ทัศนคติของผู้ค้าต่อการพัฒนาตลาดสด น่าซื้อ เทศบาลตําบลเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • ลักษณียา อุปริสาร
  • วรางคณา สังสิทธิสวัสดิ์

คำสำคัญ:

ตลาดสด น่าซื้อ, ทัศนคติของผู้ค้า, สุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติของผู้ค้าต่อการพัฒนาตลาดสดแห่งที่ 1 เทศบาลตําบลเชียงยืนเป็ นตลาดสด น่าซื้อ เก็บตัวอย่างด้วยแบบสัมภาษณ์ในประชากรผู้ค้า/ผู้ช่วยขายของ ที่ขายสินค้าภายในตลาดสด จํานวนทั้งหมด 80 คน โดยมีกิจกรรมพัฒนาฯ ได้แก่ 1) การจัดอบรมให้ความรู้ผู้ค้า 2) กิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์ และ3) กิจกรรมการจัดตั้งชมรมผู้ค้า ก่อนและหลังกิจกรรมพัฒนาฯ ทาการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบีÉยงเบนมาตรฐาน และ Dependent t-test ผลการศึกษาพบว่า ในภาพรวมก่อนจัดกิจกรรมพัฒนาตลาดสด น่าซื้อ ผู้ค้าเกือบทั้งหมดมีทัศนคติในระดับปานกลางร้อยละ 98.75 หลังจากจัดกิจกรรมพัฒนาตลาดสด น่าซื้อ ผู้ค้ามีทัศนคติในระดับสูงร้อยละ 97.50 โดยทัศนคติเกี่ยวกับตลาดสด น่าซื้อ หลังจัดกิจกรรมพัฒนาตลาดสด น่าซื้อ สูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมพัฒนาตลาดสด น่าซื้อ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p-value<0.05, 95%CI=0.79-0.91) หลังจัดกิจกรรมพัฒนาตลาดสด น่าซื้อ ผู้ค้ามีทัศนคติสูงขึ้นในด้านการมีส่วนร่วม ได้แก่ การสร้างความตระหนักในการพัฒนาตลาดสด น่าซื้อสําคัญกว่าการรู้กฎหมายคะแนนเฉลี่ย 4.25-1.11 ด้านการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม ได้แก่ เมื่อแผงค้าไม่เปื้อนมากก็ไม่ต้องทําความสะอาด คะแนนเฉลี่ย 4.30-1.08 ด้านคุ้มครองผู้บริโภค ได้แก่ ผู้บริโภคมีสิทธิที่จะได้รับข่าวสารที่ถูกต้องและเพียงพอเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการได้ คะแนนเฉลี่ย 4.31±0.96 และด้านความปลอดภัยของอาหาร ได้แก่ การปนเปื้อนในอาหารสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกสถานที่ของตลาด คะแนนเฉลี่ย 4.18-1.20 การพัฒนาตลาดสด น่าซื้อ เป็ นสิ่งสําคัญที่ช่วยในการปรับทัศนคติเกี่ยวกับตลาดสดของผู้ค้าให้ ดีขึ้น โดยเน้นการมีส่วนร่วมของผู้ค้าและหน่วยงานที่เกียวข้องอันจะนาไปสู่การขับเคลื่อนให้ เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-04-11

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ