาตุอาหารหลักสูงที่สุด ส่วนการ
นำน้ำหมักชีวภาพไปใช้อัตราส่วนการเจือจาง 1:1,000 เป็นอัตราส่วนที่ดีที่สุดในการนำไปประยุกต์ใช้เพราะทำให้ถั่วเขียวเจริญเติบโต
สูงที่สุด

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-04-11