การพัฒนาการคัดแยกมูลฝอยของครัวเรือน ชุมชนหนองเม็ก ตําบลสาวะถี อําเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ:
คัดแยกมูลฝอย, การพัฒนาการคัดแยกมูลฝอย, การมีส่วนร่วมของประชาชนบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ เพื่อพัฒนาการคัดแยกมูลฝอยของครัวเรือน ชุมชนหนองเม็ก ตําบลสาวะถี อําเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น จํานวน 105 หลังคาเรือน โดยมีวัตถุประสงค์เพืÉอศึกษาความรู้ ทัศนคติ การปฏิบัติเกี่ยวกับการคัดแยกมูลฝอย แนวทางการดําเนินการพัฒนาการคัดแยกมูลฝอย และศึกษาปริมาณ และอัตราการเกิดมูลฝอยก่อนและหลังการดําเนินการพัฒนาการคัดแยกมูลฝอย ตามแนวทางที่ได้กําหนดร่วมกัน ผลการศึกษา พบว่าประชาชนในชุมชนมีความรู้เกีÉยวกับการจัดการมูลฝอยในระดับปานกลาง ร้อยละ 54.29 มีทัศนคติเกี่ยวกับการคัดแยกมูลฝอยอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 57.14 มีการปฏิบัติในการการคัดแยกมูลฝอยเป็นบางครั้ง ร้อยละ 69.52 จากการประชุมเชิงปฏิบัติการ ชุมชนได้กําหนดแนวทางในการพัฒนาการคัดแยกมูลฝอยของชุมชน โดย 1) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีการสนับสนุน/จัดสรรงบประมาณบางส่วน เพื่อจัดอบรม ให้ความรู้เกี่ยวกับมูลฝอย และการคัดแยกมูลฝอย และจัดหาอุปกรณ์สําหรับการคัดแยกมูลฝอย 2) ควรมีการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการคัดแยกมูลฝอยอย่างต่อเนื่องโดยประชาสัมพันธ์ผ่านหอกระจายข่าวหมู่บ้านสัปดาห์ละ 2 ครั้ง และ 3) ควรมีสถานที่รับซื่อมูลฝอยในชุมชน หรือจัดให้มีรถรับซื่อของเก่าเข้ามารับซื้อมูลฝอยรีไซเคิลจากชุมชนเดือนละครั้ง หลังการดําเนินการพัฒนาการคัดแยกมูลฝอย พบว่า ปริมาณมูลฝอยมีจํานวนลดลง ร้อยละ 21.62 ซึ่งมีอัตราการเกิดมูลฝอยลดลง 0.11 กิโลกรัม/คน/วัน และองค์ประกอบทางกายภาพ ส่วนใหญ่ของมูลฝอยเปลี่ยนแปลงไป จากเศษอาหาร ผักสด ผลไม้ ร้อยละ 31.20 เป็นพลาสติกและโฟม ร้อยละ 37.20 จากผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า แนวทางการพัฒนาการคัดแยกมูลฝอยโดยเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน กําหนดแนวทางในการดําเนินการคัดแยกมูลฝอยของชุมชนร่วมกัน สามารถกระตุ้นให้ชุมชนเกิดการนําไปปฏิบัติจริง ส่งผลให้ปริมาณมูลฝอย มีปริมาณลดลงทั้งนี้ ต้องได้รับความร่วมมือจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วน เพื่อให้ การบริหารจัดการมีประสิทธิภาพสูงสุด